Special Report: ภาวะโลกร้อนกับความใส่ใจและรับผิดชอบต่อการลงทุน

Special Report: ภาวะโลกร้อนกับความใส่ใจและรับผิดชอบต่อการลงทุน

โดย คุณวิทยา เจนจรัสโชติ หัวหน้าฝ่ายการลงทุนต่างประเทศ

เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2564 มีการประชุมที่ทั่วโลกให้ความสนใจอย่างมากคือ COP26 หรือ การประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติครั้งที่ 26 (26th United Nations Climate Change Conference) โดยจัดขึ้นที่ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศต่างๆ ต้องช่วยลดการปล่อยคาร์บอนภายในปี 2030 ภายใต้ข้อตกลงปารีสปี 2015 (Paris Agreement 2015) ประเทศต่างๆ ถูกขอให้สร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาอุณหภูมิของโลกไว้ เพื่อที่จะป้องกันหายนะภัยทางด้านสภาพภูมิอากาศ เป้าหมายคือการตัดลดการปล่อยคาร์บอนจนกระทั่งถึงเป้าหมายเป็นศูนย์ภายในปี 2050

        โลกกำลังร้อนขึ้น เพราะการปล่อยมลพิษของเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และแก๊ส จากการกระทำของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศมีส่วนทำให้เกิดสภาพอากาศรุนแรงต่าง ๆ มากขึ้นทั้งคลื่นความร้อน น้ำท่วม และไฟป่า โดยในช่วงที่ผ่านมา Climate Action tracker ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อติดตามการดำเนินการของรัฐบาลเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้รายงานว่าในเดือน พฤศจิกายน 2564 โลกร้อนขึ้น ถึง 1.2 องศาเซลเซียส ใกล้ถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่ข้อตกลงปารีสตั้งเป้าหมายไว้ ให้พยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ ไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5องศาเซลเซียส จากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม โดยตระหนักว่า ความพยายามนี้จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลงอย่างมีนัยสำคัญ

sp
Source: Climate Action tracker

จากรายงานของ UN Environment Programการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส เป็นระดับเริ่มแรกที่มีผลกระทบต่อโลกอย่างมาก เช่น ทำให้ไฟป่ามากขึ้น 41% ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น 48 เซนติเมตร พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียส จะทำให้ระบบนิเวศทางทะเลเสียหาย น้ำทะเลสูงถึง 9 เมตร ปลาเริ่มสูญพันธุ์ และเมื่อถึง 4 องศาเซลเซียส พืชและสัตว์ทั่วโลกเกือบครึ่งโลกจะสูญพันธุ์

sp
Source: UN environment program

ภาวะโลกร้อนจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแต่เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องให้ความสำคัญ ในฐานะนักลงทุนเราก็สามารถมีส่วนช่วยในเรื่องโลกร้อนได้ด้วยเช่นกัน โดยเราสามารถเลือกลงทุนกับกองทุนที่คัดเลือกบริษัทที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเติบโตในระยะยาวของบริษัทการลงทุนที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เป็น megatrends ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมาก โดยในต่างประเทศมีกระแสการลงทุนในกองทุนที่เน้นด้าน Environment Social and Governance (ESG) และ ด้าน sustainable มากขึ้น โดยจากข้อมูลล่าสุดจาก Morningstar พบว่า สินทรัพย์ของกองทุนเพิ่มขึ้นจากปลายปี 2018ที่ประมาณ 6แสนล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา เป็น 3.9ล้านล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021  หรือเพิ่มขึ้นกว่า 6.5 เท่าตัว

sp

นักลงทุนหลายท่านอาจมีคำถามในใจว่าการที่นักลงทุนใส่ใจต่อภาวะแวดล้อมแล้ว จะต้องเสียสละผลตอบแทนจากการลงทุนที่จะได้รับหรือไม่ จากกราฟแสดงให้เห็นว่า เราลงทุนหุ้นที่มี ESG จะสามารถมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าโดยดัชนี MSCI ACWI ESG Focus Index ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ดัชนี MSCI ACWI Index ปกติ ดังนั้น เราจึงควรมาลงทุนในกองทุนที่ให้ความสำคัญ ESG ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีให้กับเราแล้ว ยังช่วยโลกได้อีกทางด้วย

sp
Source: Morningstar as of Oct 2021

อ่าน Special Report: ภาวะโลกร้อนกับความใส่ใจและรับผิดชอบต่อการลงทุน