สถานการณ์ตลาดตราสารหนี้

จากสถานการณ์ความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลก ส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้ได้รับผลกระทบต่อมูลค่าหน่วยลงทุน อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สมาคมธนาคารไทย และ สมาคมหลักทัรพย์จัดการลงทุนได้ร่วมกันออกมาแถลงข่าวเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยสรุปใหม่มาตรการเสริมสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้ เพื่อให้ตลาดกลับมาทำงานได้อย่างปกติ

หนึ่งในสามมาตรการคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งกลไกพิเศษเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่กองทุนรวมผ่านธนาคารพาณิชย์ โดย ธนาคารพาณิชย์ที่เข้าซื้อหน่วยลงทุนจากกองทุนรวมตลาดเงิน (Money Market Fund) และกองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็นกองทุนเปิด (Daily Fixed Income Fund) ที่ถือสินทรัพย์คุณภาพดีแต่ได้ร้บผลกระทบจากการที่ตลาดเงินขาดสภาพคล่อง สามารถน าหน่วยลงทุนดังกล่าวมาวางเป็น หลักประกัน เพ่อืขอสภาพคล่องจาก ธปท.ได้ โดยจะด าเนินการจนกว่าสถานการณ์ในตลาดการเงินจะเข้าสู่ภาวะปกติ จากการประมาณการ เบื้องต้นพบว่ามีกองทุนรวมตราสารหนี้มีสินทรัพย์คุณภาพดดีที่สามารถนำมาวางเป็นหลักประกัน เพื่อขอสภาพคล่องจาก ธปท.ได้มูลค่ารวมกว่าหนึ่งล้านล้านบาท

จากการติดตามภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด พบว่าในช่วงวันที่ 23 – 26 มี.ค. ตลาดตราสารหนี้ไทยมียอดซื้อสุทธิจากบริษัทจัดการกองทุน มากกว่า 17,000 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มี.ค. 2563 เวลา 17:30น.) ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ในเบื้องต้นว่า มาตรการส่งเสริมสภาพคล่องข้างต้นได้ผล ในระดับหนึ่ง และไม่มีผลกระทบต่อกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ. พรินซิเพิล

กองทุนตราสารหนี้ของ บลจ. พรินซิเพิล
บลจ. พรินซิเพิล ขอยืนยันพอร์ตการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ.พรินซิเพิลมีนโยบายลงทุนดังนี้

  • ลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงสูง โดยลงทุนในเงินฝากธนาคารและตราสารหนี้ภาครัฐ
  • ลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนในระดับ Investment Grade
  • ไม่มีการลงทุนในตราสารที่ไม่มีอันดับเครดติ (Non-rated Bonds)
  • ไม่มีการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ
  • การจัดการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

บลจ.พรินซิเพิล มีการจัดสรรและกระจายพอร์ตการลงทุนไปในตราสารหนี้หลากหลายประเภท และเน้นความสำคัญในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเครดิตก่อนการลงทุน เพื่อคัดเลือกลงทุนในตราสารหนี้เอกชนที่มีคีวามมั่นคงสูงในการลงทุน โดยตราสารหนี้ภาคเอกชนจะต้องได้รับการ อนุมัติจากคณะกรรมการลงทุน (Investment Committee) ก่อนการลงทุนทุกครั้ง นอกจากนี้ภายหลังจากลงทุนที่มีผู้จัดการกองทุนจะทำงาน ร่วมกับที่มีบริหารความเสี่ยง เพื่อทบทวนความเสี่ยงด้านเครดิตโดยจัดทำเป็น Internal Credit Scoring ทุก 3 เดอืน เพื่อติดตามสถานการณ์และความสามารถในการชำระหนี้อย่างใกล้ชิด

การสนับสนุนของ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
บลจ. พรินซิเพิลมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด และได้รับการสนับสนุนจาก ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ในการบริหารจัดการ สภาพคล่องของกองทุนตราสารหนี้ ดังนั้น ด้วยการสนับสนุนจากธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย  มาตรการที่เข้มแข็งของภาครัฐ และการบรหิารจัดการ กองทุนอย่างรอบคอบและระมัดระวังเพื่อประโยชน์สูงสุดของท่านนักลงทุน จึงขอให้ท่านผู้ลงทุนมีความมั่นใจในการบริหารจัดการกองทุนในภาวะ ผันผวนเช่นนี้ 
 

อ่านฉบับเต็มที่นี่

 

ลงทุนทำความเข้าใจลักษณะสินค้า(กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน