Principal Monthly Report ประจำเดือน พฤษภาคม 2567

 

Image
Image

 

Image

 

ในช่วงเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)  ส่งสัญญาณว่าอาจมีการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงนานขึ้น (Higher for longer) หลังตัวเลขเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 3% ต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Bond yield) สหรัฐฯ รวมถึงประเทศไทยปรับสูงขึ้น และทำให้ราคากองทุนตราสารหนี้ปรับตัวลดลง และจาก Bond Yield ที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ยังทำให้ราคา REITs จึงมีการปรับลงในช่วงที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามจากการประชุม Fed ล่าสุดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังคงมีอยู่ในปีนี้ แม้ยังไม่สามารถระบุเวลาได้แน่ชัด นอกจากนี้แล้วสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลาง ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวน นักลงทุนส่วนใหญ่ย้ายเงินลงทุนจากสินทรัพย์เสี่ยงไปยังสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe haven)  เช่น ทองคำ และสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มากขึ้น ทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและชายขอบที่เงินอ่อนค่ามาก ตลาดหุ้นของประเทศเหล่านี้จึงปรับตัวลงมากกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วยกเว้นประเทศจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นหลังปรับตัวลดลงอย่างมากในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้บลจ.พรินซิเพิลมีมุมมองเป็นบวกกับตลาดหุ้นไทยและจีนมากขึ้นหลังโครงการดิจิทัลวอลเล็ตมีความชัดเจนมากขึ้นและ sentiment ที่ดูดีขึ้นสำหรับตลาดหุ้นจีน

ตราสารหนี้: ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ (Bond Yield) อายุ 2 ปี และ 10 ปี เดือน เม.ย.ปรับขึ้นสูง โดยปรับขึ้น 0.42% และ 0.48% เมื่อเทียบจากเดือนก่อน (MoM) ตามลำดับ หลังเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ได้กล่าวไว้ในช่วงกลางเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาว่า Fed อาจมีการคงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงนานขึ้น (Higher-for-longer) หลังต้องการความมั่นใจมากกว่านี้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถรับลดลงในระดับที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจทั้งอัตราเงินเฟ้อ อัตราการจ้างงานยังออกมาร้อนแรง ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า Fed อาจมีการปรับลดดอกเบี้ยในปี 2567 ไม่เกิน 2 ครั้ง โดยครั้งแรกน่าจะเกิดในเกิดขึ้นในการประชุมเดือนก.ย. ขณะที่ Bond Yield พันธบัตรรัฐบาลไทยทุกช่วงอายุปรับสูงขึ้น สอดคล้องกับตลาดโลก และเป็นไปตามความคาดหวังของตลาดที่คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (BoT) จะไม่มีการลดดอกเบี้ยในปีนี้ หลังการเติบโตทางเศรษฐกิจมีโอกาสปรับสูงขึ้นได้จากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต


ตลาดหุ้นสหรัฐฯ: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เดือน เม.ย. มีการปรับฐานหลังปรับขึ้นติดต่อกันตั้งแต่เดือนพ.ย. 2566  โดยดัชนี S&P 500 ปรับลดลง 4.16% และดัชนี NASDAQ ปรับลดลง 4.41% สาเหตุหลักมาจากประธาน Fed เจอโรม พาวเวลล์ได้ส่งสัญญาณว่าเจ้าหน้าที่ Fed จะเลื่อนการลดอัตราดอกเบี้ยออกไป หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ (CPI) ในเดือนมี.ค. ยังอยู่เหนือระดับเป้าหมายของ Fed และมากกว่าการคาดการณ์ โดย CPI ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้น 3.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (YoY) และ 0.4% MoM สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ 3.4% YoY และ 0.3% MoM ตามลำดับ จากปัจจัยหลัก ๆ เช่น ค่าเช่าที่อยู่อาศัย และค่าประกันภัยรถยนต์ นอกจากนี้จากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางระหว่างอิสราเอลและอิหร่านก็สร้างความผันผวนให้ตลาดด้วยเช่นเดียวกัน โดยในเดือนที่ผ่านมาเราได้แนะนำขายทำกำไรบางส่วนหุ้นโลกกลุ่มเติบโตสูง (Large-cap growth) และย้ายมาสร้างโอกาสในตลาดหุ้นไทยที่มีแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ต


ตลาดหุ้นยุโรป: ดัชนี STOXX Europe 600 เดือน เม.ย. ปรับตัวลดลงเช่นกันตามหุ้นสหรัฐที่         -1.52% อย่างไรก็ตาม ประธาน ECB คุณคริสติน ลาการ์ดยังคงให้ความชัดเจนว่า ECB จะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน มิ.ย. เหมือนเดิม และจะจับตาดูผลกระทบของราคาน้ำมันจากผลของความขัดแย้งในตะวันออกกลาง แต่จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่าผลกระทบจะจำกัด นอกจากนี้ เงินเฟ้อ (CPI) เดือนมี.ค. ของ Eurozone ก็ค่อย ๆ ปรับลดลงสู่ 2.4% YoY เท่ากับที่ตลาดคาดการณ์ และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 2.6% YoY ส่งผลให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดน้อยลง อย่างไรก็ตามตัวเลขเศรษฐกิจของ Eurozone ยังไม่ฟื้นตัวดีคือ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.พ. อยู่ที่ -6.4% ติดลบมากกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ -5.5% 


ตลาดหุ้นญี่ปุ่น: ดัชนี Nikkei 225 เดือน เม.ย. ปรับตัวลงค่อนข้างแรง อยู่ที่ -4.86% จากปัจจัยด้าน sentiment รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core CPI) เดือนมีนาคม ที่ถึงแม้ว่าจะปรับตัวลงเมื่อเทียบเป็นรายปี แต่เมื่อเทียบเป็นรายเดือนกลับปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนจับตาถึงการประชุมของ BOJ ว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องหรือไม่ โดยในการประชุม BOJ ช่วงปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ทาง BOJ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ 0.1% ทั้งนี้ทาง บลจ.ยังคงมีมุมมอง Neutral ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจากในระยะสั้นอาจมีแนวโน้มปรับตัวลงจากตลาดหุ้นทั่วโลกปรับฐาน ตาม sentiment ความกังวลความขัดแย้งที่ลุกลามบานปลายในภูมิภาคตะวันออกกลาง 


ตลาดหุ้นเกาหลีใต้: ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ปรับตัวลง -1.99% จากเดือนมี.ค. หลังนักลงทุนรายย่อยกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองหลังสิ้นสุดการเลิอกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยพรรคฝ่ายค้าน (พรรค DP) ได้พลิกมาชนะการเลือกตั้ง และมีที่นั่งในรัฐสภามากกว่าพรรครัฐบาล (พรรค PPP) ในปัจจุบัน ในขณะที่รัฐบาล PPP ยังมีวาระบริหารงานอยู่อีกประมาณ 3 ปี จนถึงปี 2027 จึงมีความกังวลว่านโยบายที่พรรค PPP จะเสนอในสภาจะถูกปัดตกจากการที่ตนเองเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย นอกจากนั้นตลาดหุ้นยังปรับลดลง จากความต้องการที่น้อยลงของ Smart phone และ Laptop ทั่วโลก กระทบต่อรายได้ของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่มีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 5 ของดัชนี KOSPI โดยเฉพาะบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์และ หน่วยความจำอย่าง Samsung Electronics 
หน่วยความจำอย่าง Samsung Electronics และ SK Hynix ธนาคารกลางเกาหลีใต้ยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 3.5% เช่นเดิม ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี GDP ไตรมาส 1/2567 สูงขึ้น 3.4% YoY (ตลาดคาดเพียง 2.5% YoY) ยอดค้าปลักปรับขึ้น 1.5% MoM การส่งออกปรับขึ้น 0.4% MoM

ตลาดหุ้นจีน: ตลาดหุ้นจีนปรับขึ้น 1.89% และตลาดหุ้นฮ่องกงปรับขึ้น 7.97% จากเดือนก่อน สวนทางกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ โดยนักลงทุนทั่วโลกได้เริ่มเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในประเทศจีนมากขึ้นหลังราคาหุ้นอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับช่วง 5 ปีที่ผ่านมา สาเหตุหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นจีนปรับเพิ่มขึ้นมาจากความคาดหวังว่าธนาคารกลางจีน (PBOC) จะมีการอัดฉีดเงินเข้าระบบ (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นผ่านการเข้าซื้อตราสารหนี้ในตลาดรอง โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจของจีนหลายตัวเดือนมี.ค.ออกมาดีกว่าที่คาด โดย GDP ไตรมาส 1/2567 สูงถึง 5.3% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 4.8% YoY ดัชนีราคาผู้จัดการ (PMI) ด้านการผลิต และ ด้านบริการแสดงถึงการเติบโตโดยอยู่ที่ 51.1 และ 53.0 จุด อย่างไรก็ตามการส่งออกปรับตัวลง 7.5% YoY 


ตลาดหุ้นไทย: SET Index ปรับลดลง -0.72% เช่นเดียวกับตลาดเกิดใหม่หลายประเทศทั่วโลก โดยการปรับลดลงมีสาเหตุมาจากที่ช่วงที่ผ่านมาบริษัทจดทะเบียนมีการจ่ายปันผลออกมามาก โดยอุตสาหกรรมที่เติบโตได้ช่วงเม.ย. คือกลุ่ม Defensive เช่น Healthcare หลังผลประกอบการปี 2566 ที่ประกาศออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดมาก กลุ่ม Tourism ที่ได้อานิสงค์จากเทศกาลสงกรานต์และงานคอนเสิร์ต และบริษัทด้านการส่งออกที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่ามาก ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยเดือนมี.ค.ส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน แต่มีโอกาสปรับตัวดีขึ้นจากการกระตุ้นการบริโภคในประเทศผ่านมาตรการดิจิทัลวอลเล็ตที่จะเริ่มในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567


ตลาดหุ้นเวียดนาม: VN Index ตกลงแรง -5.81% หลังปรับขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2567 จากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ สำหรับปัจจัยภายใน นักลงทุนมีความกังวลด้านเสถียรภาพทางการเมืองของเวียดนาม หลังมีกระแสข่าวว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งเป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดของประเทศในระยะเวลาอันใกล้ หลังผู้นำคนปัจจุบัน “เหงียน ฟู้ จ่อง” ซึ่งดำรงตำแหน่งมายาวนานจนปัจจุบันมีอายุมากถึง 80 ปีนั้นมีสุขภาพถดถอยลง อีกทั้งค่าเงินดอง (VND) ยังอ่อนค่ามากจากการที่ความต้องการดอลลาร์สหรัฐฯ มากขึ้น ในส่วนของปัจจัยภายนอกนั้นได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดระหว่างภูมิศาสตร์ในตะวันออกกลางเช่นเดียวกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ทั่วโลก ที่นักลงทุนมีการย้ายเงินลงทุนจากกลุ่มสินทรัพย์เสี่ยงไปกลุ่มสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven) เช่น ทองคำ หรือ สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ตัวเลขเศรษฐกิจของเวียดนามโดยรวมยังคงแข็งแกร่ง อัตราเงินเฟ้อเดือนมี.ค. อยู่ใกล้เคียงระดับเดิมที่ 3.97% YoY ในขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค.ปรับเพิ่มขึ้น 4.1% YoY เช่นเดียวกับการส่งออกเดือนมี.ค. ที่ปรับขึ้น 14.2% YoY สูงกว่าที่ตลาดคาดที่ 12.5% YoY การบริโภคในประเทศเดือนมี.ค.สูงถึง 9.2% YoY


สินทรัพย์ทางเลือก:ความกังวลเรื่องสงครามระหว่างอิหร่าน-อิสราเอล ส่งผลให้ราคาทองคำและราคาน้ำมันเดือนเม.ย.ปรับเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน 2.53% และ 0.43% ตามลำดับ ทั้งนี้ราคาทั้งสองสินทรัพย์เริ่มมีการปรับลดตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนหลังตลาดมองว่าสงครามจะอยู่ในพื้นที่จำกัด และหากมีแนวโน้มลุกลาม ประเทศมหาอำนาจทั้งสหรัฐฯ และตะวันออกกลางมีโอกาสเข้ามาแทรกแซงเพื่อบรรเทาสถานการณ์ลง กองทุนอสังหาริมทรัพย์และREITs ปรับตัวลดลงโดยเฉพาะกลุ่มทั่วโลก ซึ่งเป็นผลกระทบทางลบจากการชะลอการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed 
 

                                                  มุมมองการลงทุนรายสินทรัพย์​
 

Image
Image

 

เราคงมุมมอง Slightly OW ในกลุ่ม ตราสารหนี้ โดยเฉพาะตราสารหนี้ทั่วโลกประเภทInvestment grade ที่มีคุณภาพดี โดยจากการประชุม Fed ล่าสุด เห็นได้ว่า Fed คงความเป็นไปได้ต่อการลดดอกเบี้ยในปีนี้ แม้ว่าตลาดจะมองเกิดขึ้นแค่ 1 – 2 ครั้งก็ตาม ในขณะที่ ตราสารทุน เรายังมีมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้น หลังตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มปรับฐานในช่วงกลางเดือน เม.ย. อย่างไรก็ตามเรามีมุมมองเชิงบวกมากขึ้นกับตลาดหุ้นจีน หลัง sentiment โดยรวมของตลาดดูดีขึ้นอย่างมาก รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจก็ทยอยฟื้นตัว และ PBOC ก็พร้อมใช้นโยบายผ่อนคลายเพิ่มเติม โดยมีกองทุนแนะนำคือ PRINCIPAL CHEQ นอกจากนี้เรามีมุมมองบวกต่อตลาดหุ้นไทยมากขึ้นเช่นกัน จากปัจจัยบวกเฉพาะตัวคือ การอนุมัติของงบประมาณปี 2567 ซึ่งเริ่มเบิกจ่ายได้ในไตรมาสนี้ และโครงการ Digital Wallet ที่คาดว่าจะเริ่มในช่วงไตรมาส 4/2567 จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการบริโภคภายในประเทศได้โดยตรง กองทุนแนะนำคือ PRINCIPAL DEF และ PRINCIPAL iDIV เราคงมุมมอง Slightly OW ต่อตลาดหุ้นเวียดนาม และแนะนำใช้จังหวะที่ตลาดหุ้นปรับฐาน ทยอยสะสมเพิ่มสำหรับนักลงทุนที่ยังมีสัดส่วนไม่ตรงตามเป้าหมาย ผ่าน PRINCIPAL VNEQ เรามองว่าปัจจัยที่กระทบตลาดหุ้นเวียดนามเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว ทั้งพื้นฐานเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นยังคงแข็งแกร่ง

Image
Image

 

คำเตือน
ผู้ลงทุนควรทําความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
PRINCIPAL GREITs กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก 
PRINCIPAL GCF กองทุนนี้มีความเสี่ยงสูงและซับซ้อน ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ก่อนตัดสินใจลงทุน  
PRINCIPAL GCF เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงมากกว่ากองทุนรวมอื่น จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่มีความต้องการผลตอบแทนสูง และสามารถยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ มากกว่าผู้ลงทุนทั่วไป 
PRINCIPAL GREITs, PRINCIPAL GQE, PRINCIPAL GESG และ PRINCIPAL GCREDIT กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
PRINCIPAL GOPP กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในอเมริกาเหนือ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
PRINCIPAL GIF กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในยุโรป อังกฤษ และอเมริกาเหนือ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย 
PRINCIPAL CHEQ ลงทุนกระจุกตัวใน emerging markets ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย 
PRINCIPAL GESG มิได้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน การบริหารจัดการและการจัดทำรายงานของกองทุนรวมเช่นเดียวกับ SRI Fund 
PRINCIPAL VNEQ ลงทุนกระจุกตัวในประเทศเวียดนาม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
PRINCIPAL KEQ ลงทุนกระจุกตัวในประเทศเกาหลี ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย 
บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน 
กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้ 
ผู้ลงทุนควรศึกษาผลการดำเนินงานของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดของกองทุนในเว็บไซต์ของบลจ.  https://www.principal.th/th/mutual-fundth ก่อนตัดสินใจลงทุน 
ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต 

Image


คำเตือน : Principal Asset Allocation Plan เป็นบริการการแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนแบบการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ต่าง ๆ (Asset Allocation) ตามระดับความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ลงทุน โดยเป็นการพิจารณาและประเมินภาวะการลงทุน เพื่อการสร้างและปรับพอร์ตอย่างสมดุล และอาจจะพิจารณาและนำเสนอการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนหรือปรับพอร์ตลงทุนเป็นรายเดือน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพอร์ตการลงทุนมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและสอดรับกับภาวะการลงทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เปลี่ยนไปตามภาวะตลาดส่งผลให้สัดส่วนของแต่ละสินทรัพย์ที่ลงทุนมีการปรับเปลี่ยนไปจากสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม อาจทำให้พอร์ตการลงทุนมีความเสี่ยงสูงหรือต่ำไปกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้สัดส่วนการลงทุนเข้าสู่สัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม Principal Asset Allocation Plan เป็นเพียงคำแนะนำของ บริษัทจัดการ ผู้ลงทุนอาจ ไม่ได้รับผลตอบแทนตามคาดหวัง ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรทำความ เข้าใจการจัดสรรการลงทุน (Basic Asset Allocation) ตามคำแนะนำของสำนักงาน ก.ล.ต.
พอร์ตการลงทุนดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณการสัดส่วนการลงทุน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อลงทุนจริง ขึ้นอยู่กับสภาพตลาด การลงทุนและโอกาสการลงทุนในแต่ละขณะ ทั้งนี้ ประมาณการสัดส่วนการลงทุน ไม่ใช่การรับประกันหรือยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต/ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

คำอธิบายประกอบตารางมุมมองการลงทุนรายสินทรัพย์
OW ย่อมาจาก Overweight หมายถึง ให้น้ำหนักมากกว่าตัวเปรียบเทียบ (Benchmark)
UW ย่อมาจาก Underweight หมายถึง ให้น้ำหนักน้อยกว่าตัวเปรียบเทียบ (Benchmark)

คำอธิบายประกอบ Clients’ Portfolio Model 5 พอร์ตลงทุนแนะนำ 
สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “ปานกลางค่อนข้างสูง” แนะนำพอร์ตการลงทุน “Income” 
สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “สูง” ท่านสามารถลงทุนในพอร์ตการลงทุน “Income” และ “Balance”
สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “สูงมาก” ท่านสามารถลงทุนในพอร์ตการลงทุน “Income”, “Balance”, “Growth”, “Active Growth” และ “Global Growth”
ทั้งนี้หากท่านผู้ลงทุนมีความประสงค์จะลงทุนในพอร์ตลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าระดับความเสี่ยงการลงทุนของท่าน ท่านจะต้อง “ยืนยัน” รับทราบความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนที่ท่านได้เลือกลงทุน

คำอธิบายประกอบ Expected Return และ Return Volatility (ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนคาดการณ์ในระยะเวลา 3 ปี ข้างหน้า)
Expected Return และ Return Volatility หมายถึง อัตราผลตอบแทนและค่าความเสี่ยงคาดการณ์เฉลี่ยต่อปี สำหรับการลงทุนในระยะ 3 ปีข้างหน้า ซึ่งมาจากการศึกษาข้อมูล ในอดีตย้อนหลังเป็นฐานในการคำนวณ ดังนั้น ชุดข้อมูลดังกล่าว จึงมิได้ยืนยันถึงอัตราผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคต Expected Return และ Return Volatility คำนวณมาจาก อัตราผลตอบแทนและค่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริงในอดีตของตราสารทุนไทย ตราสารทุนต่างประเทศ และการลงทุนทางเลือกในกองทุนอสังหาริมทรัพย์และ REITs ผ่านดัชนีที่ใช้เป็นตัวแทนแต่ละสินทรัพย์ ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี (ตั้งแต่ มกราคม 2557 ถึง เมษายน 2567) ขณะที่ตราสารหนี้ไทย คำนวณมาจาก แนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากเส้นอัตราผลตอบแทนของตลาดตราสารหนี้ หรือ Bond Yield Curve

ดัชนีที่ใช้ในการคำนวณอัตราผลตอบแทนในอดีตของแต่ละ สินทรัพย์ ได้แก่
ตราสารหนี้ : ดัชนี GovBond 1-3Yrs NTR Index (50%) + MTMCorpA-up 1-3Yrs NTR Index (25%) + Avg12MFixed(BBL,KBANK,SCB) (25%)
ตราสารทุนต่างประเทศ : ดัชนี MSCI ACWI Total Return Index 
ตราสารทุนไทย : ดัชนี SET Total Return Index 
กองทุนอสังหาริมทรัพย์และ REITs : ดัชนี SET PF&REIT Total Return Index (50%) + ดัชนี FTSE ST Real Estate Investment Trusts Total Return Index (50%)

ผู้จัดทำ
ศุภจักร เอิบประสาทสุข – Head of Investment Strategy
ธเนศ เลิศเพชรพันธ์ – Investment Strategist
มินตรา จันทวิชชประภา – Investment Strategist
มนสิชา อุทิศชลานนท์ – Investment Strategist