ลงทุน Principal Multi Asset Funds พร้อมรับมือความไม่แน่นอน หลังตลาดยังรอผลการเจรจาการค้าอย่างเป็นทางการ
แนะนำลงทุนใน Principal Multi Asset Funds ซึ่งประกอบด้วย PRINCIPAL MAINCOME, PRINCIPAL MABALANCED และ PRINCIPAL MAGLOBAL เตรียมรับมือความไม่แน่นอน หลังตลาดหุ้นสหรัฐได้ฟื้นตัวขึ้นมาในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนที่ทรัมป์จะประกาศภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ในวันที่ 2 เม.ย. อย่างไรก็ตามผลของการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐ และประเทศคู่ค้ายังไม่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ หากการผลของการเจรจามีความล่าช้า ความผันผวนมีโอกาสกลับมาปกคลุมตลาดได้อีกครั้ง
นอกจากความไม่แน่นอนเรื่องการเจรจาทางการค้าแล้ว ล่าสุดตลาดได้เลื่อนการคาดการณ์ของการลดดอกเบี้ยของเฟดออกไปสู่เดือนก.ค.จากเดิมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย. (โดยมีความน่าจะเป็นอยู่ที่ 58% ที่จะลดดอกเบี้ยเดือนก.ค. อ้างอิง FedWatch Tool ของ CME Group ณ วันที่ 6 พ.ค. 2568) เนื่องจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls) ที่ประกาศในคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาสูงกว่าสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ โดยตลาดคาดการณ์ที่ 138,000 ตำแหน่ง ขณะที่ตัวเลขจริงอยู่ที่ 177,000 ตำแหน่ง สะท้อนว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง ซึ่งส่งผลให้เฟดอาจชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ย
Principal Multi Asset Funds มีการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ทั่วโลก เช่น ตราสารหนี้ ตราสารทุน อสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึง Listed Private Equity โดยมีกลยุทธ์การลงทุนแบบยืดหยุ่น ตอบโจทย์ทุกสภาวะตลาด บริหารโดยทีมการลงทุนที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองการลงทุนจากบริษัทในเครือจากภูมิภาคต่างๆทั่วโลก เพื่อการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ทั้ง 3 กองทุนยังมีผลตอบแทนย้อนหลังที่โดดเด่น อยู่ใน Quartile อันดับ 1 และ 2 เมื่อเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกัน (Peers) ตั้งแต่ปรับกลยุทธ์ลงทุน (15 ส.ค. 2567 - 31 มี.ค. 2568) โดยนักลงทุนสามารถเลือกกองทุนที่เหมาะสมตามแต่ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ตามรายละเอียดในภาพด้านล่าง
คำเตือน:
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้ ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต