Skip to main content
หน้าหลัก
  • EN
  • TH

Main navigation

  • กองทุนรวม
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กองทุนส่วนบุคคล
  • คลังความรู้
  • เกี่ยวกับเรา
  • Log In & Digital Service
    • E@syInvest
    • PVD สำหรับสมาชิก
    • PVD สำหรับนายจ้าง
    • Principal TH Mobile
    • Principal PVD Mobile
Provident Fund

รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

  • Select Menu
    • รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
    • ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    • ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
    • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมดุลตามอายุ
    • คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
    • เครื่องมือคำนวณภาษี
  • รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
  • ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมดุลตามอายุ
  • คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
  • เครื่องมือคำนวณภาษี

PVD Member Login PVD Employer Login

ภาพรวมเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ

กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสะสม“ และนายจ้างจ่ายเงินเข้าอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ” กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นลักษณะของสวัสดิการที่นายจ้างมีให้กับลูกจ้างเพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินให้แก่ลูกจ้างที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐผ่านกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” ความสำคัญของ การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากจะทำให้ลูกจ้างมีการออมอย่างต่อเนื่อง มีวินัย และมีนายจ้างช่วยออมแล้วยังมีการนำเงินไปบริหารให้เกิดดอกผลงอกเงยโดยผู้บริหารมืออาชีพ และดอกผลที่เกิดขึ้นจะนำมาเฉลี่ยให้กับสมาชิกกองทุนทุกคนตามสัดส่วนของเงินที่แต่ละคนมีอยู่ในกองทุน 

 

เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกอบด้วย 

เงินสะสมของลูกจ้าง เป็นเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างสะสมเข้ากองทุนทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 2 (สอง) แต่ไม่เกินร้อยละ 15 (สิบห้า) ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง
เงินสมทบของนายจ้าง เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนตามจำนวนลูกจ้างที่เป็นสมาชิกในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 (สอง) แต่ไม่เกินร้อยละ 15 (สิบห้า) ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง
อัตราการจ่ายเงินสมทบให้แก่ลูกจ้างอาจแตกต่างกันตามเงื่อนไข ระยะเวลาการทำงานหรือ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกหรือ ตามตำแหน่งหรือ ตามอัตราเงินเดือนของลูกจ้างนั้นๆ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการจูงใจหรือเป็นสวัสดิการส่วนเพิ่มให้กับลูกจ้างที่ทำงานกับนายจ้างเป็นเวลานาน

 

เนื่องจากเงินกองทุนนี้เป็นสวัสดิการเพิ่มให้กับลูกจ้าง นายจ้างจึงมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขการจ่ายเงินออกสำหรับเงินสมทบของนายจ้างและผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว ซึ่งนายจ้างส่วนใหญ่จะกำหนดให้ลูกจ้างได้รับตามอายุงาน เช่นลูกจ้างออกจากงานและมีอายุการทำงานน้อยกว่า 5 ปี ได้รับเงินส่วนของนายจ้าง 50% ถ้าครบ 5 ปี ขึ้นไปได้ 100% เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างเป็นเวลานานเช่นกัน

เงินออมของสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะเติบโตจากเงินสะสมและเงินสมทบที่ต้องมีการนำส่งเข้ากองทุนทุกเดือน รวมทั้งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการลงทุนของกองทุน อย่างไรก็ดี กองทุนจะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินปันผลให้สมาชิก เนื่องจากจะสะสมยอดเงินทั้งหมดให้เป็นก้อนใหญ่ เพื่อเก็บไว้รอจ่ายคืนให้สมาชิกเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ เช่น ลาออกจากงาน เกษียณอายุ เป็นต้น นอกจากนี้ กองทุนจะไม่ให้สมาชิกถอนเงินออกบางส่วน เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกนำเงินไปใช้ซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการออมเงินเพื่อไว้ใช้หลังเกษียณ

PVD Member Login PVD Employer Login

ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

นายจ้าง

  • ประโยชน์ทางภาษี - เงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้
  • เป็นสวัสดิการเสริมเพื่อให้พนักงานอยู่กับบริษัทนานขึ้น
  • ลดอัตราพนักงานลาออก
  • ลดค่าใช้จ่ายในการฝึกพนักงานใหม่
  • สามารถกำหนดและควบคุมงบประมาณได้
  • พนักงานจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ
  • สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท
  • ดึงดูดบุคคลากรที่มีศักยภาพมาร่วมกับบริษัท

สมาชิก

  • เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
  • หากออกจากกองทุนตามเงื่อนไข (อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี) จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เหมือนได้เงินเดือนเพิ่มจากเงินสมทบของบริษัท
  • เป็นการออมเพื่อการเกษียณในระยะยาว
  • ในกรณีสมาชิกเสียชีวิต สินทรัพย์ทั้งหมดจะถูกส่งต่อไปให้ยังบุคคลตามความประสงค์ของสมาชิก
  • ลงทุนผ่านผู้จัดการกองทุนผู้เชี่ยวชาญ

PVD Member Login PVD Employer Login

ประเภทของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด ให้บริการ แบ่งได้ดังนี้

กองทุนเดี่ยว (Single Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างรายเดียว หรือกลุ่มบริษัทในเครือเดียวกัน และเป็นกองทุนที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และคณะกรรมการกองทุนสามารถกำหนดนโยบายร่วมกับบริษัทจัดการ
             กองทุนเดี่ยวแบ่งออกเป็น
             1) กองทุนเดี่ยวที่มีนโยบายการลงทุนเดียว ซึ่งอาจเป็นกองทุนแบบผสม ที่ลงทุนทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน หรือลงทุนเฉพาะตราสารหนี้เท่านั้น และสมาชิกทุกคนมีนโยบายการลงทุนเดียวกัน
             2) กองทุนเดี่ยวที่มี Employee’s Choice ให้สมาชิกเลือกนโยบายที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ Master Fund-Sub Fund เรียกว่า “Master Single Fund”

กองทุนร่วมทุน (Pooled Fund) หมายถึง กองทุนที่ประกอบด้วยนายจ้างหลายราย จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทจัดการ เหมาะสำหรับบริษัทที่มีเงินกองทุนไม่มากหรือบริษัทที่เริ่มจัดตั้งกองทุน หรือ บริษัทขนาดเล็กหรือใหญ่ที่ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับกองทุนและเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้ได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นได้
              กองทุนร่วมทุนแบ่งออกเป็น
              1) กองทุนร่วมทุนที่มีนโยบายการลงทุนเดียว ซึ่งอาจเป็นกองทุนแบบผสม ที่ลงทุนทั้งตราสารหนี้และตราสารทุน หรือลงทุนเฉพาะตราสารหนี้เท่านั้น และสมาชิกทุกคนมีนโยบายการลงทุนเดียวกัน
              2) กองทุนร่วมทุนที่มี Employee’s Choice ให้สมาชิกเลือกนโยบายที่เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบของ Master Fund-Sub Fund เรียกว่า “Master Pooled Fund แบบ Target Risk”
              3) กองทุนร่วมทุนที่เป็นแบบ Master Fund-Sub Fund เรียกว่า “Master Pooled Fund แบบ Target Date” สมาชิกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนตามช่วงอายุของสมาชิก วัยเริ่มทำงานจะมีสัดส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าวัยใกล้เกษียณ เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาวที่ดีกว่า และบริษัทจัดการจะลดความเสี่ยงให้กับพอร์ตการลงทุนลงเมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาที่ท่านต้องนำเงินออกจากกองทุนเมื่อเกษียณอายุ

PVD Member Login PVD Employer Login

ท่านทราบหรือไม่ว่า.......

•    อายุขัยของประชากรไทยสูงขึ้นทุกๆปี เพิ่มความเสี่ยงจากการที่เงินหมดก่อนเสียชีวิต (Longevity Risk)
•    จำนวนสมาชิกในครอบครัวลดลงส่งผลให้ผู้ที่เกษียณอายุจะต้องพึ่งพาตนเองในยามชรา เพิ่มความเสี่ยงจากการมีเงินไม่พอใช้หลังเกษียณ (Shortfall Risk)
•    เงินของท่านไม่ได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในปัจจุบันให้ผลตอบแทนเท่าๆกับอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Risk)
ปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เพิ่มความเสี่ยงที่ท่านจะมีเงินไม่เพียงพอสำหรับใช้จ่ายในวัยเกษียณ ดังนั้นนอกเหนือจากการออมในวัยทำงานแล้ว การนำเงินออมมาลงทุนในสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับวัย และระยะเวลาก่อนการเกษียณนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการบรรลุเป้าหมายการเกษียณที่มีคุณภาพ
 

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด ขอเสนอ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (Target Date Retirement Fund)  นวัตกรรมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่จะช่วยให้เงินของท่านทำงานได้อย่างมีประสทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 

Image
PVD target date target risk

แผนสมดุลตามอายุ (Target Date) คืออะไร? 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสมาชิกในทุกช่วงเวลาการลงทุน กล่าวคือ ผู้จัดการกองทุนจะจัดพอร์ตให้สมาชิกโดยดูจากปีที่สมาชิกจะเกษียณอายุ เริ่มจากการคัดเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม การกำหนดสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเภทของสินทรัพย์ และการปรับเปลี่ยนน้ำหนักของสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับอายุของสมาชิกที่เพิ่มขึ้นจนถึงวัยเกษียณ โดยที่สมาชิกไม่ต้องปวดหัวกับการเลือกแผนการลงทุน หรือหาเวลาสับเปลี่ยนแผนการลงทุนในภาวะที่การลงทุนมีความผันผวน หรือเมื่อสมาชิกมีอายุเพิ่มขึ้น Target Date เหมาะกับสมาชิกที่ไม่มีเวลา หรือสมาชิกที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนที่จะมีผู้จัดการมืออาชีพมาเป็นผู้ดูแลพอร์ตของสมาชิกตั้งแต่วัยเริ่มทำงาน จวบจนวัยเกษียณ เพื่อให้พอร์ตของสมาชิกมีโอกาสเติบโตอย่างเหมาะสม     ซึ่งการวางแผนในรูปแบบนี้ได้รับความนิยมสูงมากในประเทศสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่ปี 2006
 

Image
Target Date information

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Image
Target Date information


แผนสมดุลตามความเสี่ยง (Target Risk) คืออะไร? 

นอกจากรูปแบบสมดุลตามอายุ (Target Date) แล้ว บลจ. พรินซิเพิล จำกัด ยังมีรูปแบบสมดุลตามความเสี่ยง (Target Risk) ภายใต้กองทุนเดียวกัน ซึ่งสมาชิกสามารถเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่สมาชิกรับได้  นอกจากนี้ยังมีแผน Do-it-yourself (DIY) ที่ให้สมาชิกผสมสัดส่วน และเลือกสินทรัพย์ที่ต้องการจะลงทุนได้ด้วยตัวเอง ซึ่งนโยบาย Target Risk นี้ จะเหมาะสมกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องการลงทุนพอสมควร และมีเวลาติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ
 

Image
Target Risk
Image
Target Risk

ขั้นตอนการมี Target Date และ Target Risk 

ภายใต้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว
•    คณะกรรมการกองทุนรวมร่วมกับ บลจ. พรินซิเพิล จำกัด พิจารณากำหนดรูปแบบการลงทุนแบบ Target Date หรือ Target Risk หรือให้มีทั้ง 2 รูปแบบ
•    บลจ. พรินซิเพิล จำกัด จัด Educational Session ให้กับสมาชิกเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกเลือกนโยบายที่เหมาะสม
•    ฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้างทำงานง่ายขึ้น เพียงนำส่งเงินเข้าด้วยเช็คเพียง 1 ใบ  หรือโอนเงินเข้าบัญชีกองทุนเพียงบัญชีเดียวสำหรับทุกนโยบายการลงทุนสำหรับทุกนโยบายการลงทุน
•    ระบุนโยบายการลงทุนที่สมาชิกเลือกในข้อมูลเงินเข้ารายเดือน (Text file หรือ Excel file) เพียงครั้งเดียว
•    บลจ. พรินซิเพิล จำกัด เป็นผู้จัดสรรเงินของสมาชิกแต่ละรายไปตามนโยบายที่สมาชิกเลือกอัตโนมัติด้วยระบบทะเบียนสมาชิกที่มีประสิทธิภาพสูง
•    บลจ. พรินซิเพิล จำกัด มีระบบ Online Service ทาง Website และ Application สำหรับสมาชิก รวมทั้ง โปรแกรม Plan WISE Retire WELL เพื่อช่วยสมาชิกคำนวณเงินเพื่อการเกษียณในอนาคต พร้อมคำนวณหา Replacement Ratio  เพื่อช่วยให้สมาชิกวางแผนการเกษียณอายุได้อย่างเหมาะสม
 

TD06

Online Service สำหรับสมาชิก
Transaction

•    สับเปลี่ยนแผนการลงทุน
•    เงินเก่า/เงินเข้ารายเดือน เลือกแผนต่างกันได้
•    เปลี่ยนอัตราเงินสะสม   
 

Fund Information

•    ข้อบังคับกองทุนส่วนกลาง
•    รายงาน กช. 1.2 (ข้อมูลการลงทุน)
 

Company Information

•    ข้อบังคับกองทุนส่วนแต่ละนายจ้าง
•    ผลตอบแทนกองทุน YTD ราย Sub Fund และราย Menu
•    รายชื่อกรรมการกองทุน
 

Risk Profile Questionnaire

•    แบบประเมินความเสี่ยง

Enquiry & Report

•    ประวัติการนำส่งเงินเข้า
•    รายงานสับเปลี่ยนแผนการลงทุน
•    ใบรับรองยอดเงินสมาชิก ณ สิ้นเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม
 

เครื่องมือวางแผนเกษียนอายุ

•    Plan WISE Retire WELL เครื่องมือคำนวณเงินออมเพื่อวัยเกษียณแบบออนไลน์เพื่ออิสระทางการเงินในอนาคตของคุณ


TD07

คำถามที่พบบ่อย

  • ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • การจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ
  • การใช้งาน Principal TH Application
  • เอกสารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

Q1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร 
A.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยเงินของกองทุนมาจากเงินที่ลูกจ้างจ่ายส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสะสม“ และนายจ้างจ่ายเงินอีกส่วนหนึ่งเรียกว่า "เงินสมทบ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บออมเงินให้ลูกจ้างไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณอายุแล้วและถือว่าเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้าง 
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับการบริหารจัดการโดยบริษัทจัดการที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บริษัทจัดการจะนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปลงทุนตามที่คณะกรรมการกองทุนกำหนดให้กับสมาชิกกองทุน เพื่อหาผลตอบแทน ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่รับได้หรือตามนโยบายการลงทุน

Q2. เงินสะสมและเงินสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหมายถึงอะไร  
A. เงินสะสม คือเงินที่ลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหักจากค่าจ้างรายเดือนนำส่งเข้ากองทุนทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 2  แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง
เงินสมทบ คือเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกทุกเดือนในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 แต่ไม่เกินร้อยละ 15  ของค่าจ้าง โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง

Q3. ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุนจะได้รับประโยชน์จากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรบ้าง 
A. ลูกจ้างจะได้รับประโยชน์ดังนี้ 
1.    เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
2.    หากออกจากกองทุนตามเงื่อนไข (อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และเป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี) จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
3.    ได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง (ตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนของแต่ละนายจ้าง)
4.    มีโอกาสได้รับผลประโยชน์จากการลงทุน (ขึ้นอยู่กับแผนการลงทุนที่สมาชิกเลือก)
5.    เป็นการออมเพื่อการเกษียณในระยะยาว
6.    ในกรณีสมาชิกเสียชีวิต เงินกองทุนจะถูกส่งต่อไปยังผู้รับประโยชน์ตามที่สมาชิกระบุไว้ในหนังสือแต่งตั้งผู้รับประโยชน์ที่ได้มอบไว้ให้แก่นายจ้าง (สมาชิกสามารถติดต่อฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้างเพื่อเปลี่ยนแปลงชื่อผู้รับประโยชน์ได้)

Q4. ลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนควรเลือกนโยบายการลงทุนอย่างไร 
A. ลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนควรเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยทำแบบประเมินความเสี่ยงเพื่อวัดระดับความเสี่ยงและประเมินว่าเหมาะสมที่จะลงทุนในนโยบายการลงทุนใด

Q5. ลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนสามารถสับเปลี่ยนแผนการลงทุน หรือเลือกนโยบายการลงทุนสำหรับเงินเก่าและเงินใหม่แตกต่างกันได้หรือไม่
A.  ลูกจ้างหรือสมาชิกกองทุนสามารถสับเปลี่ยนแผนการลงทุนหรือเลือกนโยบายการลงทุนสำหรับเงินเก่าและเงินใหม่แตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับข้อบังคับกองทุนในส่วนของนายจ้างและหรือประกาศของคณะกรรมการกองทุน โดยสมาชิกสามารถติดต่อสอบถามฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง เพื่อรับทราบข้อบังคับของกองทุนดังกล่าว หรือดูข้อบังคับกองทุนในแอปพลิเคชัน Principal TH

Q6. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว หรือ Target Date Fund คืออะไร 
A. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประเภท Target Date นี้ เป็นกองทุนที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยจัดพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสมาชิกในทุกช่วงวัย บลจ.พรินซิเพิล จะจัดพอร์ตให้สมาชิกโดยดูจากปีที่สมาชิกจะเกษียณอายุ เริ่มจากการคัดเลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม การกำหนดสัดส่วนการลงทุนในแต่ละประเภทของสินทรัพย์ และการปรับเปลี่ยนน้ำหนักของสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับอายุของสมาชิกที่เพิ่มขึ้นจนถึงวัยเกษียณ 

Q7. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว หรือ Target Date Fund มีข้อดีอย่างไร 
A. สมาชิกจะไม่ต้องกังวลกับการเลือกแผนการลงทุนที่เหมะสม หรือการสับเปลี่ยนแผนการลงทุนในช่วงเวลาที่การลงทุนมีความผันผวน หรือเมื่อสมาชิกมีอายุเพิ่มขึ้น บลจ.พรินซิเพิลจะทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลพอร์ตของสมาชิกตั้งแต่วัยเริ่มทำงาน จวบจนวัยเกษียณ เพื่อให้พอร์ตของสมาชิกมีโอกาสเติบโตอย่างเหมาะสม     
 

การจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

Q8. ลูกจ้างสามารถนำส่งเงินเข้ากองทุนได้ในอัตราเท่าใด
A. ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  กำหนดให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนซึ่งต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 และไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง

ลูกจ้างสามารถเปลี่ยนอัตราเงินสะสมได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุนของแต่ละนายจ้าง
 

การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ 

Image
การจ่ายเงินคืนสมาชิกเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ

Q9. การสิ้นสุดสมาชิกภาพของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หมายถึงอะไร
A. หมายถึงการที่สมาชิกเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ 
-    สมาชิกลาออกจากงาน ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ
-    สมาชิกลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน (เว้นแต่ข้อบังคับกองทุนในส่วนของนายจ้างระบุว่าสมาชิกไม่สามารถลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานได้)
-    สมาชิกถึงแก่ความตาย หรือศาลมีคำสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ
-    สมาชิกมีสถานภาพเป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่งศาล
-    สมาชิกโอนไปเป็นสมาชิกกองทุนอื่น
-    นายจ้างเลิกกิจการ หรือ ถอนตัวออกจากกองทุน 

Q10. เมื่อสมาชิกสิ้นสมาชิกภาพระหว่างเดือน นายจ้างยังต้องส่งเงินเข้ากองทุนหรือไม่
A. นายจ้างต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนให้ครบถ้วน โดยคำนวณจากค่าจ้างในเดือนนั้นที่สมาชิกมีสิทธิได้รับจากนายจ้าง

Q11. หากสมาชิกลาออกจากงานและย้ายไปทำงานที่บริษัทนายจ้างใหม่ ควรทำอย่างไรกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
A. สมาชิกสามารถติดต่อฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง (ปัจจุบัน) เพื่อแจ้งความประสงค์ขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับบริษัทจัดการกองทุนเดิมไว้ก่อน  โดยสมาชิกสามารถติดต่อบริษัทจัดการกองทุนเดิมเพื่อขอโอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังจากที่ได้รับอนุมัติให้เข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างใหม่เรียบร้อยแล้ว 

Q12. หากสมาชิกลาออกจากงานโดยยังไม่มีงานใหม่ สามารถจัดการกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้อย่างไรบ้าง 
A. เมื่อสมาชิกลาออกจากงานโดยยังไม่มีงานใหม่สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านทางฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้างเดิม เพื่อจัดการกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยมี 3 แนวทางดังนี้ 
1. ขอคงเงินไว้ในกองทุนตามระยะเวลาที่ข้อบังคับกำหนด โดยมีค่าธรรมเนียม จำนวนเงิน 500 บาทต่อปี  หรือ
2. ขอโอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF for PVD) กรณีนี้สมาชิกต้องแจ้งความประสงค์ในการเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ บลจ.ปลายทางที่ท่านต้องการโอนย้ายเงินไป หรือกรณีที่ต้องการโอนย้ายมากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้ บลจ. พรินซิเพิล ท่านสามารถติดต่อเข้ามาที่ Call Center โทร. 026869500 กด 1  เพื่อทำนัดหมายล่วงหน้า เพื่อเข้ามาที่บลจ.พรินซิเพิล และดำเนินการเปิดบัญชีกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการเปิดบัญชีกองทุนรวมให้กับสมาชิก หรือ
3. ขอถอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะถือเป็นการสิ้นสุดสมาชิกภาพ และกรณีนี้อาจจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายในยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สมาชิกจะได้รับ โดยเกณฑ์การหักภาษีขึ้นอยู่กับอายุงาน และเงินได้เพิงประเมิน(เงินสะสม/ผลประโยชน์เงินสะสม/เงินสมทบ/ผลประโยชน์เงินสมทบ) ที่สมาชิกมีสิทธิได้รับจากกองทุน สมาชิกสามารถสอบถามฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง หรือสามารถคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเบื้องต้นได้ที่ลิงก์นี้ https://easyinvest.principal.th/click/Oth01_CalculateTax.aspx  (เงินได้เพิ่งประเมินจะถูกนำมาคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่ายจะเป็นมูลค่า ณ วันที่บริษัทจัดการได้มีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV. Per unit) ในการทำรายการสิ้นสมาชิกภาพ  ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทจัดการได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการกองทุนในส่วนบริษัทนายจ้างของท่าน) 

Q13. หากสมาชิกต้องการลาออกจากกองทุนโดยไม่ลาออกจากงาน  จะต้องดำเนินการอย่างไร และจะได้รับเงินกองทุนเมื่อใด 
A. สมาชิกสามารถติดต่อฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง เพื่อแจ้งความประสงค์ลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน (เฉพาะกรณีที่ข้อบังคับกองทุนในส่วนของนายจ้างระบุว่าสมาชิกสามารถลาออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงานได้)และนายจ้างจัดเตรียมเอกสารส่งมาที่ บลจ.พรินซิเพิล หลังจากที่ บลจ.พรินซิเพิลได้รับเอกสารแล้ว จะใช้ระยะเวลาดำเนินการจ่ายเงินกองทุนให้กับสมาชิกภายใน 30 วัน นับจากวันที่เอกสารและข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว

Q14. เมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ สมาชิกจะได้รับเงินกองทุนอย่างไร  
A. สมาชิกมีสิทธิได้รับเงินสะสมและผลประโยชน์ของเงินสะสม เต็มจำนวน 100% ส่วนเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบ สมาชิกจะได้รับเงินตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับกองทุน  โดยสมาชิกติดต่อสอบถามฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง เพื่อรับทราบข้อบังคับของกองทุนดังกล่าว หรือดูข้อบังคับกองทุนในแอปพลิเคชัน Principal TH

Q15. สมาชิกที่ลาออกจากกองทุนสามารถเลือกวิธีการรับเงินได้หรือไม่
A. วิธีการจ่ายเงินคืนให้กับสมาชิกกองทุนเป็นไปตามข้อบังคับกองทุน ซึ่งอาจระบุว่าให้โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของสมาชิกโดยตรงหรือจ่ายเป็นเช็คและสมาชิกติดต่อรับที่ฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง 

Q16. เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่สมาชิกจะได้รับหลังจากการลาออกจากงานและสิ้นสุดสมาชิกภาพ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่  และมีวิธีการคำนวณภาษีอย่างไร 
A. หากสมาชิกลาออกจากงานโดยมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และมีอายุการเป็นสมาชิกกองทุนครบ 5 ปี จะได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มจำนวนที่สมาชิกมีสิทธิได้รับโดยไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย  
ถ้าไม่ครบตามเงื่อนไขดังกล่าว เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะถูกนำมาคำนวณภาษี โดยเกณฑ์การหักภาษีขึ้นอยู่กับอายุงาน และเงินได้เพิงประเมิน(เงินสะสม/ผลประโยชน์เงินสะสม/เงินสมทบ/ผลประโยชน์เงินสมทบ)ที่สมาชิกมีสิทธิได้รับจากกองทุน นำมารวมคำนวณ สมาชิกสามารถสอบถามฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง หรือสามารถคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเบื้องต้นได้ที่ลิงก์นี้ https://easyinvest.principal.th/click/Oth01_CalculateTax.aspx (เงินได้เพิ่งประเมินจะถูกนำมาคำนวณภาษี หัก ณ ที่จ่ายจะเป็นมูลค่า ณ วันที่บริษัทจัดการได้มีการคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV. Per unit) ในการทำรายการสิ้นสมาชิกภาพ  ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทจัดการได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการกองทุนในส่วนบริษัทนายจ้างของท่าน)

Q17. สมาชิกที่คงเงินไว้ในกองทุนครบ 1 ปีแล้ว ต้องการคงเงินต่อไปอีกต้องทำอย่างไร 
A.  เจ้าหน้าที่ของบลจ. พรินซิเพิล จะติดต่อสมาชิกทางอีเมลเพื่อแจ้งค่าธรรมเนียมและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมการคงเงิน หรือสมาชิกสามารถติดต่อเข้ามาที่ฝ่ายบริการลูกค้า (Call Center) บลจ.พรินซิเพิล ที่อีเมล  callcenter@principal.com  หรือ โทร. 026869500 กด 1  เพื่อสอบถามวันครบกำหนดและวิธีชำระค่าธรรมเนียมการคงเงินได้

Q18. สมาชิกกองทุนมีสิทธิ์ขอรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นงวดได้หรือไม่ 
A. สามารถทำได้ ถ้าสมาชิกลาออกจากงานเมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และมีอายุการเป็นสมาชิกกองทุนครบ 5 ปี

Q19. การขอรับเงินงวด มีวิธีการอย่างไร
A. สมาชิกสามารถยื่นความประสงค์ผ่านทางนายจ้างหรือคณะกรรมการกองทุน ณ วันที่สิ้นสุดสมาชิก หรือแจ้งความประสงค์ผ่านทาง บลจ.พรินซิเพิล โดยตรงกรณีที่สมาชิกมีความประสงค์ขอรับเงินงวดหลังทำรายการสิ้นสุดสมาชิกภาพและขอคงเงินไว้ในกองทุนไว้แล้ว (สมาชิกต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และมีอายุการเป็นสมาชิกกองทุนครบ 5 ปี)

Q20. สมาชิกสามารถขอรับเงินได้กี่งวด และได้รับเงินวันไหน
A. สมาชิกสามารถขอรับเงินงวดได้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี นับจากวันที่สิ้นสมาชิกภาพ โดยสมาชิกสามารถเลือกรับเงินรายงวดเป็น รายเดือน ราย 3 เดือน ราย 4 เดือน ราย 6เดือน และรายปี และจะทำการจ่ายเงินให้กับสมาชิกในวันที่ 25 ของแต่ละงวด กรณีตรงกับวันหยุด จะเลื่อนเป็นวันทำการก่อนหน้า
 

การใช้งาน Principal TH Application

Q21. แอปพลิเคชัน Principal TH คืออะไร
A. Principal TH เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้งานผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ที่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถดาวน์โหลดและลงทะเบียนใช้งานเพื่อดูความเคลื่อนไหวของพอร์ตการลงทุนของท่าน รวมถึงการสับเปลี่ยนแผนการลงทุน  ดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับกองทุน และครอบคลุมไปถึงการจัดการข้อมูลทางบัญชีของสมาชิกเช่น การเปลี่ยนแปลงเบอร์โทรศัพท์ และอีเมล เป็นต้น 
สมาชิกสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ตาม QR code ด้านล่างนี้ หรือ คลิก Download

Image
Download app Principal TH QR code

Q22. สมาชิกกองทุนสามารถดูพอร์ต (Portfolio) หรือข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพใน แอปพลิเคชัน Principal TH ได้อย่างไร
A. หลังจากดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Principal TH แล้ว ให้กดลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่ และในขั้นตอนการลงทะเบียนจะต้องใช้ชุดข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง (HR) หลังจากที่ได้สมัครเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยเอกสารชุดข้อมูลที่ท่านได้รับจาก บลจ.พรินซิเพิล มีดังนี้  
1. รหัสบริษัท/รหัสนายจ้าง (Company code)  
2. รหัสพนักงาน (Employee code) 
3. เลขที่อ้างอิง (Reference number) 
หากสมาชิกไม่ได้รับข้อมูลข้างต้น สามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลได้ที่ฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง 
หรือฝ่ายบริการลูกค้า (Call Center) บลจ.พรินซิเพิล ที่อีเมล  callcenter@principal.com  หรือ โทร. 026869500 กด 1

Q23. สมาชิกกองทุนสามารถสับเปลี่ยนแผนการลงทุนใน แอปพลิเคชัน Principal TH ได้หรือไม่
A. หลังจากสมาชิกลงทะเบียนผู้ใช้งานใหม่เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าสู่เมนูจัดการแผนการลงทุน และเลือกสับเปลี่ยนแผนการลงทุนที่ท่านต้องการ ทั้งนี้  ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขข้อบังคับของนายจ้างว่าอนุญาตให้สมาชิกสับเปลี่ยนแผนการลงทุนออนไลน์ได้หรือไม่ รวมถึงข้อกำหนดจำนวนครั้งหรือช่วงเวลาที่เปิดให้สับเปลี่ยนแผนได้  สมาชิกสามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้าง หรือฝ่ายบริการลูกค้า (Call Center) บลจ.พรินซิเพิล ที่อีเมล์  callcenter@principal.com  หรือ โทร. 026869500 กด 1
 

เอกสารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

Q24. สมาชิกกองทุนจะได้รับใบรับรองแจ้งยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Statement) ในช่วงเวลาใด
A. สมาชิกสามารถติดต่อฝ่ายบุคคลของบริษัทนายจ้างเพื่อขอรับใบรับรองแจ้งยอดกองทุนได้ โดย บลจ.พรินซิเพิล จะส่งใบรับรองแจ้งยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ราย 6 เดือน) ไปยังบริษัทนายจ้างปีละ 2 ครั้ง เป็นยอดการรายงาน ณ วันที่  31 ธันวาคม และ 30 มิถุนายน ของทุกปี จัดส่งถึงนายจ้างภายใน 30 วันนับจากวันที่รายงาน  หรือสมาชิกสามารถดาวน์โหลดใบรับรองแจ้งยอดเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วยตนเองที่ แอปพลิเคชัน Principal TH 

Q25. สมาชิกที่ได้ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปแล้ว และมีความประสงค์จะขอใบรับรองแจ้งยอดลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อไปประกอบการยื่นภาษีกับกรมสรรพากร จะต้องดำเนินการอย่างไร 
A. สมาชิกสามารถแจ้งความประสงค์ให้ออกใบรับรองแจ้งยอดลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผ่านทางฝ่ายบริการลูกค้า (Call Center) บลจ.พรินซิเพิล ที่อีเมล callcenter@principal.com  หรือ โทร. 026869500 กด 1      
โดยระบุชื่อบริษัทนายจ้างเดิม ปี พ.ศ. ที่ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน เซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง    และฝ่ายบริการลูกค้าจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำส่งเอกสารดังกล่าวให้กับสมาชิกต่อไป

เครื่องมือคำนวณภาษี

เครื่องมือคำนวณภาษี

กองทุนรวม

  • กองทุนรวมคืออะไร
  • มูลค่าหน่วยลงทุน
  • ผลการดำเนินงานตามปีปฏิทิน
  • แจ้งความประสงค์ใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีเงินได้ จากการลงทุนในกองทุนรวมที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  • รู้จักกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนส่วนบุคคล

  • กองทุนส่วนบุคคลคืออะไร

เกี่ยวกับเรา

  • เกี่ยวกับบริษัท
  • คณะผู้บริหาร
  • ข่าวสารต่างๆ
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา

เวปไซด์ที่เกี่ยวข้อง

  • Principal Financial Group
  • Principal Indonesia
  • Principal Islamic
  • Principal Malaysia
  • Principal Singapore

อื่นๆ

  • ดาวน์โหลด
  • ดาวน์โหลดหนังสือรับรองกองทุนภาษีและภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • พันธมิตรทางธุรกิจ
  • การกำกับดูแลกิจการ
  • การใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  • คำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว
  • ข้อตกลงการใช้บริการ
  • ความเสี่ยงในการใช้อินเทอร์เน็ต
  • การบริหารความเสี่ยง
  • คู่มือผู้ลงทุน
  • ตารางวันหยุดกองต่างประเทศ
  • คู่มือการลงทุนในกองทุนที่มีสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  • แบบฟอร์มต่างๆ
  • นโยบายเกี่ยวกับคุกกี้
เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้ในการให้บริการและปรับปรุงเนื้อหา เพื่อเข้าใจความต้องการและมอบประสบการณ์ที่ดีสำหรับคุณ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัว และ คุกกี้

© 2025 Principal Asset Management Co.,Ltd

Disclaimer

1.    ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข  ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
2.    การลงทุนไม่ใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงในการลงทุน ผู้ลงทุนอาจได้รับเงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกก็ได้ ดังนั้นผู้ลงทุนควรลงทุน เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนรวมใดๆ เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของผู้ลงทุน และผู้ลงทุนสามารถยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในกองทุนรวมนั้นๆ ได้
3.    ผู้สนใจลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ "นโยบายการลงทุน" "ประเภทหลักทรัพย์ที่จะลงทุน" "อัตราส่วนการลงทุน" "ความเสี่ยงในการลงทุนของกองทุนรวม" และ "คำเตือน/ข้อแนะนำ" และควรเก็บใว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถขอหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ และสอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัทจัดการ หรือผู้สนับสนุนการขายที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการทุกแห่ง
4.    บริษัทจัดการอาจลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อบริษัทจัดการ เช่นเดียวกับที่บริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่นเพื่อกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ทั้งนี้ผู้ที่สนใจจะลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลการลงทุนเพื่อบริษัทจัดการในรายละเอียด สามารถขอดูข้อมูลได้ที่บริษัทจัดการ ผู้สนับสนุนการขายที่ได้รับการแต่งตั้งจากบริษัทจัดการทุกแห่ง และสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
5.    ในบางกองทุนที่มีการลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน
6.    ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด หรืออาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้ หรืออาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
7.    ในกรณีที่กองทุนรวมไม่สามารถดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
8.    ผู้ลงทุนสามารถตรวจดูข้อมูลที่อาจมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น การทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง (Connected Person) และการลงทุนตามอัตราส่วนที่กำหนดในวัตถุประสงค์การลงทุน เป็นต้น ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือโดยผ่านเครือข่าย Internet ของสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. http://www.sec.or.th
9.    กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการ ดังนั้นบริษัทจัดการจึงไม่มีภาระผูกพันในการชดเชยผลขาดทุนของกองทุนรวม ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงินหรือผลการดำเนินงานของบริษัทจัดการ
10.    การลงทุนในกองทุนรวมใดๆ ที่มีรายชื่อปรากฏในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายไทยรวมถึงกฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (ที่แก้ไขเพิ่มเติม)
11.    ข้อมูลในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ใช่คำแนะนำหรือความเห็น และไม่ถือเป็นการแทนคำแนะนำ หรือมีความมุ่งหมายให้ถือเป็นคำเสนอ หรือการเชิญชวนให้บุคคลใดทำการซื้อ หรือขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่าง ๆ ความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ใช้ข้อมูลหรือตัดสินใจจากเนื้อหาในเว็ปไซด์นี้ไม่อาจเรียกร้องได้
12.    การที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้จัดตั้งและจัดการโครงการของกองทุนรวมที่ปรากฏอยู่ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ มิได้เป็นการแสดงว่าคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้รับรองถึงความถูกต้องของข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และมิได้ประกันราคาหน่วยลงทุนที่เสนอขาย
13.    การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ ใช้วิธีวัดผลการดำเนินงานตามมาตรฐานที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด และผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
14.    ข้อความทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ บริษัทจัดการได้จัดทำเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้ถือหน่วยลงทุน และผู้สนใจลงทุนโดยได้ตระหนักถึงความถูกต้องของข้อมูล แต่อย่างไรก็ตามบริษัทจัดการไม่สามารถรับประกันถึงความถูกต้อง และความเป็นปัจจุบันของข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ได้
15.    บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไข ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
16.    บริษัทจัดการอนุญาตให้พนักงานของบริษัทจัดการลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อตนเองได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และประกาศต่างๆ ที่สมาคมบริษัทจัดการลงทุนกำหนด และจะต้องเปิดเผยการลงทุนดังกล่าวให้บริษัทจัดการทราบเพื่อที่บริษัทจัดการจะสามารถกำกับ และดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานได้
17.    บริษัทจัดการ และผู้บริหาร รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัท ขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายทุกกรณีที่เกิดขึ้นกับข้อมูล และ/หรือ ระบบสื่อสารของผู้เข้าเยี่ยมชม หรือผู้ลงทุน อันเนื่องมาจากการเข้ามาใช้แอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ และ/หรือ แอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือที่ร่วมกิจกรรมกับบริษัท
18.    บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิ์ของข้อมูลใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ โดยห้ามมิให้ผู้ใดเผยแพร่ อ้างอิง ลอกเลียน ทำซ้ำ หรือแก้ไขด้วยวิธีการใดๆ ไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนของข้อมูลในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทจัดการก่อน บริษัทจัดการ และผู้บริหารรวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่ของบริษัทจัดการขอสงวนสิทธิที่จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายทุกกรณี อันเกิดขึ้นจากการที่บุคคลอื่นกระทำโดยเจตนา หรือโดยมิได้รับอนุญาตจากบริษัทจัดการ แก้ไข เปลี่ยนแปลง รายงาน ข้อความ ข้อมูล เอกสาร หรือสื่อใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ และรายงาน ข้อความ ข้อมูล เอกสาร หรือสื่อใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ได้เผยแพร่ออกไป ไม่ว่าเป็นการเฉพาะเจาะจง หรือเป็นการทั่วไปในประการที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของบริษัทจัดการ หรือ บุคคลอื่น
19.    การแก้ไขเปลี่ยนแปลง รายงาน ข้อความ ข้อมูล เอกสาร หรือสื่อใดๆ ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ด้วยวิธีการใดๆ โดยเจตนา หรือโดยมิได้รับอนุญาตจากบริษัทจัดการก่อน และเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือชื่อเสียงของบริษัทจัดการ หรือบุคคลอื่น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและความผิดที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้กระทำดังกล่าวนอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายในทางแพ่งแล้ว อาจต้องรับโทษในทางอาญาอีกด้วย
20.    เว็บไซต์ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ลิงก์อยู่ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ บริษัทจัดการได้จัดรวบรวมขึ้นเพื่อความสะดวกในการเข้าไปชมเว็บไซต์เท่านั้น ดังนั้นการที่เว็บไซต์ดังกล่าวเสนอข้อมูล ความรู้ แนวคิด หรือเสนอการให้บริการ หรือการเสนอขายสินค้าต่างๆ ที่มีอยู่ในเว็บไซต์ดังกล่าวต่อผู้ที่สนใจเข้าชมเว็บไซต์นั้น โดยเฉพาะเว็บไซต์ต่างประเทศบางแห่งในปัจจุบันอาจจะยังไม่สามารถให้บริการ หรือเสนอขายสินค้าต่างๆ ในประเทศไทยได้ ผู้เข้าชม หรือรับบริการหรือซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ดังกล่าวควรต้องศึกษา และตรวจสอบข้อมูล โดยละเอียดก่อนตัดสินใจรับบริการซื้อสินค้า หรือดำเนินการใดๆ บริษัทจัดการไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล หรือการเสนอให้บริการ หรือการเสนอขายสินค้าต่างๆ รวมทั้งไม่รับรองความถูกต้องของข้อมูล หรือการเสนอให้บริการ หรือการเสนอขายสินค้าที่มีอยู่ในเว็บไซต์นั้น
21.    ในกรณีที่ผู้เข้าเยี่ยมชมแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ได้ออกจากแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีลิงก์อยู่ในแอปพลิเคชันผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ บริษัทจัดการขอเรียนว่า เว็บไซต์เหล่านั้นอาจมิได้อยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และบริษัทอาจจะยังมิได้สำรวจถึงการบริการข้อมูล หรือสินค้าของบริษัทนั้นๆ ดังนั้นบริษัทจัดการจึงมิสามารถรับประกันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลดังกล่าว และ รับผิดชอบต่อความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้น
22.    ผู้ลงทุนควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ขายหน่วยลงทุนเป็นบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. 
23.    อัตราค่าธรรมเนียมการหักเงินลงทุนรายเดือนจากบัญชีธนาคารของผู้ถือหน่วยลงทุน สำหรับผู้ลงทุนที่ใช้บริการแผนการลงทุนอัตโนมัติ (Regular Saving Plan)
        - ไม่คิดค่าบริการ สำหรับผู้ลงทุนที่มียอดเงินลงทุนหักรายเดือนตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปต่อรายการ
        - คิดค่าบริการ 10 บาท ต่อรายการ สำหรับผู้ลงทุนที่มียอดเงินลงทุนหักรายเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท (ปัจจุบันยกเว้นค่าบริการ)
        ค่าบริการดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง
24.    ผู้ลงทุนโปรดศึกษาเงื่อนไขการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) / กองทุนรวมเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) หรือหน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออมพิเศษ (SSFX) ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 357 (พ.ศ 2563) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 10 มีนาคม 2563 โดยเป็นไปตามเกณฑ์กรมรรพากรกำหนด ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน/หนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ให้เข้าใจและควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เป็นข้อมูล เพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัยให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน


คำเตือนเฉพาะกองทุน
•    ผู้ลงทุนไม่สามารถนำหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพและกองทุนรวมหุ้นระยะยาวไปจำหน่าย จ่าย โอน จำนำ หรือนำไปเป็นหลักประกัน
•    สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ผู้ถือหน่วยลงทุน (ของกองทุนรวม) จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกรมสรรพากรอย่างเคร่งครัดทุกประการ (ซึ่งสามารถศึกษาได้จากคู่มือการลงทุนที่บริษัทจัดการได้จัดให้) มิฉะนั้นผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และ/หรือ ผู้ลงทุนอาจถูกหัก หรือไม่สามารถขอคืนภาษี ณ ที่จ่ายจากกำไรที่เกิดขึ้นตลอดจนผู้ลงทุนจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับภายในกำหนดเวลา และ/หรือ อาจจะต้องชำระเงินเพิ่ม และเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร อนึ่ง ผู้ลงทุนจะต้องเก็บเอกสารการลงทุนในกองทุนรวมถึงหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ว่าท่านได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของการลงทุนที่กำหนดดังกล่าวอย่างครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการยืนยันสิทธิประโยชน์ในทางภาษีของท่านหากถูกเรียกถามในอนาคต อนึ่ง ผู้ลงทุนควรขอรับ และศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน และคู่มือการลงทุนให้เข้าใจ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทจัดการ หรือผู้ขายหน่วยลงทุน
•    กรณีกองทุนรวมที่มีการลงทุนในต่างประเทศ และไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
•    กองทุนรวมมีประกัน ผู้ลงทุนที่ถือหน่วยที่ลงทุนจนครบระยะเวลาการประกันที่กำหนดในหนังสือชี้ชวนนี้จะได้รับชำระเงินลงทุนคืนตามเงื่อนไขในการรับประกันอย่างไรก็ดี การประกันดังกล่าวไม่ได้รวมถึงการประกันความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตของผู้ประกัน
•    กองทุนรวมมุ่งรักษาเงินต้น เป็นเพียงชื่อเรียกประเภทของกองทุนรวมที่จัดนโยบายการลงทุนเพื่อให้เงินต้นของผู้ถือหน่วยลงทุนมีความเสี่ยงต่ำ โดยกองทุนรวมดังกล่าว มิได้รับประกันเงินลงทุนหรือผลตอบแทนจากการลงทุนแต่อย่างใด


นโยบายความเป็นส่วนตัว
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด เคารพสิทธิของลูกค้า นโยบายความเป็นส่วนตัวของบริษัทนั้น มีเพื่อให้ท่านมั่นใจยามที่ท่านให้ข้อมูลกับบริษัทฯ โดยลูกค้ามีสิทธิที่จะเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลของท่านได้ 
 
รูปแบบข้อมูล
ข้อมูลที่ทางบริษัทฯ เก็บนั้นจัดทำเพื่อให้บริษัทฯ สามารถให้บริการสินค้าทางการเงินแก่ลูกค้า ซึ่งข้อมูลประกอบด้วย ชื่อ, ที่อยู่, วันเกิด, ข้อมูลอื่นๆ เช่น อาชีพ, รายได้ประจำปีของท่าน ซึ่งได้จากใบสมัครเปิดบัญชีและข้อมูลของท่านเพื่อใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตของบริษัทฯ 

บริษัทฯอาจจะเก็บข้อมูลเพิ่มเติมจากท่านอีกเมื่อท่านใช้ศูนยบริการและดูแลลูกค้าของบริษัทฯผ่านระบบออนไลน์หรือโทรศัพท์ เพื่อที่บริษัทฯจะได้จัดเตรียมสินค้าและบริการที่ดียิ่งขึ้นทีเหมาะกับท่าน 
 
การใช้รหัสผ่าน
ความรับผิดชอบในการเก็บดูแลรหัสผ่านนั้นเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องรับผิดชอบ โปรดแน่ใจว่ารหัสผ่านของท่านไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อบุคคลอื่นๆ ไม่ว่าในเวลาและสถานการณ์ใด กรุณาแจ้งทางบริษัทฯ ทันทีที่พบว่ามีการใช้รหัสผ่านโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากท่านหรือมีการละเมิดความปลอดภัยของรหัสผ่าน 
 
การใช้และการเปิดเผย
บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านหรือข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับท่านให้กับผู้อื่นในรูปแบบต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในส่วนนี้ของนโยบายความเป็นส่วนตัว 
บริษัทฯ อาจจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลอื่นๆของท่าน ด้วยเหตุผลต่อไปนี้:

กับสมาชิกบริษัทในกลุ่มของ CIMB-Principal และ Principal Financial Group :
บริษัทฯอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในกลุ่มของ CIMB-Principal และ Principal Financial Group เช่น 
•    แนะนำสินค้าและบริการทางการเงิน เช่น หน่วยลงทุนกองทุนรวมที่อยู่ในความสนใจของท่าน
•    ประเมินและดำเนินการโปรแกรมประยุกต์ที่สอดคล้องกับสินค้าและบริการทางการเงิน เช่น หน่วยลงทุนกองทุนรวมของท่าน
•    บริหารจัดการสินค้าและบริการทางการเงิน เช่น หน่วยลงทุนกองทุนรวมที่ทางบริษัทนำเสนอต่อท่าน
•    เพื่อช่วยให้บริษัทฯจัดการข้อความพร้อมใช้งานและการเชื่อมต่อของผลิตภัณฑ์ บริการ และการติดต่อสื่อสารของบริษัทในกลุ่ม
•    เพื่อจัดการความเสี่ยง เพื่อช่วยตรวจจับและป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมายและการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงการละเมิดอื่นๆ ต่อนโยบายและข้อตกลงของบริษัทฯ

บริษัทฯ อาจจะเปิดเผยข้องมูลส่วนตัวของท่านกับบริษัทอื่นๆ ที่ให้บริการแก่บริษัทฯ:
บริษัทฯอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลกับผู้ให้บริการภายนอกที่ให้บริการกับบริษัทฯ 
•    ผู้ให้บริการภายนอกเหล่านี้อาจเป็นผู้ให้บริการแก่ท่าน เช่น ให้บริการยืนยันตัวตนของท่าน
•    ผู้บริการภายนอกบริษัทฯ เช่น ผู้ให้บริการการจัดส่งเอกสาร, ผู้ให้บริการด้านระบบ IT ผู้ดำเนินการกรอกข้อมูล, โรงพิมพ์, ผู้ตรวจสอบรวมถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ, การจัดส่งโฆษณาสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ และบริษัทภายนอกอื่นๆ ที่สนับสนุนการให้บริการของบริษัทฯแก่ท่าน
•    บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่แทนท่าน
•    ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทฯเพื่อช่วยการบริการจัดการเงินลงทุนของท่าน
•    เมื่อต้องเปิดเผยตามที่กฎหมายกำหนด เช่น กรมสรรพากร, ผู้ควบคุมกฎระเบียบ เช่น สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
•    สถาบันการเงินอื่นๆ ที่บริษัทฯได้ร่วมเป็นพันธมิตรเพื่อสร้างและเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการ: บริษัทฯอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลกับสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เป็นพันธมิตรเพื่อร่วมกันสร้างและเสนอผลิตภัณฑ์ เช่น ธนาคาร Synchrony ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีธนาคารของท่านในกรณีที่ต้องการโอนเงินจากบัญชีของท่านหรือเข้าบัญชีของเท่าน สถาบันการเงินเหล่านี้อาจใช้ข้อมูลนี้เฉพาะเพื่อทำการตลาดและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเท่านั้น 
•    การจัดทำข้อมูลสถิติที่รวบรวมไว้กับบุคคลภายนอก รวมถึงธุรกิจอื่นๆ และประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับวิธีการ เวลา และเหตุผลที่ผู้ใช้ไปที่เว็บไซต์และใช้บริการของบริษัทฯ  ข้อมูลนี้จะไม่ระบุตัวตนของท่านหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์หรือบริการของท่าน ทั้งนี้บริษัทฯจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านกับบุคคลภายนอกเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการตลาดโดยปราศจากความยินยอมของท่าน

กับบุคคลภายนอก
เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของบริษัทฯหรือตามที่กฎหมายกำหนดหรืออนุญาต:

บริษัทฯอาจเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับท่านให้กับบุคคลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจของบริษัทจัดการหรือตามที่กฎหมายกำหนดหรืออนุญาต ซึ่งรวมถึง:
•    กรณีจำเป็นต้องดำเนินการดังกล่าวเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย กระบวนการทางกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับ เพื่อสนับสนุนการตรวจสอบ การปฏิบัติตาม และหน้าที่การกำกับดูแลกิจการ
•    หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลภายนอกอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับหมายเรียก คำสั่งศาล หรือกระบวนการหรือข้อกำหนดทางกฎหมายอื่นๆ ภายใต้กฎหมายหรือกฎข้อบังคับ หรือกฎหมายและกฎข้อบังคับของเขตอำนาจศาลอื่นที่ใช้บังคับกับบริษัทจัดการหรือบริษัทในกลุ่มของบริษัทจัดการ ในกรณีที่บริษัทฯต้องทำเช่นนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว หรือในกรณีที่บริษัทฯเชื่อโดยดุลยพินิจว่าการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมีความจำเป็นหรือเหมาะสมเพื่อป้องกันอันตรายทางกายภาพหรือการสูญเสียทางการเงิน หรือเพื่อรายงานถึงกิจกรรมที่ต้องสงสัยว่าผิดกฎหมาย 
•    เพื่อปกป้องผลประโยชน์ที่สำคัญของบุคคล
•    เพื่อปกป้องทรัพย์สิน บริการ และสิทธิ์ตามกฎหมายของบริษัทจัดการ
•    ในส่วนที่เชื่อมโยงกับบริการจัดส่งและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการซื้อที่ทำโดยใช้การบริการ
•    เพื่อช่วยประเมินและจัดการความเสี่ยง ตลอดจนป้องกันการฉ้อโกงต่อบริษัทจัดการและการฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือการใช้บริการของบริษัทจัดการ 
•    ให้หน่วยงาน/ธนาคาร/สถาบันการเงิน เพื่อรายงานเครดิตและการเรียกเก็บเงิน

ด้วยความยินยอมของท่าน:
บริษัทฯจะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและข้อมูลอื่นๆ ด้วยความยินยอมของท่าน ทั้งนี้บุคคลที่เกี่ยวข้องที่ให้บริการดังกล่าวและได้รับการเปิดเผยข้อมูลจากบริษัทฯ ต้องยินยอมและปฏิบัติตามเงื่อนไขการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายความเป็นส่วนตัว 

ทางเลือกที่จะไม่ทำรายการผ่านอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชัน
ถ้าลูกค้ามีความประสงค์ที่จะไม่ทำรายการผ่านอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชัน, ท่านอาจเลือกที่จะใช้โทรศัพท์หรือเขียนจดหมายหรือติดต่อบริษัทฯ เพื่อที่จะขอข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนของบริษัท ท่านอาจกรอกแบบฟอร์มเปิดบัญชีและยื่นเอกสารตัวจริงที่สำนักงานของบริษัทฯ และตัวแทนสนับสนุนการจำหน่วยของบริษัทฯ ได้ 


Cookies
Cookies คือ แฟ้มข้อมูลขนาดเล็กที่บรรจุข้อมูลที่ท่านเยี่ยมชมแอปพลิเคชัน บริษัทฯ ใช้ Cookies ในแอปพลิเคชันของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่ท่านทำรายการกับบริษัทฯผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชันมีความถูกต้อง ทันที่ที่ท่านออกจากระบบความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ตและแอปพลิเคชันของบริษัทฯ cookies ดังกล่าวจะถูกทำลาย ข้อมูลดังกล่าวจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่ 

การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของท่าน
ท่านสามารถเขียน e-mail เพื่อติดต่อกับบริษัทฯ หรือโทรศัพท์มาที่ (662) 686 9595 ระหว่าง 08.30 น. – 17.00 น. ทุกวันทำการ เมื่อท่านต้องการตรวจสอบข้อมูลของท่าน บริษัทฯ อาจจะติดต่อถึงท่านเพื่อจัดเตรียมข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ข้อมูลตลาดการเงิน, ข้อมูลตลาดกองทุน, กองทุนและบริการใหม่ ถ้าท่านไม่ต้องการข้อมูลดังกล่าว โปรดติดต่อบริษัทฯ เช่นกัน 
 
 
แบบประเมินระดับความเสี่ยงของผู้ลงทุน (Suitability Test)    
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป ผู้ลงทุนทุกรายจะต้องทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ ทธ/น/ข. 47/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการให้คำแนะนำการลงทุนและการให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหน่วยลงทุน หากผู้ลงทุนปฏิเสธที่จะทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนนี้ หรือให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด (“บลจ.”) ไม่สามารถให้คำแนะนำการลงทุนหรือทำรายการซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ากองทุนให้กับท่านได้ เนื่องจาก บลจ. ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับของทางการ
แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตนเองในลักษณะทั่วไป และเพื่อให้ บลจ. ใช้เป็นข้อมูลประกอบการให้คำแนะนำการลงทุนในกองทุนรวมที่ถูกต้องและเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของผู้ถือหน่วยลงทุน และ ขอความกรุณาให้ผู้ลงทุนกรอกข้อมูลในแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนให้ครบทุกข้อและตรงตามความเป็นจริง เพื่อให้สามารถประมวลผลระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมกับท่านได้ 
ผู้ถือหน่วยลงทุน สามารถทำแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน ด้วยวิธีการกรอกแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนโดยขอจากพนักงานขายของบลจ. และส่งกลับมาที่ บลจ. หรือตอบแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนผ่านบริการทางอิเล็คทรอนิกส์ ของ บลจ. หรือช่องทางอื่นใดที่ บลจ.จะแจ้งให้ทราบภายหลัง ทั้งนี้ บลจ.จะยึดถือข้อมูลในแบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนล่าสุดเพื่อใช้ประเมินระดับความเสี่ยงของผู้ถือหน่วยลงทุน 

ข้อกำหนด และ เงื่อนไข : 
สำหรับคำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าผ่านระบบรับคำสั่งปกติ: บลจ.ขอสงวนสิทธิ์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าสำหรับกองทุนใดตามใบ (หรือการส่งผ่านระบบ) คำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าสำหรับกองทุนใด โดย บลจ. ไม่ต้องแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้า หากระดับความเสี่ยงของกองทุนนั้น สูงกว่าระดับความเสี่ยงที่คำนวณได้จากการประมวลข้อมูลระดับความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนตามแบบประเมินนี้หรือตามแบบประเมินล่าสุดของผู้ถือหน่วยที่อาจมีการจัดทำขึ้นในอนาคต (ยกเว้น กรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ยืนยันการยอมรับความเสี่ยงดังกล่าว เป็นคราวๆไป หรือยกเว้นกรณีที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตตามที่ บลจ. เห็นสมควรภายใต้กฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต) 

สำหรับคำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าซึ่งอยู่ในบริการวางแผนการลงทุนอัตโนมัติ (AIP):
บลจ.ขอสงวนสิทธิ์ไม่ดำเนินการตามคำสั่งซื้อ/สับเปลี่ยนเข้าสำหรับกองทุนใด ตามที่ระบุไว้ในแผนการลงทุนอัตโนมัติ(AIP)โดย บลจ. ไม่ต้องแจ้งให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทราบล่วงหน้า หากระดับความเสี่ยงของกองทุนนั้นสูงกว่าระดับความเสี่ยงที่คำนวณได้จากการประมวลข้อมูลระดับความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ถือหน่วยลงทุนตามแบบประเมินนี้หรือตามแบบประเมินล่าสุดของผู้ถือหน่วยที่อาจมีการจัดทำขึ้นในอนาคต (ยกเว้น กรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ยืนยันการยอมรับความเสี่ยงดังกล่าว และให้ข้อยกเว้นดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปสำหรับแผนการลงทุนนั้นจนกระทั่งมีการปรับแผนการลงทุนใหม่หรือมีการประมวลข้อมูลระดับความเสี่ยงตามแบบประเมินครั้งใหม่ของผู้ถือหน่วย หรือยกเว้นกรณีที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตตามที่ บลจ. เห็นสมควรภายใต้กฎเกณฑ์ของหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต) 
แบบประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุนนี้มีผลใช้กับเฉพาะบัญชีของผู้ถือหน่วยลงทุนภายใต้การจัดการของบลจ.ที่ทำรายการผ่านตัวแทนขาย ซึ่งเป็นพนักงานขาย หรือตัวแทนขายอิสระ ของ บลจ. หรือผ่านบริการทางอิเล็คทรอนิกส์ ของ บลจ. เท่านั้น แต่ไม่รวมการทำรายการผ่านผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนรายอื่น ซึ่งผู้ถือหน่วยต้องกรอกแบบการประเมินการลงทุนชุดที่จัดทำโดยผู้สนับสนุนการขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้นๆ เอง 
ผู้ถือหน่วยลงทุนรับทราบและตกลงว่า ผู้ถือหน่วยลงทุนมีหน้าที่จะต้องทบทวนข้อมูลในแบบประเมินการลงทุนให้เป็นปัจจุบันตามรอบระยะเวลาที่สำนักงาน ก.ล.ต./ บลจ. และ/หรือหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้องกำหนด รวมถึงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต 

ในกรณีที่ครบรอบระยะเวลาการทบทวนข้อมูลในแบบประเมินการลงทุนดังกล่าวข้างต้น หาก บลจ. มิได้รับข้อมูลในแบบประเมินในรอบใหม่จากผู้ถือหน่วยลงทุนในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนตกลงและยินยอมให้ บลจ. ถือเอาข้อมูลของผู้ถือหน่วยลงทุนที่ปรากฏตามแบบประเมินการลงทุนครั้งล่าสุดที่อยู่ในระบบเป็นข้อมูลปัจจุบันของผู้ถือหน่วยลงทุน โดยมีผลบังคับใช้จนถึงเวลาที่ บลจ. ได้รับข้อมูลในแบบประเมินใหม่และนำเข้าบันทึกในระบบแล้ว