4 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นถือเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ดีและน่าสนใจ เพราะเป็นการเก็บเงินไปในตัวและเป็นการลงทุนระยะยาวเพื่อนำไปใช้ในชีวิตวัยเกษียณ ซึ่งนอกจากเราหักเงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแต่ละเดือน ทางบริษัทก็จะมีการสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้เราด้วย ซึ่งนโยบายการสมทบเป็นไปตามแต่ละบริษัท วันนี้ทางบลจ. พรินซิเพิล มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแนะนำให้รู้จัก
เรื่องที่ 1 เงินสมทบจากนายจ้างและเงื่อนไขการจ่ายเงินสมทบเป็นเรื่องที่ควรรู้
เนื่องจากกฏหมายอนุญาตให้นายจ้างกำหนดอัตราเงินสมทบที่ให้กับสมาชิกได้ตั้งแต่ 2–15% ดังนั้นสมาชิกกองทุนควรศึกษารายละเอียดส่วนนี้ให้ดี เพราะนายจ้างบางรายจะเลือกสมทบเงินเข้ากองทุนในอัตราที่เท่ากับสมาชิก นั่นหมายความว่า ถ้าเราสะสมมาก นายจ้างจะสมทบมากตามไปด้วย หรือนายจ้างอาจเลือกปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบตามอายุงานของสมาชิกก็ได้ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่านายจ้างจะสมทบเงินเข้ามาให้ทุกเดือน แต่ไม่ได้หมายความว่าเวลาเราออกจากกองทุนแล้วเราจะได้เงินสมทบจากนายจ้างไปทั้งหมดเสมอไป นายจ้างสามารถกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเงินสมทบเวลาเราออกจากกองทุนได้ด้วย เช่น ถ้าสมาชิกออกจากกองทุนโดยไม่ออกจากงาน นายจ้างอาจกำหนดว่าไม่ให้เงินสมทบเลย หรือกำหนดด้วยการนับอายุการทำงาน ยิ่งทำงานมานาน เวลาออกจากงานก็อาจได้เงินสมทบมาก เป็นต้น
เรื่องที่ 2 เลือกแผนการลงทุนที่เหมาะกับตัวเอง
เมื่อเราทราบแล้วว่าจะสะสมเงินเข้ากองทุนเดือนละเท่าไหร่ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เพิ่มโอกาสการมีผลต่อการงอกเงยของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็คือ การเลือกแผนการลงทุ ก็คือ การเลือกแผนการลงทุน สมาชิกส่วนมากมักคิดไม่ตกว่าจะแผนการลงทุนไหนเหมาะกับตัวเองดี และอาจตัดสินใจเลือกแผนที่มีความเสี่ยงต่ำสุดไปเพราะกลัวผลตอบแทนจะติดลบ หรือไม่ก็เลือกตามเพื่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะคนส่วนใหญ่เมื่อเลือกแผนการลงทุนแล้ว ใช้เวลาอีกหลายปีถึงจะกลับมาคิดปรับเปลี่ยนแผนอีกที ยิ่งคนที่เลือกแผนตามหัวหน้าด้วยแล้ว ถ้าหัวหน้าใกล้เกษียณหรือเป็นคนที่ Conservative มาก เราอาจจะลงเอยด้วยแผนเสี่ยงต่ำ ซึ่งไม่เหมาะกับสมาชิกวัยละอ่อนที่มีเวลาลงทุนให้เงินงอกเงยมากๆเลย
ซึ่ง บลจ. พรินซิเพิล เอง ก็เข้าใจปัญหาตรงนี้เป็นอย่างมาก จึงได้มีการออกแบบ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ (Principal Target Date Fund)” เพื่อตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาของนักลงทุนอย่างครบวงจร
“กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ (Principal Target Date Fund)” ออกแบบให้มีการปรับพอร์ตแบบอัตโนมัติตามอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นก็จะลดสัดส่วนในการลงทุนสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นลง และมาลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้น ก็จะช่วยทำให้สมาชิกกองทุนมีระดับความเสี่ยงการลงทุนที่เหมาะสมตลอดอายุการลงทุน นอกจากนี้ ยังเน้นการกระจายการลงทุนไปในหลายสินทรัพย์ เพื่อให้กองทุนมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี และลดความเสี่ยงให้กับพอร์ตด้วย
ก่อนตัดสินใจเลือกอัตราเงินสะสมและแผนการลงทุน สมาชิกควรได้มีโอกาสดูว่า อัตราที่สะสมและแผนที่จะเลือกลงทุนจะช่วยส่งผลให้เรามีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในวันเกษียณสักเท่าใด บลจ.พรินซิเพิล มีบริการ Plan WISE Retire WELL ที่จะช่วยทำให้ทุกคนสามารถประมาณการเงินเกษียณของตัวเองได้ พร้อมกับคำนวณ Retirement Wellness score หรือ Replacement ratio ของสมาชิกให้ด้วย เพียงกรอกข้อมูลก็รู้ผลโดยทันทีว่า ณ วันเกษียณเราจะมีเงินเท่าไหร่ เพียงพอหรือไม่ แล้วถ้าเกิดไม่เพียงพอขึ้นมา ก็สามารถลองปรับเปลี่ยนจำนวนเงินสะสม รวมนโยบายการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าจะทำอย่างไรถึงจะสามารถเกษียณได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดูข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ บลจ. พรินซิเพิล ได้ ที่นี่
เรื่องที่ 3 การลดหย่อนภาษีเมื่อนับรวมประกันชีวิตแบบบำนาญ SSF และ RMF ห้ามเกิน 500,000 บาท
เหตุผลที่ต้องระวังเรื่องของ “การลดหย่อนภาษี” เพราะการหักเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำจำนวนเงินดังกล่าวไปลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากรได้ โดยเงื่อนไข คือ สามารถลดหย่อนได้ตามจริง “แต่เมื่อนับรวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญ กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุนเพื่อการออม (SSF) ห้ามเกิน 500,000 บาท”
เรื่องที่ 4 เมื่อลาออกจากบริษัท อย่าลืมจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างเหมาะสม
การโยกย้ายงานก่อนวัยเกษียณอายุถือว่าเป็นเรื่องปกติ ที่หลายคนจะทำเพื่อหาความท้าทายและความก้าวหน้าในชีวิตที่มากขึ้น แต่หลาย ๆ คนกับจัดการกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไม่เหมาะสมทำให้มีผลเสียตามมา โดยทั่วไปแล้วเมื่อเราลาออกจากบริษัทเดิม เราก็สามารถจัดเก็บเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ 4 วิธีหลัก ได้แก่
1. ฝากไปกับที่ทำงานเดิมลงทุนต่อไป เสมือนเป็นสมาชิกคนหนึ่งในกองทุนต่อไป
2. ย้ายไปลงทุนต่อกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่
3. ย้ายไปลงทุนต่อกับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF for PVD)
4. นำเงินออกมาทั้งหมด และอย่าลืมนำเงินไปลงทุนต่อเอง
แนะนำหัวข้อที่น่าสนใจ
วางแผนลดหย่อนภาษี ปี 2566 กองทุน SSF RMF
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.principal.th/ หรือโทร 02 686 9500 กด 1
คำเตือน:
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน /ของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ก่อนการตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / เครื่องมือหรือโปรแกรมคำนวณ Plan WISE Retire WELL เป็นเพียงตัวเลขจำลองการลงทุน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดเป้าหมายเท่านั้น ไม่ใช่การรับประกันผลตอบแทนในอนาคต