ส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง ‘เทคโนโลยี’ & ‘สุขภาพ’ โอกาสสร้างผลตอบแทนที่ ‘ดี’ ในระยะยาว!!! โดย สรวิศ อิ่มบำรุง

ถ้าคุณจะต้องเลือกลงทุนในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง...โดยที่มั่นใจว่ามีอนาคตที่เติบโต หนึ่งในนั้นต้องมีธุรกิจเกี่ยวกับ “สุขภาพ (Healthcare)” รวมอยู่ด้วยแน่นอน

วิกฤติ COVID-19 ในครั้งนี้ เป็นวิกฤติที่เกิดมาจากโรคภัยไข้เจ็บที่กระทบไปถึงเศรษฐกิจทั่วโลก หลายธุรกิจร่วง หลายธุรกิจกำลังต่อสู้เพื่อความอยู่รอด แต่มีหนึ่งธุรกิจที่ยังยืนหยัดอย่างมั่นคงนั่นคือ ‘Healthcare’

ปัจจุบันเรากำลังอยู่ในยุคเริ่มต้นของธุรกิจ “สุขภาพแนวใหม่” ที่ไม่ใช่ใครมาหาหมอก็รักษาแนวเดียวกันไปหมดเช่นในอดีต แต่เป็นการใช้ ‘นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี’ มาผสานกับ ‘สุขภาพ’ เพื่อตอบโจทย์การรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในระดับบุคคลกันเลยทีเดียว

และเป็นโอกาสดีที่คุณจะได้ร่วมลงทุนในธุรกิจสุขภาพชั้นนำจากทั่วโลกผ่าน “กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เฮลธ์ อินโนเวชั่น-ชนิดสะสมมูลค่า (PRINCIPAL GHEALTH-A)” กองทุนน้องใหม่จาก ‘บลจ.พรินซิเพิล’ มาเปิดศักราชรับ ‘ปีฉลู-2021’ ที่จะช่วยเติมเต็มพอร์ตการลงทุนของคุณได้เป็นอย่างดี

ทำไมต้องลงทุนในธีม “เทคโนโลยีสุขภาพ”

เรื่องของ “สุขภาพ” เป็นเรื่องใหญ่และเป็นเรื่องสำคัญของชีวิตมนุษย์ในทุกช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่แพ้เรื่องกินเลยทีเดียว ไม่จำเป็นว่าเฉพาะต้องเจ็บไข้ได้ป่วยเท่านั้น การดูแลป้องกันเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงก็เป็นอีกวิถีใหม่ที่คนเราคุ้นชินกัน

“สำหรับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบริการด้านสุขภาพเราคงไม่ต้องพูดถึง จะถูกหรือแพงคนก็ยอมจ่าย และแนวโน้มของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน และค่าใช้จ่ายในส่วนของสุขภาพนี้ยังคิดเป็นสัดส่วนใหญ่ของคนในวัยเกษียณอีกด้วย ‘ธีมสุขภาพ (Healthcare)’ และ ‘ธีมสังคมสูงอายุ (Aging Society)’ จึงเป็นแนวโน้มหลักของโลกการลงทุนที่เป็นโลกคู่ขนานกันมาที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ ซึ่งส่วนหนึ่งที่ทำให้คนเราแนวโน้มจะมีอายุยาวขึ้นก็เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับสุขภาพนั่นเอง”

info

นั่นจึงทำให้ “ธุรกิจสุขภาพ (Healthcare)” ยังคงความน่าสนใจสำหรับการลงทุนในระยะยาวไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า...ยาแพง คุณจะใช้บริการน้อยลง หรือยาถูก คุณจะใช้บริการมากขึ้น หากแต่ถ้าคุณเจ็บป่วย
หรือดูแลสุขภาพก็ถือเป็น ‘ค่าใช้จ่ายจำเป็น’ ที่เต็มใจจ่าย และพร้อมที่จะจ่ายเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง และนี่คือ ‘จุดแข็ง’ ของธุรกิจสุขภาพ (Healthcare) ที่ทั่วโลกต่างรับรู้

“มีการประมาณกันว่าความต้องการอุปกรณ์ประเภท ‘Smart Medical Devices’ ทั่วโลกจะมีการเติบโตเฉลี่ย 21.50% ต่อปี ในช่วงปี 2020-2027 และค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพก็มีการเติบโตที่สูงมากสูงกว่าการเติบโตของ GDP และค่าจ้างตลอดมาอีกด้วย” (ที่มา: Databridge, Credit Suisse; McKinsey (2011) 

เราทราบแล้วว่าอายุเฉลี่ยของประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้น สังคมโลกเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ที่สูงขึ้น ด้วยความก้าวหน้าด้าน ‘เทคโนโลยีสุขภาพ’ ได้แตกไลน์ออกมาเป็นอีกธีมการลงทุนที่มีความโดดเด่นมีศักยภาพในการเติบโตที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเป็นโอกาสในการลงทุนเพื่อรับผลตอบแทนที่สูงในระยะยาว จากการค้นพบนวัตกรรมใหม่ๆ

รู้หรือไม่? “หุ้นสุขภาพโลก” มีถึง 10 กลุ่มธุรกิจ...ในขณะที่ “หุ้นไทย” มีแต่ ‘โรงพยาบาล’

สนใจแล้ว...อยากลงทุนแล้ว...“ตลาดหุ้นไทย” มีมั้ย? 

คำตอบ คือ ‘มี’...แต่ ‘Health Care Sector’ ในตลาดหุ้นไทย มีสัดส่วนไม่ถึง 2% ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่สำคัญยังมีแต่ “โรงพยาบาล” อีกด้วย (ที่มา: SETSMART ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2020)

รู้หรือไม่ว่า?...ดัชนี ‘MSCI World Health Care Index’ (ณ 31 ธ.ค. 2020) มีธุรกิจสุขภาพมากถึง 10 กลุ่มธุรกิจ ซึ่งรวมกันแล้วคิดเป็น 12.95% ของดัชนี ‘MSCI World Index’ จะเห็นว่ามีน้ำหนักและมีบทบาทมากในดัชนีหุ้นโลกพอสมควร (ที่มา: www.msci.com ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2020)

oi


โดยกลุ่ม ‘ผลิตยา (Pharmaceuticals)’ มีน้ำหนักในดัชนี 39.06%, ‘อุปกรณ์ทางการแพทย์ (Health Care Equipment)’ 21.34% และ ‘เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)’ 13.31% เป็น 3 กลุ่มธุรกิจที่ครองส่วนแบ่งรวมกันมากสุดประมาณ 73.71% (ที่มา: www.msci.com ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2020) 

“ในขณะที่มีกลุ่ม ‘โรงพยาบาล (Health Care Service)’ เพียง 3.9% เท่านั้น ซึ่งภาพจะต่างกันกับหุ้นสุขภาพที่มีอยู่ในตลาดหุ้นไทยพอสมควร โดยผลตอบแทนย้อนหลังของดัชนี ‘MSCI World Health Care Index’ ย้อนหลัง 10 ปี อยู่ที่ 14.08% ต่อปี สูงกว่าดัชนี ‘MSCI World Index’ ที่ 10.48% ต่อปี และสูงกว่าดัชนี ‘SET TRI’ ที่ 6.96% ต่อปีอีกด้วย” (ที่มา: www.msci.com, SETSMART ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2020)

“เทคโนโลยีสุขภาพ” เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่...การลงทุนด้าน ‘สุขภาพโลก’

“ธุรกิจสุขภาพ” ที่เราเคยรับรู้กันมาในอดีตนั้นจัดอยู่ในธุรกิจสุขภาพ ‘แบบดั้งเดิม’ เช่น โรงพยาบาล, ผลิตยา เป็นต้น ที่คนทั่วๆ ไปส่วนใหญ่เข้าถึงและคุ้นเคยกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กๆ ปวดหัวตัวร้อนไปโรงพยาบาลหมอก็จะรักษาแนวทางเดียวกันหมดทุกคน แต่ด้วย “เทคโนโลยี” ที่ผสานกับ “สุขภาพ” อย่างลงตัว ทำให้เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของธุรกิจสุขภาพของโลกขึ้นมา และก้าวเข้าไปอยู่ใน ‘ห่วงโซ่อุปทาน’ ของอุตสาหกรรมสุขภาพตลอดทั้งสายเลยทีเดียว ตั้งแต่

  1. การเข้าใจโรค (Understanding of Diseases)
  2. การวินิจฉัยโรค (Diagnostics)
  3. การรักษาโรค (Treatment)
  4. การป้องกันโรค (Prevention)
  5. การดูแลรักษา (Operational Efficiency)

lk


“ย้อนกลับไปในปี1963 ‘วัคซีนโรคหัด’ ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกก็ถือเป็นนวัตกรรมของยุคนั้นแล้ว ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตที่มีหลักล้านคนให้เหลือเพียงหลักหมื่นคนต่อปีเท่านั้น หลังจากนั้นโลกก็มีพัฒนาการของเทคโนโลยีด้านสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตอาจมีการรักษาด้วยการแก้ไขรหัสพันธุกรรม, การพิมพ์อวัยวะ 3 มิติ, การปลูกถ่าย Stem Cell, การศึกษาจีโนมของมนุษย์เสร็จสมบูรณ์ หรือการมี ‘หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด’ สามารถช่วยในการผ่าตัดที่มีความซับซ้อนแบบแผลเล็กได้ เป็นต้น ซึ่งหลายสิ่งเกิดขึ้นแล้ว และหลายสิ่งกำลังจะเกิดขึ้นตามมาในอนาคตอันใกล้”

ซึ่งความน่าสนใจของ “กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เฮลธ์ อินโนเวชั่น-ชนิดสะสมมูลค่า (PRINCIPAL GHEALTH-A)” คือมีนโยบายลงทุนในกองทุนหุ้นสุขภาพครบวงจร เป็นหุ้นที่มีนวัตกรรมด้านสุขภาพที่คัดแล้วว่ามีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น 2 กอง ในกลุ่มกองหุ้นสุขภาพโลก ได้แก่

  • Baillie Gifford Worldwide Health Innovation Fund
  • Credit Suisse (Lux) Digital Health Equity Fund

“ที่มีนโยบายเน้นลงทุนบริษัทที่ใช้นวัตกรรมในการคิดค้นพัฒนา (R&D), การรักษา (Treatment) รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency Improvement) ในการให้บริการให้สูงขึ้น ตั้งแต่การวิจัย ไปจนถึงการรักษาและป้องกันวิจัย ป้องกันและแก้ไขในระดับยีนส์ และเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย เลือกลงทุนเฉพาะผู้ชนะแห่งอนาคตในอุตสาหกรรม Healthcare ทั่วโลก”

สะท้อนภาพภาพของพอร์ตการลงทุนของทั้ง 2 กองทุน ที่มีสัดส่วนของกลุ่ม ‘เทคโนโลยีสุขภาพ’ ในสัดส่วนที่สูงกว่าดัชนี ‘MSCI World Healthcare’ อย่างชัดเจน และมีหุ้นที่ทับซ้อนกับดัชนี ‘MSCI World Index’ น้อยมากเพียง 0.02 – 1.00% เท่านั้น และทีซ้อนกับดัชนี ‘MSCI Healthcare Index’ เพียง 1 – 10% เท่านั้น (ที่มา: Baillie Gifford, Credit Suisse, MSCI ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 2020)

“จึงเป็นธีมการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีสุขภาพที่มีความชัดเจนในตัว ไม่เป็นการทับซ้อนกับ ‘หุ้นโลก’ หรือ ‘หุ้นสุขภาพโลก’ แบบเดิมๆ แต่ประการใด”

ผลการดำเนินงานโดดเด่น...ด้วยทีมงานบริหารที่ ‘เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการแพทย์’ โดยเฉพาะ

“จุดเด่น” ที่สำคัญของทั้ง 2 กองทุน คือ ทีมจัดการกองทุนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการแพทย์ในสาขาต่างๆ ไม่ใช่ผู้จัดการกองทุนที่มาจากสายการเงินแต่ประการใด นั่นจึงทำให้ทั้ง 2 กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา เพราะจะเลือกหุ้นแบบดูปัจจัยพื้นฐาน (Bottom up) ในบริษัทที่อยู่ในระยะแรกของการค้นพบเทคโนโลยี ประมาณ 30-40 ตัว เท่านั้น เพื่อลงทุน

“โดยกองทุนหลัก ‘Baillie Gifford Worldwide Health Innovation Fund’ สร้างผลตอบแทน 85% และ ‘Credit Suisse (Lux) Digital Health Equity Fund’ สร้างผลตอบแทน 87% ในปี 2020 ขณะที่ดัชนี ‘MSCI World Ac Index’ และ ‘MSCI World Healthcare Ac Index’ สามารถสร้างผลตอบแทนได้เพียง 16.50% และ 14.10% ตามลำดับ” 
(ที่มา:  Baillie Gifford, Credit Suisse, MSCI ข้อมูล ณ วันที่ 30 ธ.ค 2020)

hg

มาดูตัวอย่างหุ้นในพอร์ตกันบ้าง “Moderna” ซึ่งเชื่อว่าส่วนใหญ่จะคุ้นเคยบริษัทนี้จากการที่เป็น 1 ใน 3 ผู้ผลิตวัคซีนต้าน COVID-19 ที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิต 200 – 1,000 ล้านโดสในปี21 นอกจากนี้ยังเป็นผู้พัฒนา mRNA therapeutics ที่กำหนดให้เซลล์สร้างโปรตีนจำเพาะเพื่อต่อสู้กับโรคระบาด, มะเร็ง และโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น

หรือ “Exact Sciences” ผู้ครองทรัพย์สินทางปัญญา ‘Cologuard Test’ แต่พียงผู้เดียว ที่ใช้ตรวจจับการเป็นมะเร็งลำไส้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยชุดตรวจนี้สามารถตรวจพบมะเร็งลำไส้ในระยะที่ 1 และ 2 ได้ถึง 94% ซึ่งการค้นพบที่เร็วก็ช่วยให้สามารถรักษาได้ดียิ่งขึ้นด้วย

หรือ “M3” ผู้ให้บริการข้อมูลทางการแพทย์แก่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านอินเทอร์เน็ต ให้บริการ ‘Telemedicine’ การวินิจฉัยผ่านอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ผ่าน ‘Line’ มีคนไข้ใน ‘Line Doctor’ นี้กว่า 8 ล้านคน ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งกับคนไข้ไม่ต้องเดินทางมาหาหมอ และเป็นประโยชน์กับโรงพยาบาลที่มีพื้นที่จำกัดตลอดจนหมอเองด้วย เป็นต้น

สำหรับใครที่กำลังมองหาธีมการลงทุนที่ตอบโจทย์ในระยะยาว ที่มีทั้ง ‘คุณภาพ’ และ ‘การเติบโต’ เชื่อว่า “กองทุน PRINCIPAL GHEALTH-A” ที่กำลังจะ IPO วันที่ 27 ม.ค. – 3 ก.พ. 2021 นี้ น่าจะเป็นทางเลือกที่เติมเต็มพอร์ตการลงทุนของคุณได้เป็นอย่างดี

 

คำเตือน

  • กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมากผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • กองทุนอาจใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน 
  • กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจได้รับกาไร หรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืน ต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ 
  • กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย 
  • กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว 
  • ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
  • ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน 
  • ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต 
  • บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุนรวมในอนาคตเป็น Feeder Fund หรือกองทุนรวมที่มีการลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศได้ หรือกลับมาเป็นกองทุน Fund of Funds ได้โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ให้เป็นตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน