ภาพรวมการลงทุนประจำเดือน กรกฎาคม 2565

Principal Fund Update

ตารางสรุปการเปลี่ยนแปลงของดัชนีหลัก

Cio's view

Cio's view ภาพรวมการลงทุนในเดือนมิถุนายน 2565

ตลาดได้เผชิญกับแรงขายอย่างมีนัย ด้วยปัจจัยกดดันในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อระดับสูง ซึ่งถูกกระตุ้นโดยทั้งในส่วนของการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและราคาอาหาร สาเหตุหลักคือวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็น
ผู้ส่งออกน้ำมันและอาหารหลักของโลก เช่นเดียวกับทิศทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก เร่งตัวนำโดยทางฝั่งสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลต่อความกังวลต่อการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)

Cio's view   ตลาดหุ้นสหรัฐ ดัชนี S&P500 Index ปรับตัวลดลง 8.39% ในเดือน มิ.ย. และลดลง 20.58%  สำหรับครึ่งปีแรก โดยสำหรับอัตราเงินเฟ้อ PCE ปรับตัวขึ้น  6.3% ในเดือน พ.ค. และธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือน มิ.ย. 2565 0.75% ซึ่งถือว่าเป็นการขึ้นในระดับสูงสุดในรอบเกือบ 30 ปี

Cio's view   ตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX Europe 600 Index ปรับตัวลดลง 8.15% ในเดือน มิ.ย. และลดลง 16.52%  สำหรับครึ่งปีแรก โดยทางยุโรปได้เผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อเช่นกัน โดยเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น 8.1% ในเดือนพฤษภาคม ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ตัดสินใจจะหยุดการซื้อพันธบัตรภายใต้โครงการ Asset Purchase Program (APP) ในวันที่ 1 ก.ค. 2565 และ ส่งสัญญาณว่าจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในเดือน ก.ค. 2565

Cio's view   ตลาดหุ้นจีน ดัชนี CSI300 Index ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.62% ในเดือน มิ.ย. แต่ยังลดลง 9.22% สำหรับครึ่งปีแรก โดยตลาดหุ้นจีนปรับตัว ดีขึ้นจากสถานการณ์คลายล็อคดาวน์ และความคาดหวังต่อเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวในลำดับถัดไป รัฐบาลจีนมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านทางนโยบายการเงินและการคลัง รวมถึงมีท่าทีผ่อนปรนต่อกฎเกณฑ์
การควบคุมกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น

Cio's view   ตลาดหุ้นไทย ดัชนี SET Index ปรับตัวลดลง 5.72% ในเดือน มิ.ย. และลดลง 5.39%  สำหรับครึ่งปีแรก ซึ่งปรับตัวลงน้อยกว่าทางฝั่งตลาดสหรัฐฯ ยุโรป และจีน เนื่องจากการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากยิ่งขึ้นหลังตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง อย่างไรก็ดี สำหรับเดือน มิ.ย. ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติเนื่องจากค่าเงินบาทไทยมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง โดย กนง. มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งภายในปีนี้

Cio's view  ตลาดหุ้นเวียดนาม ดัชนี VN Index ปรับตัวลดลง 7.36% ในเดือน มิ.ย. และลดลง 20.07%  สำหรับครึ่งปีแรก โดยปัจจัยลบจากภาพรวมต่างประเทศ กดดันนักลงทุนรายย่อย ส่งผลสภาพคล่องในตลาดลดลง โดยในช่วงต้นปีมีประเด็นลบการจับกุมผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียนและมาร์จิ้นคอล ขณะที่ตัวเลขเศรฐกิจของประเทศยังคงแข็งแกร่ง

Cio's view   ตราสารหนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2565 ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง มาอยู่ที่ประมาณ 2.96% ตามความกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นตามมาที่ประมาณ 2.81%

Cio's view   ทรัพย์สินทางเลือก REIT จะแปรผกผันกับอัตราดอกเบี้ย โดยการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงเร่งตัวขึ้น จะกดดันส่วนต่างระหว่างอัตราเงินปันผลและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลแคบลง ส่วนราคาทองคำ spot ปรับตัวลงเล็กน้อย 1.64% ในเดือน มิ.ย. โดยเคลื่อนไหวผันผวนจากปัจจัยกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อ

Cio's view    มุมมองการลงทุนเดือนกรกฎาคม 2565

ตลาดการลงทุนน่าจะยังคงมีความผันผวนต่อเนื่องในเดือน ก.ค. หลักๆจากประเด็นเรื่องอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก และการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางเพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับสูงแต่มีความผันผวนตามภาพรวมเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง โดยปัจจัยขับเคลื่อนราคาน้ำมันดิบ คาดว่าจะมาจากการเปิดประเทศของจีนและความต้องการน้ำมันในช่วงซัมเมอร์ของสหรัฐฯ ขณะที่ทางประเทศแถบยุโรปกำลังประสบปัญหาพลังงานจากนโยบายลดการพึ่งพาพลังงานจากรัสเซีย จับตาดูการประกาศอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ สำหรับเดือน มิ.ย. และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือน ก.ค. นี้

Cio's view   กลยุทธ์การลงทุน

สำหรับไตรมาส 3 2565 ทางทีม Investment Strategy ยังคงมีมุมมองการลงทุนแบบระมัดระวังเนื่องจากปัจจัยมหภาคยังคงกดดันภาพรวมตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนอัตราเงินเฟ้อระดับสูง และการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก ส่งผลให้ตลาดยังมีความอ่อนไหวและขาดความเชื่อมั่น กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ได้แก่ 1) มุ่งเน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่เป็น Quality Growth หรือสินทรัพย์ที่มีการเติบโตในระดับปานกลางแต่มีความมั่นคงของธุรกิจและรายได้เพื่อรองรับความเสี่ยงหรือความผันผวนจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ 2) เลือกลงทุนในสินทรัพย์ประเภทที่มีความผันผวนต่ำ บริษัทขนาดใหญ่หรือมีขนาดมูลค่าตลาดสูง น่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับตลาดในช่วงนี้ และ 3) กระจายการลงทุนไปในหลากหลายสินทรัพย์และหลากหลายประเทศ จะเป็นการช่วยสร้างพอร์ตการลงทุนที่ช่วยควบคุมความเสี่ยงและรับผลตอบแทนที่เหมาะสม

Cio's view   กองทุนแนะนำ

กองทุนแรกที่เราแนะนำ คือ กองทุนเปิด พรินซิเพิล โกลบอล มัลติ แอสเซท ( PRINCIPAL GMA) ซึ่งจะเป็นกองทุนผสมที่มีการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์และประเทศ ตอบโจทย์กับตลาดที่มี ความผันผวนในปัจจุบัน ผู้จัดการกองทุนสามารถปรับน้ำหนักในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับสภาวะการลงทุนในแต่ละช่วง โดยกองทุนจะได้รับคำแนะนำจาก Principal Global Investor ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนระดับโลก ที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลกมายาวนาน กองทุนมีเป้าหมายจัดสรรน้ำหนักในตราสารทุนประมาณ 70% และตราสารหนี้ 30% โดยจะลงทุนผ่านกองทุนรวม และ/หรือ กองทุน Exchange Traded Fund (ETF) ต่างประเทศ ทั้งในส่วนของหุ้น ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารแห่งหนี้และ/หรือเงินฝาก หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (หน่วย Property) หน่วยทรัสต์ของทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) หน่วยลงทุนกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (หน่วย Infra)

กองทุนที่สอง คือ กองทุนเปิดพรินซิเพิล เอเชีย แปซิฟิก ไดนามิก อินคัม อิควิตี้ (PRINCIPAL APDI) ลงทุนผ่าน Master Fund ชื่อ Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund ซึ่งจะเลือกลงทุนในหุ้นทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่มีคุณภาพและศักยภาพในการเติบโตตามการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยจะเน้นลงทุนบริษัทที่อยู่ในธีมการลงทุนที่เป็น Megatrend ของโลก เช่น Green Policies, E-commerce, Cloud computing และ Internet of things กองทุนมีสไตล์การบริหารแบบ Dynamic สามารถปรับเปลี่ยนการลงทุนไปยังอุตสาหกรรม หรือประเทศที่สนใจได้ตลอดเวลา นอกจากนั้น ล่าสุดมีน้ำหนักในหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่และจีนในฮ่องกงรวมกันประมาณ 30% ซึ่งน่าจะได้รับประโยชน์จากการที่เศรษฐกิจจีนกำลังฟื้นตัวจากการคลายล๊อกดาวน์

กองทุนที่สาม คือ กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ (PRINCIPAL VNEQ) มุ่งเน้นการลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามหรือมีธุรกิจหลักในประเทศเวียดนามที่มีขนาดใหญ่และเชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคตล้อตามกับเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟตราสารทุนต่างประเทศ ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนประเทศเวียดนาม โดยเศรษฐกิจเวียดนาม
มีโอกาสเติบโต ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่บริษัทจดทะเบียนฯ มีแนวโน้มการเติบโตของกำไร  อยู่ที่ระดับ 18-20% ปี 2565-2566 (Source: Bloomberg, data as of 27 June 2022)  โดยผู้จัดการกองทุนมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในตลาดหุ้นเวียดนาม และจะมีวิธีการคัดสรรหุ้นแบบ Bottom-Up และทำการเยี่ยมชมบริษัทที่ลงทุนอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี

อ่าน Monthly Report ประจำเดือน กรกฎาคม ที่นี่