Skip to main content
หน้าหลัก
  • EN
  • TH

Main navigation

  • กองทุนรวม
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กองทุนส่วนบุคคล
  • คลังความรู้
  • เกี่ยวกับเรา
  • Log In & Digital Service
    • E@syInvest
    • PVD สำหรับสมาชิก
    • PVD สำหรับนายจ้าง
    • Principal TH Mobile
    • Principal PVD Mobile
Provident Fund

รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • Select Menu
    • รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    • ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    • ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมดุลตามอายุ
    • เครื่องมือคำนวณภาษี
  • รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมดุลตามอายุ
  • เครื่องมือคำนวณภาษี

PVD Member Login PVD Employer Login

ภาพรวมโดยทั่วไป


กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสะสม“ และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ” กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นลักษณะของสวัสดิการที่นายจ้างมีให้กับลูกจ้างเพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินให้แก่ลูกจ้างที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ความสำคัญของ การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากจะทำให้ลูกจ้างมีการออมอย่างต่อเนื่อง มีวินัย และมีนายจ้างช่วยออมแล้วยังมีการนำเงินไปบริหารให้เกิดดอกผลงอกเงยโดยผู้บริหารมืออาชีพ และดอกผลที่เกิดขึ้นจะนำมาเฉลี่ยให้กับสมาชิกกองทุนทุกคนตามสัดส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุน 

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกอบด้วย 
เงินสะสมของลูกจ้าง เป็นเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 2 (สอง) แต่ไม่เกินร้อยละ 15 (สิบห้า) ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง
เงินสมทบของนายจ้าง เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิกในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 (สอง) แต่ไม่เกินร้อยละ 15 (สิบห้า) ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง
อัตราการจ่ายเงินสมทบให้แก่ลูกจ้างอาจแตกต่างกันตามเงื่อนไข ระยะเวลาการทำงานหรือ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกหรือ ตามตำแหน่งหรือ ตามอัตราเงินเดือนของลูกจ้างนั้นๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการจูงใจหรือเป็นสวัสดิการส่วนเพิ่มให้กับลูกจ้างที่ทำงานกับนายจ้างเป็นเวลานาน

เนื่องจากเงินกองทุนนี้เป็นสวัสดิการเพิ่มให้กับลูกจ้าง นายจ้างจึงมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินออกสำหรับเงินสมทบของนายจ้างและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว ซึ่งนายจ้างส่วนใหญ่จะกำหนดให้ลูกจ้างได้รับตามอายุงาน เช่นลูกจ้างออกจากงานและมีอายุการทำงานน้อยกว่า 5 ปี ได้รับเงินส่วนของนายจ้าง 50% ถ้าครบ 5 ปี ขึ้นไปได้ 100% เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างเป็นเวลานานเช่นกัน

เงินออมของสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเติบโตจากเงินสะสมและเงินสมทบที่ต้องมีการนำส่งเข้ากองทุนทุกเดือน รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนของกองทุน อย่างไรก็ดี กองทุนจะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินปันผลให้สมาชิก เนื่องจากจะสะสมยอดเงินทั้งหมดให้เป็นก้อนใหญ่ เพื่อเก็บไว้รอจ่ายคืนให้สมาชิกเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ เช่น ลาออกจากงาน เกษียณอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ กองทุนจะไม่ให้สมาชิกถอนเงินออกบางส่วน เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกนำเงินไปใช้ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออมเงินเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ

PVD Member Login PVD Employer Login

ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

นายจ้าง

  • ประโยชน์ทางภาษี - เงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้
  • เป็นสวัสดิการเสริมเพื่อให้พนักงานอยู่กับบริษัทนานขึ้น
  • ลดอัตราพนักงานลาออก
  • ลดค่าใช้จ่ายในการฝึกพนักงานใหม่
  • สามารถกำหนดและควบคุมงบประมาณได้
  • พนักงานจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท
  • ดึงดูดบุคคลากรที่มีศักยภาพมาร่วมกับบริษัท

สมาชิก

  • เงินสะสมเข้ากองทุนสรองเลี้ยงชีพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
  • หากออกจากกองทุนตามเงื่อนไข (อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี) จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เหมือนได้เงินเดือนเพิ่มจากเงินสมทบของบริษัท
  • เป็นการออมเพื่อการเกษียณในระยะยาว
  • ในกรณีสมาชิกเสียชีวิต สินทรัพย์ทั้งหมดจะถูกส่งต่อไปให้ยังบุคคลตามความประสงค์ของสมาชิก
  • ลงทุนผ่านผู้จัดการกองทุนผู้เชี่ยวชาญ

PVD Member Login PVD Employer Login

ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด ให้บริการ แบ่งได้ดังนี้

กองทุนเดี่ยว (Single Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างรายเดียว หรือกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกัน และเป็นกองทุนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และคณะกรรมการกองทุนสามารถกำหนดนโยบายร่วมกับบริษัทจัดการ
             กองทุนเดี่ยวแบ่งออกเป็น
             1) กองทุนเดี่ยวที่มีนโยบายการลงทุนเดียว ซึ่งอาจเป็นกองทุนแบบผสม ที่ลงทุนทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน หรือลงทุนเฉพาะตราสารหนี้เท่านั้น และสมาชิกทุกคนมีนโยบายการลงทุนเดียวกัน
             2) กองทุนเดี่ยวที่มี Employee’s Choice ให้สมาชิกเลือกนโยบายที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ Master Fund-Sub Fund เรียกว่า “Master Single Fund”

กองทุนร่วมทุน (Pooled Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างหลายราย จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทจัดการ เหมาะสำหรับบริษัทที่มีเงินกองทุนไม่มากหรือบริษัทที่เริ่มจัดตั้งกองทุน หรือ บริษัทขนาดเล็กหรือใหญ่ที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับกองทุนและเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นได้
              กองทุนร่วมทุนแบ่งออกเป็น
              1) กองทุนร่วมทุนที่มีนโยบายการลงทุนเดียว ซึ่งอาจเป็นกองทุนแบบผสม ที่ลงทุนทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน หรือลงทุนเฉพาะตราสารหนี้เท่านั้น และสมาชิกทุกคนมีนโยบายการลงทุนเดียวกัน
              2) กองทุนร่วมทุนที่มี Employee’s Choice ให้สมาชิกเลือกนโยบายที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ Master Fund-Sub Fund เรียกว่า “Master Pooled Fund แบบ Target Risk”
              3) กองทุนร่วมทุนที่เป็นแบบ Master Fund-Sub Fund เรียกว่า “Master Pooled Fund แบบ Target Date” สมาชิกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนตามช่วงอายุของสมาชิก วัยเริ่มทำงานจะมีสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าวัยใกล้เกษียณ เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาวที่ดีกว่า และบริษัทจัดการจะลดความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุนลงเมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาที่ท่านต้องนำเงินออกจากกองทุนเมื่อเกษียณอายุ

PVD Member Login PVD Employer Login

ท่านทราบหรือไม่ว่า.......

•    อายุขัยของประชากรไทยสูงขึ้นทุกๆปี เพิ่มความเสี่ยงจากการที่เงินหมดก่อนเสียชีวิต (Longevity Risk)
•    จำนวนสมาชิกในครอบครัวลดลงส่งผลให้ผู้ที่เกษียณอายุจะต้องพึ่งพาตนเองในยามชรา เพิ่มความเสี่ยงจากการมีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ (Shortfall Risk)
•    เงินของท่านไม่ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันให้ผลตอบแทนเท่าๆกับอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Risk)
ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เพิ่มความเสี่ยงที่ท่านจะมีเงินไม่เพียงพอสำหรับใช้จ่ายในวัยเกษียณ ดังนั้นนอกเหนือจากการออมในวัยทำงานแล้ว การนำเงินออมมาลงทุนในสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับวัย และระยะเวลาก่อนการเกษียณนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการบรรลุเป้าหมายการเกษียณที่มีคุณภาพ
 

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด ขอเสนอ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (Target Date Retirement Fund)  นวัตกรรมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะช่วยให้เงินของท่านทำงานได้อย่างมีประสทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แผนสมดุลตามอายุ (Target Date) คืออะไร? 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสมาชิกในทุกช่วงเวลาการลงทุน กล่าวคือ ผู้จัดการกองทุนจะจัดพอร์ตให้สมาชิกโดยดูจากปีที่สมาชิกจะเกษียณอายุ เริ่มจากการคัดเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม การกำหนดสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเภทของสินทรัพย์ และการปรับเปลี่ยนน้ำหนักของสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับอายุของสมาชิกที่เพิ่มขึ้นจนถึงวัยเกษียณ โดยที่สมาชิกไม่ต้องปวดหัวกับการเลือกแผนการลงทุน หรือหาเวลาสับเปลี่ยนแผนการลงทุนในภาวะที่การลงทุนมีความผันผวน หรือเมื่อสมาชิกมีอายุเพิ่มขึ้น Target Date เหมาะกับสมาชิกที่ไม่มีเวลา หรือสมาชิกที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนที่จะมีผู้จัดการมืออาชีพมาเป็นผู้ดูแลพอร์ตของสมาชิกตั้งแต่วัยเริ่มทำงาน จวบจนวัยเกษียณ เพื่อให้พอร์ตของสมาชิกมีโอกาสเติบโตอย่างเหมาะสม     ซึ่งการวางแผนในรูปแบบนี้ได้รับความนิยมสูงมากในประเทศสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ปี 2006

TD01

สมาชิกทำเพียง 2 ข้อเท่านั้น
ข้อ 1. หาปีเกษียณของสมาชิกง่ายๆ เพียง เอาปี ค.ศ. ที่สมาชิกเกิด + อายุเกษียณของบริษัท    นายจ้าง = ปีเกษียณของสมาชิก
ข้อ 2. เลือกแผนการลงทุนตามปีเกษียณของสมาชิกเพียงครั้งเดียว เงินลงทุนของสมาชิกจะถูกบริหารโดยผู้จัดการกองทุนมืออาชีพจนถึงวัยเกษียณ

ตัวอย่างการคำนวณปีเกษียณ

TD02

นอกจากนั้น บริษัทจัดการดูแลสมาชิกโดย………

•    คัดเลือกประเภทของสินทรัพย์ (Asset Class Selection) ให้เหมาะสมกับคนไทย โดยเน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี และสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอให้กับสมาชิกในระยะยาว
•    ปรับพอร์ตการลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation) และปรับลดความเสี่ยงของพอร์ตให้อัตโนมัติ ด้วยการสร้างกรอบการลงทุนปรับให้สมดุลตามอายุ ตาม Glide Path เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนการลงทุนที่สูงในวัยเริ่มทำงาน และทยอยปรับลดความเสี่ยงเมื่อใกล้วัยเกษียณอายุ 
 

TD03
 

ปรับกลยุทธ์การลงทุนตามสภาวะตลาด (Tactical Asset Allocation)  โดยผู้จัดการกองทุนปรับเพิ่มหรือลดน้ำหนัการลงทุนในแต่ละกลุ่มหลักทรัพย์ภายในกรอบสัดส่วนการลงทุนที่กำหนด เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยการคาดการณ์ภาวะตลาดและผลตอบแทนการลงทุนในระยะสั้น (12-18 เดือน) 
 

สร้างวินัยการลงทุนด้วยเทคนิค Rebalancing Portfolio โดยการปรับสัดส่วนการลงทุนให้สมาชิกอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้สมาชิกมีความเสี่ยงมากกว่าที่ยอมรับได้ 

TD08

นอกจากรูปแบบสมดุลตามอายุ (Target Date) แล้ว บลจ. พรินซิเพิล จำกัด ยังมีรูปแบบสมดุลตามความเสี่ยง (Target Risk) ภายใต้กองทุนเดียวกัน ซึ่งสมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่สมาชิกรับได้  นอกจากนี้ยังมีแผน Do-it-yourself (DIY) ที่ให้สมาชิกผสมสัดส่วน และเลือกสินทรัพย์ที่ต้องการจะลงทุนได้ด้วยตัวเอง ซึ่งนโยบาย Target Risk นี้ จะเหมาะสมกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการลงทุนพอสมควร และมีเวลาติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ

Target Risk มีทั้งสิ้น 8 กองทุนย่อยที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มการลงทุน ดังนี้

กลุ่มตราสารหนี้
1.    ตราสารหนี้ระยะสั้น (TR_iDAILY)

นโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน และ/หรือเงินฝาก ระยะสั้น อายุเฉลี่ยประมาณ 3 เดือน ที่เสนอขายทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศ ที่ออกโดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน 

2.    ตราสารหนี้ (TR_iFIXED)

นโยบายลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน และ/หรือเงินฝาก อายุเฉลี่ยประมาณ 2 ปี ที่เสนอขายทั้งใน ประเทศและ/หรือต่างประเทศ ที่ออกโดยภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน 

กลุ่มตราสารทุนในประเทศ

1.    หุ้นไทย (TR_TEQ)

นโยบายเน้นลงทุนในตราสารทุนที่มีปัจจัยพื้นฐานดี หรือเกี่ยวข้องกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ หรือเป็นธุรกิจ อุตสาหกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนหรือมีโอกาสได้รับผลดีจากนโยบายของรัฐบาล หรือมีศักยภาพในการเติบโตสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ

2. หุ้นไทย (TR_TDIF)

นโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนหรือหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีแนวโน้มการเติบโตในทางธุรกิจ หรือบริษัทที่มีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดี

3. หุ้นไทย (TR_SET50)

นโยบายสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามการเคลื่อนไหวของดัชนี SET50 โดยการลงทุนจะมีลักษณะเป็นการบริหารกองทุนเชิงรับ (Passive Management) 

กลุ่มตราสารทุนต่างประเทศ
1.    หุ้นต่างประเทศ (TR_GEQ)

นโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน ตราสารทุน และ/ หรือ กองทุน Exchange Traded Fund (ETF) ตราสารทุน โดยสามารถลงทุนไดในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก หรือในบางช่วงเวลาอาจเน้นลงทุนเฉพาะประเทศ กลุ่มประเทศ ภูมิภาค และหรือกลุ่มธุรกิจ (Sectors) โดยขึ้นอยู่กับสภาวะการลงทุนหรือการคาดการณ์สภาวะการลงทุนในแต่ละช่วงเวลาตามดุลยพินิจที่ผู้จัดการกองทุนเห็นเหมาะสม 

2.    หุ้นต่างประเทศ (TR_GOPP)

นโยบายการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียวคือ Morgan Stanley Investment Funds Global Opportunity Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน (Feeder Fund) โดยกองทุนบริหารและจัดการโดย Morgan Stanley Investment Management (ACD)ซึ่งกองทุนนี้มุ่งเน้นการสร้างอัตราผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนในหุ้นทั่วโลกในระยะยาว ด้วยการวิเคราะห์และคัดเลือกหลักทรัพย์ทั่วโลกที่กิจการมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต ผ่านปัจจัยพื้นฐาน 5 อย่าง 1) การเติบโตทางธุรกิจ 2) ความสามารถทางการแข่งขันที่สูง  3) มีโอกาสถูกทดแทน (Disruption) จากธุรกิจอื่นจำกัด  4) พื้นฐานการเงินและธุรกิจแข็งแกร่ง และ 5) การดำเนินงานอย่างรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อมและมีจริยธรรม หรือ ESG โดยกองทุนนี้ มีลักษณะการบริหารกองทุนเชิงรุก (Active Management) จึงทำให้ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนอาจจะมากกว่าดัชนีหุ้นโลก

กลุ่มการลงทุนทางเลือก
1.    กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (TR_iPROP)

นโยบายเน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยมุ่งลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หน่วยของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในหมวดพัฒนาอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (กองทุน Infra) 

 

TD05

ขั้นตอนการมี Target Date และ Target Risk 

ภายใต้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
•    คณะกรรมการกองทุนรวมร่วมกับ บลจ. พรินซิเพิล จำกัด พิจารณากำหนดรูปแบบการลงทุนแบบ Target Date หรือ Target Risk หรือให้มีทั้ง 2 รูปแบบ
•    บลจ. พรินซิเพิล จำกัด จัด Educational Session ให้กับสมาชิกเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกเลือกนโยบายที่เหมาะสม
•    ฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้างทำงานง่ายขึ้น เพียงนำส่งเงินเข้าด้วยเช็คเพียง 1 ใบ  หรือโอนเงินเข้าบัญชีกองทุนเพียงบัญชีเดียวสำหรับทุกนโยบายการลงทุนสำหรับทุกนโยบายการลงทุน
•    ระบุนโยบายการลงทุนที่สมาชิกเลือกในข้อมูลเงินเข้ารายเดือน (Text file หรือ Excel file) เพียงครั้งเดียว
•    บลจ. พรินซิเพิล จำกัด เป็นผู้จัดสรรเงินของสมาชิกแต่ละรายไปตามนโยบายที่สมาชิกเลือกอัตโนมัติด้วยระบบทะเบียนสมาชิกที่มีประสิทธิภาพสูง
•    บลจ. พรินซิเพิล จำกัด มีระบบ Online Service ทาง Website และ Application สำหรับสมาชิก รวมทั้ง โปรแกรม Plan WISE Retire WELL เพื่อช่วยสมาชิกคำนวณเงินเพื่อการเกษียณในอนาคต พร้อมคำนวณหา Replacement Ratio  เพื่อช่วยให้สมาชิกวางแผนการเกษียณอายุได้อย่างเหมาะสม
 

TD06

Online Service สำหรับสมาชิก
Transaction

•    สับเปลี่ยนแผนการลงทุน
•    เงินเก่า/เงินเข้ารายเดือน เลือกแผนต่างกันได้
•    เปลี่ยนอัตราเงินสะสม   
 

Fund Information

•    ข้อบังคับกองทุนส่วนกลาง
•    รายงาน กช. 1.2 (ข้อมูลการลงทุน)
 

Company Information

•    ข้อบังคับกองทุนส่วนแต่ละนายจ้าง
•    ผลตอบแทนกองทุน YTD ราย Sub Fund และราย Menu
•    รายชื่อกรรมการกองทุน
 

Risk Profile Questionnaire

•    แบบประเมินความเสี่ยง

Enquiry & Report

•    ประวัติการนำส่งเงินเข้า
•    รายงานสับเปลี่ยนแผนการลงทุน
•    ใบรับรองยอดเงินสมาชิก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม
 

เครื่องมือวางแผนเกษียนอายุ

•    Plan WISE Retire WELL เครื่องมือคำนวณเงินออมเพื่อวัยเกษียณแบบออนไลน์เพื่ออิสระทางการเงินในอนาคตของคุณ


TD07

เครื่องมือคำนวณภาษี

เครื่องมือคำนวณภาษี

กองทุนรวม

  • กองทุนรวมคืออะไร
  • มูลค่าหน่วยลงทุน
  • ผลการดำเนินงาน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนส่วนบุคคล

  • กองทุนส่วนบุคคลคืออะไร

เกี่ยวกับเรา

  • เกี่ยวกับบริษัท
  • คณะผู้บริหาร
  • ข่าวสารต่างๆ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา

เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง

  • Principal Financial Group
  • Principal Indonesia
  • Principal Islamic
  • Principal Malaysia
  • Principal Singapore

อื่นๆ

  • ดาวน์โหลด
  • ดาวน์โหลดเอกสารกองทุน
  • พันธมิตรทางธุรกิจ
  • การกำกับดูแลกิจการ
  • การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  • คำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ข้อตกลงการใช้บริการ
  • ความเสี่ยงในการใช้อินเทอร์เน็ต
  • การบริหารความเสี่ยง
  • คู่มือผู้ลงทุน
  • ตารางวันหยุดกองต่างประเทศ
  • คู่มือการลงทุน SSF/RMF
  • แบบฟอร์มต่างๆ
  • นโยบายเกี่ยวกับคุกกี้

© 2022 Principal Asset Management Co.,Ltd

เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ในการให้บริการและปรับปรุงเนื้อหา เพื่อเข้าใจความต้องการและมอบประสบการณ์ที่ดีสำหรับคุณ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว และ คุกกี้

Disclaimer

1.    ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข  ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
2.    การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ ดังนั้นผู้ลงทุนควรลงทุน เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมใดๆ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้ลงทุน และผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในกองทุนรวมนั้นๆ ได้
3.    ผู้สนใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "นโยบายการลงทุน" "ประเภทหลักทรัพย์ที่จะลงทุน" "อัตราส่วนการลงทุน" "ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม" และ "คำเตือน/ข้อแนะนำ" และควรเก็บใว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ และสอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัทจัดการ หรือผู้สนับสนุนการขายที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการทุกแห่ง
4.    บริษัทจัดการอาจลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ เช่นเดียวกับที่บริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ทั้งนี้ผู้ที่สนใจจะลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลการลงทุนเพื่อบริษัทจัดการในรายละเอียด สามารถขอดูข้อมูลได้ที่บริษัทจัดการ ผู้สนับสนุนการขายที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการทุกแห่ง และสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
5.    ในบางกองทุนที่มีการลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน
6.    ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้ หรืออาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
7.    ในกรณีที่กองทุนรวมไม่สามารถดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
8.    ผู้ลงทุนสามารถตรวจดูข้อมูลที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (Connected Person) และการลงทุนตามอัตราส่วนที่กำหนดในวัตถุประสงค์การลงทุน เป็นต้น ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือโดยผ่านเครือข่าย Internet ของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. http://www.sec.or.th
9.    กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ ดังนั้นบริษัทจัดการจึงไม่มีภาระผูกพันในการชดเชยผลขาดทุนของกองทุนรวม ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินหรือผลการดำเนินงานของบริษัทจัดการ
10.    การลงทุนในกองทุนรวมใดๆ ที่มีรายชื่อปรากฏในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายไทยรวมถึงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ที่แก้ไขเพิ่มเติม)
11.    ข้อมูลในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำหรือความเห็น และไม่ถือเป็นการแทนคำแนะนำ หรือมีความมุ่งหมายให้ถือเป็นคำเสนอ หรือการเชิญชวนให้บุคคลใดทำการซื้อ หรือขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่าง ๆ ความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ใช้ข้อมูลหรือตัดสินใจจากเนื้อหาในเว็ปไซด์นี้ไม่อาจเรียกร้องได้
12.    การที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการโครงการของกองทุนรวมที่ปรากฏอยู่ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และมิได้ประกันราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย
13.    การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ ใช้วิธีวัดผลการดำเนินงานตามมาตรฐานที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด และผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
14.    ข้อความทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ บริษัทจัดการได้จัดทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้สนใจลงทุนโดยได้ตระหนักถึงความถูกต้องของข้อมูล แต่อย่างไรก็ตามบริษัทจัดการไม่สามารถรับประกันถึงความถูกต้อง และความเป็นปัจจุบันของข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ได้
15.    บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
16.    บริษัทจัดการอนุญาตให้พนักงานของบริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อตนเองได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และประกาศต่างๆ ที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด และจะต้องเปิดเผยการลงทุนดังกล่าวให้บริษัทจัดการทราบเพื่อที่บริษัทจัดการจะสามารถกำกับ และดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานได้
17.    บริษัทจัดการ และผู้บริหาร รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัท ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายทุกกรณีที่เกิดขึ้นกับข้อมูล และ/หรือ ระบบสื่อสารของผู้เข้าเยี่ยมชม หรือผู้ลงทุน อันเนื่องมาจากการเข้ามาใช้แอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ และ/หรือ แอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือที่ร่วมกิจกรรมกับบริษัท
18.    บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ของข้อมูลใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ โดยห้ามมิให้ผู้ใดเผยแพร่ อ้างอิง ลอกเลียน ทำซ้ำ หรือแก้ไขด้วยวิธีการใดๆ ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนของข้อมูลในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทจัดการก่อน บริษัทจัดการ และผู้บริหารรวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทจัดการขอสงวนสิทธิที่จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายทุกกรณี อันเกิดขึ้นจากการที่บุคคลอื่นกระทำโดยเจตนา หรือโดยมิได้รับอนุญาตจากบริษัทจัดการ แก้ไข เปลี่ยนแปลง รายงาน ข้อความ ข้อมูล เอกสาร หรือสื่อใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ และรายงาน ข้อความ ข้อมูล เอกสาร หรือสื่อใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ได้เผยแพร่ออกไป ไม่ว่าเป็นการเฉพาะเจาะจง หรือเป็นการทั่วไปในประการที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของบริษัทจัดการ หรือ บุคคลอื่น
19.    การแก้ไขเปลี่ยนแปลง รายงาน ข้อความ ข้อมูล เอกสาร หรือสื่อใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ด้วยวิธีการใดๆ โดยเจตนา หรือโดยมิได้รับอนุญาตจากบริษัทจัดการก่อน และเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือชื่อเสียงของบริษัทจัดการ หรือบุคคลอื่น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและความผิดที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้กระทำดังกล่าวนอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายในทางแพ่งแล้ว อาจต้องรับโทษในทางอาญาอีกด้วย
20.    เว็บไซต์ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลิงก์อยู่ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ บริษัทจัดการได้จัดรวบรวมขึ้นเพื่อความสะดวกในการเข้าไปชมเว็บไซต์เท่านั้น ดังนั้นการที่เว็บไซต์ดังกล่าวเสนอข้อมูล ความรู้ แนวคิด หรือเสนอการให้บริการ หรือการเสนอขายสินค้าต่างๆ ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ดังกล่าวต่อผู้ที่สนใจเข้าชมเว็บไซต์นั้น โดยเฉพาะเว็บไซต์ต่างประเทศบางแห่งในปัจจุบันอาจจะยังไม่สามารถให้บริการ หรือเสนอขายสินค้าต่างๆ ในประเทศไทยได้ ผู้เข้าชม หรือรับบริการหรือซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ดังกล่าวควรต้องศึกษา และตรวจสอบข้อมูล โดยละเอียดก่อนตัดสินใจรับบริการซื้อสินค้า หรือดำเนินการใดๆ บริษัทจัดการไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล หรือการเสนอให้บริการ หรือการเสนอขายสินค้าต่างๆ รวมทั้งไม่รับรองความถูกต้องของข้อมูล หรือการเสนอให้บริการ หรือการเสนอขายสินค้าที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้น
21.    ในกรณีที่ผู้เข้าเยี่ยมชมแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ได้ออกจากแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีลิงก์อยู่ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ บริษัทจัดการขอเรียนว่า เว็บไซต์เหล่านั้นอาจมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และบริษัทอาจจะยังมิได้สำรวจถึงการบริการข้อมูล หรือสินค้าของบริษัทนั้นๆ ดังนั้นบริษัทจัดการจึงมิสามารถรับประกันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลดังกล่าว และ รับผิดชอบต่อความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้น
22.    ผู้ลงทุนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ขายหน่วยลงทุนเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. 
23.    อัตราค่าธรรมเนียมการหักเงินลงทุนรายเดือนจากบัญชีธนาคารของผู้ถือหน่วยลงทุน สำหรับผู้ลงทุนที่ใช้บริการแผนการลงทุนอัตโนมัติ (Regular Saving Plan)
        - ไม่คิดค่าบริการ สำหรับผู้ลงทุนที่มียอดเงินลงทุนหักรายเดือนตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปต่อรายการ
        - คิดค่าบริการ 10 บาท ต่อรายการ สำหรับผู้ลงทุนที่มียอดเงินลงทุนหักรายเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (ปัจจุบันยกเว้นค่าบริการ)
        ค่าบริการดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
24.    ผู้ลงทุนโปรดศึกษาเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) / กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) หรือหน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 357 (พ.ศ 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 10 มีนาคม 2563 โดยเป็นไปตามเกณฑ์กรมรรพากรกำหนด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน/หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ให้เข้าใจและควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เป็นข้อมูล เพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน


คำเตือนเฉพาะกองทุน
•    ผู้ลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปจำหน่าย จ่าย โอน จำนำ หรือนำไปเป็นหลักประกัน
•    สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ผู้ถือหน่วยลงทุน (ของกองทุนรวม) จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกรมสรรพากรอย่างเคร่งครัดทุกประการ (ซึ่งสามารถศึกษาได้จากคู่มือการลงทุนที่บริษัทจัดการได้จัดให้) มิฉะนั้นผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และ/หรือ ผู้ลงทุนอาจถูกหัก หรือไม่สามารถขอคืนภาษี ณ ที่จ่ายจากกำไรที่เกิดขึ้นตลอดจนผู้ลงทุนจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา และ/หรือ อาจจะต้องชำระเงินเพิ่ม และเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร อนึ่ง ผู้ลงทุนจะต้องเก็บเอกสารการลงทุนในกองทุนรวมถึงหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ว่าท่านได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของการลงทุนที่กำหนดดังกล่าวอย่างครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการยืนยันสิทธิประโยชน์ในทางภาษีของท่านหากถูกเรียกถามในอนาคต อนึ่ง ผู้ลงทุนควรขอรับ และศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และคู่มือการลงทุนให้เข้าใจ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทจัดการ หรือผู้ขายหน่วยลงทุน
•    กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในต่างประเทศ และไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
•    กองทุนรวมมีประกัน ผู้ลงทุนที่ถือหน่วยที่ลงทุนจนครบระยะเวลาการประกันที่กำหนดในหนังสือชี้ชวนนี้จะได้รับชำระเงินลงทุนคืนตามเงื่อนไขในการรับประกันอย่างไรก็ดี การประกันดังกล่าวไม่ได้รวมถึงการประกันความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของผู้ประกัน
•    กองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น เป็นเพียงชื่อเรียกประเภทของกองทุนรวมที่จัดนโยบายการลงทุนเพื่อให้เงินต้นของผู้ถือหน่วยลงทุนมีความเสี่ยงต่ำ โดยกองทุนรวมดังกล่าว มิได้รับประกันเงินลงทุนหรือผลตอบแทนจากการลงทุนแต่อย่างใด


นโยบายความเป็นส่วนตัว
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เคารพสิทธิของลูกค้า นโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัทนั้น มีเพื่อให้ท่านมั่นใจยามที่ท่านให้ข้อมูลกับบริษัทฯ โดยลูกค้ามีสิทธิที่จะเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลของท่านได้ 
 
รูปแบบข้อมูล
ข้อมูลที่ทางบริษัทฯ เก็บนั้นจัดทำเพื่อให้บริษัทฯ สามารถให้บริการสินค้าทางการเงินแก่ลูกค้า ซึ่งข้อมูลประกอบด้วย ชื่อ, ที่อยู่, วันเกิด, ข้อมูลอื่นๆ เช่น อาชีพ, รายได้ประจำปีของท่าน ซึ่งได้จากใบสมัครเปิดบัญชีและข้อมูลของท่านเพื่อใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตของบริษัทฯ 

บริษัทฯอาจจะเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากท่านอีกเมื่อท่านใช้ศูนยบริการและดูแลลูกค้าของบริษัทฯผ่านระบบออนไลน์หรือโทรศัพท์ เพื่อที่บริษัทฯจะได้จัดเตรียมสินค้าและบริการที่ดียิ่งขึ้นทีเหมาะกับท่าน 
 
การใช้รหัสผ่าน
ความรับผิดชอบในการเก็บดูแลรหัสผ่านนั้นเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องรับผิดชอบ โปรดแน่ใจว่ารหัสผ่านของท่านไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าในเวลาและสถานการณ์ใด กรุณาแจ้งทางบริษัทฯ ทันทีที่พบว่ามีการใช้รหัสผ่านโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากท่านหรือมีการละเมิดความปลอดภัยของรหัสผ่าน 
 
การใช้และการเปิดเผย
บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหรือข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับท่านให้กับผู้อื่นในรูปแบบต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในส่วนนี้ของนโยบายความเป็นส่วนตัว 
บริษัทฯ อาจจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลอื่นๆของท่าน ด้วยเหตุผลต่อไปนี้:

กับสมาชิกบริษัทในกลุ่มของ CIMB-Principal และ Principal Financial Group :
บริษัทฯอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในกลุ่มของ CIMB-Principal และ Principal Financial Group เช่น 
•    แนะนำสินค้าและบริการทางการเงิน เช่น หน่วยลงทุนกองทุนรวมที่อยู่ในความสนใจของท่าน
•    ประเมินและดำเนินการโปรแกรมประยุกต์ที่สอดคล้องกับสินค้าและบริการทางการเงิน เช่น หน่วยลงทุนกองทุนรวมของท่าน
•    บริหารจัดการสินค้าและบริการทางการเงิน เช่น หน่วยลงทุนกองทุนรวมที่ทางบริษัทนำเสนอต่อท่าน
•    เพื่อช่วยให้บริษัทฯจัดการข้อความพร้อมใช้งานและการเชื่อมต่อของผลิตภัณฑ์ บริการ และการติดต่อสื่อสารของบริษัทในกลุ่ม
•    เพื่อจัดการความเสี่ยง เพื่อช่วยตรวจจับและป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมายและการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงการละเมิดอื่นๆ ต่อนโยบายและข้อตกลงของบริษัทฯ

บริษัทฯ อาจจะเปิดเผยข้องมูลส่วนตัวของท่านกับบริษัทอื่นๆ ที่ให้บริการแก่บริษัทฯ:
บริษัทฯอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ให้บริการภายนอกที่ให้บริการกับบริษัทฯ 
•    ผู้ให้บริการภายนอกเหล่านี้อาจเป็นผู้ให้บริการแก่ท่าน เช่น ให้บริการยืนยันตัวตนของท่าน
•    ผู้บริการภายนอกบริษัทฯ เช่น ผู้ให้บริการการจัดส่งเอกสาร, ผู้ให้บริการด้านระบบ IT ผู้ดำเนินการกรอกข้อมูล, โรงพิมพ์, ผู้ตรวจสอบรวมถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ, การจัดส่งโฆษณาสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ และบริษัทภายนอกอื่นๆ ที่สนับสนุนการให้บริการของบริษัทฯแก่ท่าน
•    บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทนท่าน
•    ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทฯเพื่อช่วยการบริการจัดการเงินลงทุนของท่าน
•    เมื่อต้องเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กรมสรรพากร, ผู้ควบคุมกฎระเบียบ เช่น สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
•    สถาบันการเงินอื่นๆ ที่บริษัทฯได้ร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อสร้างและเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการ: บริษัทฯอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลกับสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรเพื่อร่วมกันสร้างและเสนอผลิตภัณฑ์ เช่น ธนาคาร Synchrony ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีธนาคารของท่านในกรณีที่ต้องการโอนเงินจากบัญชีของท่านหรือเข้าบัญชีของเท่าน สถาบันการเงินเหล่านี้อาจใช้ข้อมูลนี้เฉพาะเพื่อทำการตลาดและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น 
•    การจัดทำข้อมูลสถิติที่รวบรวมไว้กับบุคคลภายนอก รวมถึงธุรกิจอื่นๆ และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับวิธีการ เวลา และเหตุผลที่ผู้ใช้ไปที่เว็บไซต์และใช้บริการของบริษัทฯ  ข้อมูลนี้จะไม่ระบุตัวตนของท่านหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์หรือบริการของท่าน ทั้งนี้บริษัทฯจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านกับบุคคลภายนอกเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการตลาดโดยปราศจากความยินยอมของท่าน

กับบุคคลภายนอก
เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของบริษัทฯหรือตามที่กฎหมายกำหนดหรืออนุญาต:

บริษัทฯอาจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับท่านให้กับบุคคลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของบริษัทจัดการหรือตามที่กฎหมายกำหนดหรืออนุญาต ซึ่งรวมถึง:
•    กรณีจำเป็นต้องดำเนินการดังกล่าวเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย กระบวนการทางกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับ เพื่อสนับสนุนการตรวจสอบ การปฏิบัติตาม และหน้าที่การกำกับดูแลกิจการ
•    หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลภายนอกอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับหมายเรียก คำสั่งศาล หรือกระบวนการหรือข้อกำหนดทางกฎหมายอื่นๆ ภายใต้กฎหมายหรือกฎข้อบังคับ หรือกฎหมายและกฎข้อบังคับของเขตอำนาจศาลอื่นที่ใช้บังคับกับบริษัทจัดการหรือบริษัทในกลุ่มของบริษัทจัดการ ในกรณีที่บริษัทฯต้องทำเช่นนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว หรือในกรณีที่บริษัทฯเชื่อโดยดุลยพินิจว่าการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมีความจำเป็นหรือเหมาะสมเพื่อป้องกันอันตรายทางกายภาพหรือการสูญเสียทางการเงิน หรือเพื่อรายงานถึงกิจกรรมที่ต้องสงสัยว่าผิดกฎหมาย 
•    เพื่อปกป้องผลประโยชน์ที่สำคัญของบุคคล
•    เพื่อปกป้องทรัพย์สิน บริการ และสิทธิ์ตามกฎหมายของบริษัทจัดการ
•    ในส่วนที่เชื่อมโยงกับบริการจัดส่งและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการซื้อที่ทำโดยใช้การบริการ
•    เพื่อช่วยประเมินและจัดการความเสี่ยง ตลอดจนป้องกันการฉ้อโกงต่อบริษัทจัดการและการฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือการใช้บริการของบริษัทจัดการ 
•    ให้หน่วยงาน/ธนาคาร/สถาบันการเงิน เพื่อรายงานเครดิตและการเรียกเก็บเงิน

ด้วยความยินยอมของท่าน:
บริษัทฯจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและข้อมูลอื่นๆ ด้วยความยินยอมของท่าน ทั้งนี้บุคคลที่เกี่ยวข้องที่ให้บริการดังกล่าวและได้รับการเปิดเผยข้อมูลจากบริษัทฯ ต้องยินยอมและปฏิบัติตามเงื่อนไขการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายความเป็นส่วนตัว 

ทางเลือกที่จะไม่ทำรายการผ่านอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชัน
ถ้าลูกค้ามีความประสงค์ที่จะไม่ทำรายการผ่านอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชัน, ท่านอาจเลือกที่จะใช้โทรศัพท์หรือเขียนจดหมายหรือติดต่อบริษัทฯ เพื่อที่จะขอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนของบริษัท ท่านอาจกรอกแบบฟอร์มเปิดบัญชีและยื่นเอกสารตัวจริงที่สำนักงานของบริษัทฯ และตัวแทนสนับสนุนการจำหน่วยของบริษัทฯ ได้ 


Cookies
Cookies คือ แฟ้มข้อมูลขนาดเล็กที่บรรจุข้อมูลที่ท่านเยี่ยมชมแอปพลิเคชัน บริษัทฯ ใช้ Cookies ในแอปพลิเคชันของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่ท่านทำรายการกับบริษัทฯผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชันมีความถูกต้อง ทันที่ที่ท่านออกจากระบบความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชันของบริษัทฯ cookies ดังกล่าวจะถูกทำลาย ข้อมูลดังกล่าวจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่ 

การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของท่าน
ท่านสามารถเขียน e-mail เพื่อติดต่อกับบริษัทฯ หรือโทรศัพท์มาที่ (662) 686 9595 ระหว่าง 08.30 น. – 17.00 น. ทุกวันทำการ เมื่อท่านต้องการตรวจสอบข้อมูลของท่าน บริษัทฯ อาจจะติดต่อถึงท่านเพื่อจัดเตรียมข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ข้อมูลตลาดการเงิน, ข้อมูลตลาดกองทุน, กองทุนและบริการใหม่ ถ้าท่านไม่ต้องการข้อมูลดังกล่าว โปรดติดต่อบริษัทฯ เช่นกัน 
 
 
แบบประเมินระดับความเสี่ยงของผู้ลงทุน (Suitability Test)    
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนทุกรายจะต้องทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ ทธ/น/ข. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คำแนะนำการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน หากผู้ลงทุนปฏิเสธที่จะทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนนี้ หรือให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด (“บลจ.”) ไม่สามารถให้คำแนะนำการลงทุนหรือทำรายการซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุนให้กับท่านได้ เนื่องจาก บลจ. ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับของทางการ
แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตนเองในลักษณะทั่วไป และเพื่อให้ บลจ. ใช้เป็นข้อมูลประกอบการให้คำแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมที่ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของผู้ถือหน่วยลงทุน และ ขอความกรุณาให้ผู้ลงทุนกรอกข้อมูลในแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนให้ครบทุกข้อและตรงตามความเป็นจริง เพื่อให้สามารถประมวลผลระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับท่านได้ 
ผู้ถือหน่วยลงทุน สามารถทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน ด้วยวิธีการกรอกแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนโดยขอจากพนักงานขายของบลจ. และส่งกลับมาที่ บลจ. หรือตอบแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนผ่านบริการทางอิเล็คทรอนิกส์ ของ บลจ. หรือช่องทางอื่นใดที่ บลจ.จะแจ้งให้ทราบภายหลัง ทั้งนี้ บลจ.จะยึดถือข้อมูลในแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนล่าสุดเพื่อใช้ประเมินระดับความเสี่ยงของผู้ถือหน่วยลงทุน 

ข้อกำหนด และ เงื่อนไข : 
สำหรับคำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าผ่านระบบรับคำสั่งปกติ: บลจ.ขอสงวนสิทธิ์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าสำหรับกองทุนใดตามใบ (หรือการส่งผ่านระบบ) คำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าสำหรับกองทุนใด โดย บลจ. ไม่ต้องแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้า หากระดับความเสี่ยงของกองทุนนั้น สูงกว่าระดับความเสี่ยงที่คำนวณได้จากการประมวลข้อมูลระดับความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนตามแบบประเมินนี้หรือตามแบบประเมินล่าสุดของผู้ถือหน่วยที่อาจมีการจัดทำขึ้นในอนาคต (ยกเว้น กรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ยืนยันการยอมรับความเสี่ยงดังกล่าว เป็นคราวๆไป หรือยกเว้นกรณีที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตตามที่ บลจ. เห็นสมควรภายใต้กฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต) 

สำหรับคำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าซึ่งอยู่ในบริการวางแผนการลงทุนอัตโนมัติ (AIP):
บลจ.ขอสงวนสิทธิ์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าสำหรับกองทุนใด ตามที่ระบุไว้ในแผนการลงทุนอัตโนมัติ(AIP)โดย บลจ. ไม่ต้องแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้า หากระดับความเสี่ยงของกองทุนนั้นสูงกว่าระดับความเสี่ยงที่คำนวณได้จากการประมวลข้อมูลระดับความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนตามแบบประเมินนี้หรือตามแบบประเมินล่าสุดของผู้ถือหน่วยที่อาจมีการจัดทำขึ้นในอนาคต (ยกเว้น กรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ยืนยันการยอมรับความเสี่ยงดังกล่าว และให้ข้อยกเว้นดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปสำหรับแผนการลงทุนนั้นจนกระทั่งมีการปรับแผนการลงทุนใหม่หรือมีการประมวลข้อมูลระดับความเสี่ยงตามแบบประเมินครั้งใหม่ของผู้ถือหน่วย หรือยกเว้นกรณีที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตตามที่ บลจ. เห็นสมควรภายใต้กฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต) 
แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนนี้มีผลใช้กับเฉพาะบัญชีของผู้ถือหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของบลจ.ที่ทำรายการผ่านตัวแทนขาย ซึ่งเป็นพนักงานขาย หรือตัวแทนขายอิสระ ของ บลจ. หรือผ่านบริการทางอิเล็คทรอนิกส์ ของ บลจ. เท่านั้น แต่ไม่รวมการทำรายการผ่านผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนรายอื่น ซึ่งผู้ถือหน่วยต้องกรอกแบบการประเมินการลงทุนชุดที่จัดทำโดยผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้นๆ เอง 
ผู้ถือหน่วยลงทุนรับทราบและตกลงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีหน้าที่จะต้องทบทวนข้อมูลในแบบประเมินการลงทุนให้เป็นปัจจุบันตามรอบระยะเวลาที่สำนักงาน ก.ล.ต./ บลจ. และ/หรือหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องกำหนด รวมถึงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 

ในกรณีที่ครบรอบระยะเวลาการทบทวนข้อมูลในแบบประเมินการลงทุนดังกล่าวข้างต้น หาก บลจ. มิได้รับข้อมูลในแบบประเมินในรอบใหม่จากผู้ถือหน่วยลงทุนในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนตกลงและยินยอมให้ บลจ. ถือเอาข้อมูลของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏตามแบบประเมินการลงทุนครั้งล่าสุดที่อยู่ในระบบเป็นข้อมูลปัจจุบันของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยมีผลบังคับใช้จนถึงเวลาที่ บลจ. ได้รับข้อมูลในแบบประเมินใหม่และนำเข้าบันทึกในระบบแล้ว