“พลังงานสะอาด”...จุดเริ่มต้นของ ‘Mega Trend’ พลังงานยุคใหม่ของโลก !!! โดย สรวิศ อิ่มบำรุง

รู้หรือไม่?...มนุษย์กำลังอยู่ท่ามกลางยุค “Anthropocene” เป็นยุคที่การอาศัยอยู่ของมนุษย์ได้ทำให้ระบบนิเวศโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

หลังยุค “ปฏิวัติอุตสาหกรรม” ในปลายศตวรรษที่18 ได้นำโลกก้าวเข้าสู่การบริโภค ‘พลังงานจากฟอสซิล (พลังงานดั้งเดิม)’ ไม่ว่าจะเป็นปิโตรเลียม, ถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นแหล่งที่ปล่อย ‘ก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2)’ จำนวนมหาศาลและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด “ภาวะโลกร้อน”

นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบในวงกว้างตามมา จนปัญหาดังกล่าวได้ยกระดับขึ้นเป็น “วาระระดับโลก” ไปเรียบร้อยแล้ว

จากปัญหาต่างๆ ดังกล่าวนี้เอง ได้ก่อให้เกิดธีมการลงทุนใน “พลังงานสะอาด (Clean Energy)” ที่จะมาทดแทนพลังงานแบบดั้งเดิมที่ก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งกลายมาเป็นหนึ่งใน “Megatrends” แห่งอนาคตอีกธีมหนึ่งที่เกิดขึ้นมาในท่ามกลางวิกฤติโลกร้อนนี้

“คำตอบของปัญหานี้ คือ ‘พลังงานสะอาด (Clean Energy)’ เช่น พลังงานลม, พลังงานน้ำ, พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง, พลังงานคลื่น, พลังงานความร้อนใต้พิภพ หรือเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นต้น เพื่อทดแทนการใช้พลังงานแบบดั้งเดิมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั่นเอง”

xcx

ในอดีตการพัฒนา “พลังงานสะอาด” ต้องเผชิญกับอุปสรรคและแรงต้านต่างๆ แต่ด้วยแรงผลักดันที่สำคัญจาก 4 ด้าน เป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาแก้ไขอุปสรรคที่เคยเกิดขึ้นในอดีต (ที่มา: Blackrock as of Jan 2020) ได้แก่

         1.Regulatory Force: นโยบายภาครัฐสนับสนุนพลังงานสะอาด

         2.Technological Force: การลงทุนด้านพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ 2000s นำมาซึ่งประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

         3.Economic Force: ต้นทุนพลังงานสะอาดต่ำกว่าพลังงานดั้งเดิม โดยต้นทุนพลังงานแสงอาทิตย์ต่ำลงกว่า 52% ใน 5 ปีให้หลัง

         4.Social Force: สาธารณชนกังวลถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีการแสดงออกด้วยการประท้วงเพราะภัยพิบัติเกิดถี่ขึ้นและรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

“ย้อนหลังไปไม่ต้องไกลมากสัก 10 ปีก่อน ใครจะคิดว่าวันนี้ ‘รถยนต์ไฟฟ้า (EV)’ จะมาขายเชิงพาณิชย์และวิ่งอยู่บนถนนแล้ว และกำลังมีแนวโน้มการเติบโตอย่างรวดเร็ว ปัจจัยสำคัญก็มาจากการพัฒนาพลังงานสะอาดนั่นเอง ซึ่งสะท้อนถึงธีมหลักของโลกในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว”

 ต้นทุนการผลิตถูกลง-ความต้องการใช้ “พลังงานสะอาด” เติบโตก้าวกระโดด

“พลังงานสะอาด (Clean Energy)” นั้น ไม่ใช่กระแสตื่นตัวที่เพิ่งเกิดขึ้นหลัง “โจ ไบเดน” ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่46 แต่ประการใด หากแต่แนวโน้มนี้เกิดขึ้นมานานแล้วและมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง

“จนทำให้ต้นทุนผลิตพลังงานจาก ‘พลังงานสะอาด (Clean Energy)’ ถูกลงอย่างมีนัยสำคัญตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าขึ้น และมีการคาดการณ์ว่าในช่วง 50 ปี ข้างหน้า (ปี2000-2050) การใช้พลังงานสะอาดจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดทดแทนพลังงานแบบดั้งเดิมที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”

cx

หากดูแพลนกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าของสหรัฐล่าสุด ที่จะเพิ่มเข้ามาในปี2021 นั้น จากทั้งหมด 39.7 gigawatts (GW) จะมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ 39% (15.4 GW), พลังงานลม 31% (12.2 GW), ก๊าซธรรมชาติ 16% (6.6 GW), แบตเตอร์รี่ 11% (4.3 GW), นิวเคลียร์ 3% (1.1 GW) ที่เหลือเป็นอื่นๆ (ที่มา: U.S. Energy Information Administration)

“จะเห็นว่าแหล่งพลังงานที่จะเพิ่มเข้ามาในการผลิตไฟฟ้าในสหรัฐในปี2021 นั้น มาจากพลังงานสะอาดเกือบทั้งหมด และจะยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต หลังการเข้ามาของ ‘โจ ไบเดน’ ที่จะเข้ามาเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญในเรื่องนี้”

xde

 การใช้ “พลังงานสะอาด” เป็นเทรนด์ที่ได้รับการตอบรับและการสนับสนุนในระดับสากล ทั่วโลกได้ร่วมมือกันลดการปล่อย ‘ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)’ และสนับสนุนการลงทุนในพลังงานสะอาดเพื่อพัฒนาสภาพภูมิอากาศให้ดีขึ้น โดยได้รับแรงสนับสนุนในเป้าหมายระยะยาวจากเหล่าผู้นำโลก เช่น  “สหรัฐ” ภายใต้การนำของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้มีการกลับเข้ามาร่วมข้อตกลง “Paris Agreement” เพื่อที่จะจัดการกับปัญหาก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีการลงนามจาก 196 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส

ในส่วนของ “ยุโรป” ได้มีแผนนโยบายที่เรียกว่า European Green Deal โดยสนับสนุนให้สหภาพยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ โดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศมากกว่า 40% ภายในปี2030 และตั้งเป้าหมายในการลดคาร์บอนให้เหลือ 0% (Carbon neutrality) ภายในปี 2050

ด้าน “จีน” นั้น ได้แสดงจุดยืนและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 65% ภายในปี 2030 และผลักดันเป้าหมายใหม่ในการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อใช้ภายในประเทศให้ได้ในระยะยาว รวมทั้งตั้งเป้าลดคาร์บอนให้เหลือ 0% ในปี2060 อีกด้วย (ที่มา: Carbonbrief.org)


“ดังนั้น การลงทุนตั้งแต่ระยะแรกจะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มีความเข้มงวดและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นโอกาสของการลงทุนที่ช่วยให้พอร์ตการลงทุนมีโอกาสเติบโตในระยะยาวไปกับ Megatrend ใหญ่นี้ พร้อมดูแลปัญหาโลกร้อนไปพร้อมๆ กัน”

“กลุ่มพลังงาน” ในตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่เป็น ‘พลังงานดั้งเดิม’…โอกาส “พลังงานสะอาด” ยุคใหม่อยู่ต่างประเทศในตลาดโลก

ธีมพลังงานสะอาดน่าสนใจ ใน “ตลาดหุ้นไทย” มีมั้ย? คำตอบคือ “มี” แต่ “ไม่เพียงพอ” และยังไม่ตอบโจทย์การเป็นธีมพลังงานแห่งอนาคตให้กับคุณได้ ปัจจุบัน “กลุ่มพลังงาน” แม้จะมีน้ำหนักมากในดัชนีตลาดหุ้นไทยด้วยสัดส่วนประมาณ 22.68% ของ SET (ที่มา: BIZNEWS, วันที่ 17 มี.ค. 21) และมีน้ำหนัก 28% ใน SET50 (ที่มา: SET, ก.พ.21) ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นหุ้นพลังงานแบบดั้งเดิมเป็นสำคัญ เช่น ผลิตก๊าซธรรมชาติ หรือถ่านหิน เป็นต้น ที่เป็นพลังงานสะอาดยังมีสัดส่วนที่น้อย

“กองทุนที่ลงทุนในดัชนีกลุ่มพลังงานในไทยโดยเฉพาะก็มี แต่การตอบรับจากนักลงทุนไม่ดีเท่าไรนัก หากอ้างอิงผลตอบแทนโดยใช้ค่ากลางที่เปอร์เซ็นไทล์ที่50 (Percentile 50th) ของกลุ่มพลังงาน ย้อนหลัง 1 ปี -6.86% และย้อนหลัง 3 ปี 0.36% ต่อปี (ที่มา: aimc.or.th, วันที่ 31 ธ.ค. 21) ก็ไม่สู้ดีเท่าไร และเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ถ่วงทิศทางตลาดหุ้นไทยในภาพรวมในช่วงที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน”

xsa

ในขณะที่ความน่าสนใจของ “กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล คลีน เอ็นเนอร์จ (PRINCIPAL GCLEAN)” คือโอกาสเข้าไปลงทุนในหุ้นพลังงานสะอาดทั่วโลกซึ่งเป็น Mega Trend และเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่เพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของวงจรขาขึ้นเท่านั้น

โดยกองทุนมีนโยบายลงทุนในกองทุน “iShares Global Clean Energy UCITS ETF” ซึ่งเป็นกองทุนหลักนั้น มีสไตล์การบริหารที่เป็น Passive Management มีนโยบายมุ่งลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุนที่เป็นส่วนประกอบของ ‘ดัชนีS&P Global Clean Energy’ ซึ่งเป็นดัชนีเกณฑ์มาตรฐานของกองทุนนี้ โดยกองทุนตั้งใจที่จะจำลององค์ประกอบของดัชนีดังกล่าวโดยถือหลักทรัพย์ทั้งหมดที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีเกณฑ์มาตรฐานในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับการให้น้ำหนักในดัชนี ซึ่งทำให้แทรคการเคลื่อนไหวของดัชนีเทียบวัดได้เป็นอย่างดี

หากดูองค์ประกอบของพอร์ต (ที่มา: BlackRock, S&P, ม.ค.21) จะแบ่งเป็น 4 กลุ่มพลังงานหลักๆ ได้แก่

1. Global Utilities-Electric, Renewables           52%
2. Solar Equipment-Photovoltaic cell, Solar panels       22%
3. Wind Equipment-Turbine manufacturing, installation, servicing  8%
4. Other Renewables-Hydrogen Fuel cell, Biofuels 18%


“โดยมีการกระจายไปในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ Utilities 49%, Industrials 26%, IT 23% และ Energy อีก 2% อีกทั้งยังมีส่วนผสมของ “หุ้นใหญ่-กลาง-เล็ก” ที่ลงตัว จะเห็นว่าภาพของกลุ่ม ‘พลังงานสะอาด’ ในพอร์ตกองทุนหลักนั้น หน้าตาแตกต่างกันกับโครงสร้างกลุ่มพลังงานในตลาดหุ้นไทยอย่างสิ้นเชิง นั่นคือเหตุผลสำคัญประการหนึ่งว่าหากคุณมองหาโอกาสการลงทุนในธีมพลังงานแห่งอนาคตนี้ การกระจายไปลงทุนในต่างประเทศจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าอย่างปฏิเสธไม่ได้”

“พลังงานสะอาดยุคใหม่” ผลตอบทิ้งห่าง ‘ดัชนีพลังงานยุคเก่า’ อย่างชัดเจน

กระแสหลักในโลกการลงทุนที่หันมาให้ความสำคัญและใส่ใจในเรื่อง “การลงทุนอย่างยั่งยืน” โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) นั้น สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในหุ้นปกติได้จริง และธีม “พลังงานสะอาด” ก็เป็นหนึ่งในการลงทุนที่คำนึงถึงเรื่องดังกล่าวนี้ด้วยเช่นกัน

“จุดเด่น” ของ ‘ดัชนีS&P Global Clean Energy’ ซึ่งกองทุนหลักเข้าไปลงทุน คือกระบวนการคัดเลือกหุ้นที่มีการให้คะแนนบริษัทพลังงานสะอาด และมีการให้คะแนนบริษัทที่ปล่อย CO2 เข้ามาร่วมพิจารณาด้วย ซึ่งในปี2020 ที่ผ่านมา สามารถทำผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น 141% (เท่ากันกับดัชนีอ้างอิง S&P Global Clean Energy Index ที่ 141% และย้อนหลัง 3 ปี 48% ต่อปี ตำมลำดับ, ที่มา BlackRock, S&P ,31 Jan 2021)ในขณะที่ดัชนี S&P Energy Index และดัชนี MSCI World Energy ซึ่งเป็นพลังงานแบบดั้งเดิมนั้น ให้ผลตอบแทน -34% และ -32% ตามลำดับ (ภาพจะไม่ต่างกับกลุ่มพลังงานในตลาดหุ้นไทยแต่ประการใด)

ในขณะที่ผลตอบแทนของกองทุนหลักย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 48% ต่อปี ในขณะที่ดัชนี S&P Energy Index และดัชนี MSCI World Energy อยู่ที่ -15% ต่อปี และ -14% ต่อปีตามลำดับ

sd

มาดูตัวอย่างหุ้นในพอร์ตกันบ้าง “Plug Power” ผู้นำสัญชาติอเมริกันด้านการผลิตพลังงานสะอาดเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนไร้คาร์บอนไดออกไซด์และต่อยอดการประยุกต์ใช้ไปสู่เชิงพาณิชย์ ครอบคลุมการเดินทาง, การขนส่ง และศูนย์เก็บข้อมูล เป็นต้น โดยมีความร่วมมือกับพันธมิตรทั่วโลก เช่น DHL, IKEA, CARREFOUR, AMAZON, WALMART, BMW, และ GM เป็นต้น

หรือ “Meridian Energy” บริษัทสัญชาตินิวซีแลนด์ผู้ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด 100% จากลม, น้ำ และแสงอาทิตย์ เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในตลาดหลักทรัพย์นิวซีแลนด์ โดยมีรัฐบาลเป็นเจ้าของ 15% โดยให้บริการไฟฟ้าแก่ที่อยู่อาศัย, ภาคเกษตรกรรม, อุตสาหกรรม และพาณิชย์

หรือ “Siemens Gamesa Renewable Energy” ผู้นำด้านพลังงานสะอาดสัญชาติสเปน-เยอรมัน ผู้ผลิตและให้บริการกังหันลมทั้ง Onshore และ Offshore มีประสบการณ์มากกว่า 40 ปี มีพนักงานมากกว่า 25,000 คน มีสำนักงานกระจายทั่วโลกเพื่อให้บริการลูกค้ากว่าครึ่งโลก และยังเป็น Top 3 ส่วนแบ่งทางการตลาดในหลายประเทศอีกด้วย

หรือ “Xinyi Solar” ผู้นำโลกสัญชาติจีนด้านนวัตกรรมกระจกเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ ผู้ผลิตที่ใหญ่ที่สุดในจีนและโลกด้านกระจกพลังงานแสงอาทิตย์รวมทั้ง self-operate solar farms ให้บริการครบวงจร ตั้งแต่วิจัยและพัฒนาการผลิตแบบระบบอัตโนมัติกระบวนการผลิตแบบประสิทธิภาพสูงสุด การจัดจำหน่ายไปจนถึงการบริการหลังการขาย

สำหรับใครที่อยากมีส่วนร่วมในธีมการลงทุนที่เป็น Mega Trend ของโลก ตอบโจทย์ทั้งเรื่องผลตอบแทนและรักษ์โลกไปพร้อมๆ กัน เชื่อว่า “กองทุน PRINCIPAL GCLEAN” ที่กำลังจะ IPO วันที่ 24 – 30 มี.ค. 2021 นี้ น่าจะเป็นทางเลือกที่เติมเต็มพอร์ตการลงทุนของคุณได้เป็นอย่างดี

ชมวิดีโอ กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล คลีน เอ็นเนอร์จี (PRINCIPAL GCLEAN-A)

คำเตือน   

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนหลักลงทุนลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
  • บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุนรวมในอนาคตเป็น Fund of Funds  หรือกองทุนรวมที่มีการลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์และทรัพย์สินทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศได้ หรือกลับมาเป็นกองทุน Feeder Fund ได้โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุน(risk spectrum) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ให้เป็นตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยขึ้นกับสถานการณ์ตลาด และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน อนึ่ง บริษัทจัดการจะดำเนินการแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยผ่านเว็บไซต์ของบริษัทจัดการที่