US - Iran Conflict โดย วิน พรหมแพทย์, CFA บลจ.พรินซิเพิล จำกัด (Thai version only)

เกิดอะไรขึ้นกับสหรัฐฯ และอิหร่านนับแต่ช่วงต้นปี 2019

ช่วงเช้าวันที่ 3 ม.ค. ตามเวลาอิรัก พลตรี คาเซ็ม ซูลีมานี วัย 62 ปี ถูกสังหารตามคำสั่งของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่สนามบินในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก โดย พลตรี คาเซ็มนั้นได้ดารงตาแหน่งผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ สังกัดกองกาลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Revolutionary Guard Corps) ซึ่งนับเป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในอิหร่าน รองจาก อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี (ผู้นำสูงสุดอิหร่าน) ทั้งนี้แม้ว่าทรัมป์จะอ้างว่า การกระทำดังกล่าวนั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อการยุติสงคราม แต่หลายฝ่ายกลับตีความในทางตรงกันข้าม และเชื่อว่าการสังหารผู้นำอิหร่านในครั้งนี้จะทำให้ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

สำหรับจุดเริ่มต้นความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน ที่มีมานานหลายสิบปีนั้น นับว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่การที่สหรัฐฯ ได้เข้าไปมีบทบาทเบื้องหลังเหตุการณ์รัฐประหารอิหร่านเมื่อปี 1953 เพื่อสนับสนุนให้ Mohammad Reza Shah (Mohammad Reza Pahlavi) ซึ่งเป็นผู้นำที่มีนโยบายสนับสนุนประเทศสหรัฐฯ ให้ได้เป็นผู้นำอิหร่านต่อไป จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ 1979 Revolution ที่เป็นเหตุทำให้ Mohammad Reza Shah ต้องหนีออกนอกประเทศ โดยในขณะเจ้าหน้าที่ฑูตสหรัฐฯ จำนวน 52 ราย ก็ได้ถูกชาวอิหร่านจับเป็นตัวประกัน ทั้งนี้ต่อมาเมื่อเกิดสงครามระหว่างประเทศ
อิรัก-อิหร่าน สหรัฐฯจึงถูกมองว่าได้ทำการสนันสนุนฝ่ายอิรัก ที่ทำการสู้รบยืดเยื้อกินเวลายาวนานถึง 9 ปี (1981-1989) โดยเหตุการณ์นี้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐฯ และอิหร่านค่อนข้างย่ำแย่ จนทำให้เกิดการคว่ำบาตร(Sanction) ธุรกิจในประเทศอิหร่านจากสหรัฐฯในเวลาถัดมา

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2014 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหรัฐฯ และอิหร่านนั้นก็เริ่มจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นหลังประธานาธิบดี โอบามา ซึ่งเป็นผู้นำของสหรัฐฯในสมัยนั้นได้ยื่นข้อเสนอที่จะยกเลิกการคว่ำบาตรชั่วคราว โดยแลกกับการให้อิหร่านยุติการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ก่อนจะมีความตึงเครียดขึ้นอีกครั้งในยุคประธานาธิบดี นาย โดนัล ทรัมป์ ทั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ให้ความเห็นว่า ในความเป็นจริงสหรัฐฯ ได้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ต่างๆ ในตะวันออกกลาง รวมทั้งเป็นผู้หนุนหลังอิรักให้รบกับอิหร่าน “หรืออาจพูดอีกนัยหนึ่งว่าสหรัฐฯ กับอิหร่านทำสงครามกันมาหลายสิบปีแล้ว เพียงแต่คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่รู้เท่านั้นเอง”

photo

มุมมองการลงทุน

เหตุการณ์ลอบสังหารทำให้นักลงทุนมีความกังวลว่าความขัดแย้งในตะวันออกกลางจะบานปลาย จึงเกิดภาวะ Risk Off โดยมีแรงขายสินทรัพย์เสี่ยง และมีแรงซื้อสินทรัพย์ในกลุ่ม Safe Haven โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธบัตรรัฐบาล และทองคำ ส่งผลให้ 10Y US Treasury Yield ปรับลงจาก 1.9% เป็น 1.77% และราคาทองคำปรับขึ้นจาก $1520 เป็น $1577 ต่อออนซ์

ทั้งนี้ บลจ. พรินซิเพิล มีมุมมองว่า ยังเร็วเกินไปที่จะตัดสินว่า ความขัดแย้งจะบานปลายเป็นสงครามหรือไม่ แต่เชื่อว่าความไม่แน่นอนจากประเด็นดังกล่าวมีโอกาสเพิ่มความผันผวนในการลงทุนในตลาดการเงิน ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะเป็น อานิสงส์เชิงบวกต่อสินทรัพย์กลุ่มที่มีลักษณะ Defensive เช่น กองทุนรวมอสังหาฯ/REITs กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ ในขณะที่การปรับตัวลงของราคาสินทรัพย์เสี่ยงก็สร้างโอกาสทางการลงทุนให้แก่นักลงทุนที่สามารถลงทุนในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินทรัพย์กลุ่มตราสารทุนในตลาด Asia-Pacific ที่ยังมีกาไรเติบโตดีและมีระดับ Valuation ที่ถูกกว่าในตลาดของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

ทั้งนี้ ทาง บลจ. พรินซิเพิลยังเชื่อว่า สาหรับวิธีที่ดีที่สุดที่จะรับมือกับภาวะตลาดที่ผันผวนดังเช่นปัจจุบันก็คือ การลงทุนในลักษณะพอร์ตฟอริโอที่เน้นกระจายความเสี่ยงไปยังหลายสินทรัพย์ ทั้งตราสารหนี้ หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ กองทุนรวมอสังหาฯ/REITs และสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ โดยมีปัจจัยหลักอื่น ๆ ที่แนะนำว่าควรจับตาคือ ประเด็นสงครามทางการค้าจีน-สหรัฐฯ และ Brexit

อ่านฉบับเต็มที่นี่

 

คำเตือน
ลงทุนทำความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน ของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ก่อนการตัดสินใจลงทุน/เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นคำเสนอหรือการเชิญชวนให้บุคคลใดทำการซื้อ และ/หรือขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนาเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารนี้แต่อย่างใด / แม้บริษัทจัดการจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง และตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดทำเอกสารนี้ บริษัทจัดการและพนักงานของบริษัทจัดการไม่มีความรับผิดและจะไม่รับผิดสำหรับความผิดพลาดของข้อมูลใด ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม รวมทั้งจะไม่รับผิดสาหรับการกระทาใด ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเห็นหรือข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในเอกสารฉบับนี้ บริษัทจัดการไม่ได้ให้คารับรองหรือรับประกันไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายเกี่ยวกับความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ ทันต่อเหตุการณ์หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น / บริษัทจัดการขอปฏิเสธความรับผิดทั้งปวงที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นในทุกกรณี ทั้งนี้ความเห็นบทวิเคราะห์หรือการคาดคะเนต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือผลการดำเนินงานในอนาคตที่ปรากฏในเอกสารนี้ ไม่ถือเป็นเครื่องยืนยัน และอาจแตกต่างจากเหตุการณ์หรือผลประกอบการที่เกิดขึ้นจริงได้ / สำหรับนักลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมหรือรับหนังสือชี้ชวน สามารถติดต่อบริษัจัดการหรือผู้ดำเนินการขายที่ท่านให้บริการ