Special Report: มุมมองการลงทุนตลาดหุ้นไทย

ตลาดหุ้นไทยโดดเด่น โอกาสลงทุน ท่ามกลางความผันผวนของปัจจัยโลก

ปีนี้ตลาดหุ้นไทยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในตลาดหุ้นที่มีผลการดำเนินงานดีเป็นลำดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ทั่วโลก โดยหากพิจารณาตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 จะพบว่าตลาดหุ้นไทย (SET Index) มีผลตอบแทน -2.95%  ซึ่งถือว่าทำได้ดีกว่าผลตอบแทนของตลาดหุ้นในภาพรวม โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดถูกกดดันจากปัจจัยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อยับยั้งอัตราเงินเฟ้อที่สูงในหลายประเทศหลักๆ ของโลกในขณะนี้ หากพิจารณาตลาดหุ้นสำคัญของโลก เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (S&P 500 Index) หรือตลาดหุ้นจีน (CSI300 Index) จะพบว่าผลตอบแทนในช่วงเวลาเดียวกันจะอยู่ที่ -18.76%  และ -28.98% ตามลำดับ

ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนตลาดหุ้นไทยและเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2565 คือการเปิดประเทศ (Reopening) โดยการเริ่มทยอย
ผ่อนคลายกฎระเบียบด้าน COVID-19 ตั้งแต่ต้นปี สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการเดินทางมาที่ประเทศไทย และสำหรับการใช้ชีวิต ของผู้คนในประเทศด้วย ซึ่งส่งผลทำให้ทิศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเรื่อยๆ (รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในการท่องเที่ยวคิดเป็นประมาณ 10-12% ของ GDP ช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ COVID-19)  โดยการเปิดประเทศเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 
1 กรกฎาคม 2565 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติทยอยกลับมาเที่ยวประเทศไทยมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 10 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ ประมาณ 7.6 ล้านคน ซึ่งวิ่งเข้าใกล้เป้าหมายของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ทั้งปีที่ 10 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์   อย่างไรก็ดี หากทางการจีนเริ่มมีการผ่อนคลายการกักตัวลดลงและยกเลิกการปิดเส้นทางบินมากยิ่งขึ้น จะทำให้คนจีนสามารถเดินทางออกท่องเที่ยวต่างประเทศได้มากขึ้น และคาดจะเป็นปัจจัยบวกต่อการสนับสนุนการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการบินของไทย ทั้งนี้ ก่อนการระบาดของ COVID-19 หรือในปี 2562 นักท่องเที่ยวจีนคิดเป็นสัดส่วนที่สร้างรายได้เข้าไทยสูงที่สุด และเดินทางเข้าไทยมากสุดราว 11 ล้านคน คิดเป็น 25% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด

Cio's view

Cio's view

ภาพรวมเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งช่วยสนับสนุนตลาดหุ้น

ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ของประเทศไทยเดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ 5.98% YoY เพิ่มขึ้นอย่างชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 2 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการปรับลดของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามราคาน้ำมันตลาดโลก และราคาเนื้อสัตว์ แต่ราคาผักสดยังคงปรับขึ้นเนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมทำให้แหล่งเพาะปลูกได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตาม สถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันเริ่มคลี่คลาย ทำให้ราคาผักสดมีแนวโน้มเข้าสู่ระดับปกติ ในส่วนของเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core Inflation) เดือนตุลาคม 2565 อยู่ที่ 3.17% YoY เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 3.12% YoY ในเดือนกันยายน 2565 โดยได้รับแรงกดดันจากต้นทุนการผลิต และค่าแรงที่ปรับสูงขึ้น โดยสรุป อัตราเงินเฟ้อที่ระดับดังกล่าวทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังสามารถขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปได้ โดย บลจ.พรินซิเพิล คาดจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 0.25% อีกครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายเข้าสู่ระดับ 1.25% ซึ่งถือว่าเป็นการดำเนินนโยบายการเงินที่ไม่เข้มงวดเท่าทางฝั่งของเฟดหรืออีซีบี เนื่องจากทั้งสองธนาคารกลางของสหรัฐฯ และยุโรปจำเป็นที่จะต้องใช้นโยบายการเงินตึงตัวที่เร่งตัวอย่างมากในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง โดยแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร แห่งประเทศไทยที่ค่อยเป็นค่อยไป ย่อมสะท้อนต่อโอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มากกว่าฝั่งสหรัฐฯ และยุโรป และ หลายประเทศโดยรวม (อ้างอิง Figure 6) ส่งผลสะท้อนต่อ Earnings revision และ Foreign Fund Flow ที่เข้ามาในตลาดหุ้นไทย ที่เป็นบวกและดีกว่าภูมิภาค (YTD) นอกจากนั้้น ยอดส่งออกของประเทศไทยเดือนกันยายน 2565 เพิ่มขึ้น +7.8%YoY ขยายตัวต่อเนื่อง 19 เดือน นำโดยกลุ่มอุตสาหกกรมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเกษตร และรัฐบาลยังมีการเตรียมออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มเติม ในช่วงปลายปีนี้
 

Cio's view

Cio's view

SET Index ยังมีการซื้อขายในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง แรงหนุนจากฟันด์โฟลว์ดีต่อเนื่อง

ตลาดหุ้นไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง และมีการประเมินมูลค่า (Valuation) ที่น่าดึงดูด (พิจารณาจาก PER) จากข้อมูลของ Bloomberg นักวิเคราะห์ในตลาดได้ปรับประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนในไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในช่วงปลายปี 2563 จนกระทั่งเริ่มเข้าสู่ระดับปกติ สอดคล้องกับสถานการณ์ COVID19 ในประเทศที่ดูดีขึ้น และการผ่อนคลายกฎระเบียบต่อนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เงินลงทุนต่างชาติ (Foreign Fund Flow) ก็ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องเช่นกัน โดยตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 นักลงทุนต่างชาติได้กลับเข้ามาซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยมูลค่าสูงถึง 2 แสนกว่าล้านบาท และที่สำคัญมูลค่า (Valuation) ของตลาดหุ้นไทยอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลังในอดีต โดยปัจจุบันมี Forward P/E 12 เดือนที่ 15.04 เท่า หรือที่ประมาณ -0.8 SD ซึ่งถือว่ายังเป็นโอกาสในการลงทุนในตลาดที่มีการซื้อขายที่ไม่แพงเกินไปเทียบกับภาพเศรษฐกิจที่คาดว่าปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นเมื่อดูจากทิศทาง Foreign Fund Flow

Cio's view

Cio's view

Cio's view

กลยุทธ์การลงทุนและกองทุนแนะนำ

บลจ.พรินซิเพิล มองว่าการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจ เนื่องจากมีปัจจัยบวกหลายอย่างสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นทิศทางภาพรวมเศรษฐกิจ นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย และการประเมินมูลค่าของตลาดหุ้นที่ยังไม่แพง เราจึงแนะนำนักลงทุนสามารถทยอยซื้อสะสมกองทุนหุ้นไทยได้ โดยมีเป้าหมายกรอบการลงทุนดัชนี SET Index ในช่วง 1,550–1,650 จุด ในช่วงเวลาที่เหลือของปี  2565 (โดยแนะนำทยอยซื้อในช่วงที่ดัชนีอยู่ในระดับ 1,550–1,600 จุด และขายในช่วงระดับ 1,600–1,650 จุด) และมีเป้าหมาย SET Index ช่วง 1,675 – 1,700 สำหรับช่วงไตรมาส 1 ปี 2566 

แนะนำ 2 กองทุนหุ้นไทย บลจ.พรินซิเพิล

กลยุทธ์การลงทุนและผลการดำเนินงานย้อนหลังที่น่าสนใจโดยผลการดำเนินงานของกองทุนทั้งสองกองทุนมีผลการดำเนินงาน อยู่ในอันดับต้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับกองทุนในกลุ่มประเภทเดียวกัน (Peers) ในอุตสาหกรรม และทั้งสองกองทุนมีผลการดำเนินงาน กล่าวคือมีผลการดำเนินงานอยู่ใน Q1 (ควอไทล์ 1) ในช่วงตั้งแต่ต้นปี และ 6 เดือนย้อนหลังเมื่อเปรียบเทียบกับ Peers ในอุตสาหกรรม (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565)  (ข้อมูลเพิ่มเติมใน Fund Factsheet และ Morningstar)

เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น กลุ่มอุตสาหกรรมธีมเปิดเมืองและการเลือกตั้ง สนับสนุนการบริโภคในประเทศและการท่องเที่ยว

เป็นกองทุนที่มีการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและหุ้นที่มี Dividend Yield ในระดับสูง เพื่อสร้างพอร์ตการลงทุนให้เติบโต ล้อตามเศรษฐกิจของประเทศและสามารถจ่ายเงินปันผลในอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า SET Index โดยปัจจุบันให้น้ำหนักการลงทุน ในบริษัทที่สามารถรักษาอัตรากำไรได้ หรือบริษัทที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น เข่น กลุ่มธนาคาร และกลุ่มประกันชีวิต หรือกลุ่ม อุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดประเทศและการเลือกตั้ง เช่น กลุ่มท่องเที่ยว โรงแรม และสนามบิน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อ

Cio's view

Cio's view

เป็นกองทุนที่มีการลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและมีการปรับพอร์ตให้เหมาะสมกับสถานการณ์การลงทุน ซึ่งทำให้พอร์ตการลงทุนสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนและมีประวัติการจ่ายปันผลที่ต่อเนื่อง โดยจะลงทุนในหุ้นประมาณ 50-70 ตัว และมีกลยุทธ์การกำหนดน้ำหนักหุ้นแต่ละตัวล้อตามกับดัชนี SET100 และได้รับรางวัล Morningstar 4 ดาว (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)

Cio's view

Cio's view

อ่าน Special Report: มุมมองการลงทุนตลาดหุ้นไทย

คำเตือน : ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / ผู้ลงทุนควรศึกษาผลการดำเนินงานของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดของกองทุนใน https://www.principal.th/th/mutual-fundth ก่อนตัดสินใจ / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต Morning Star Copyright @ 2022 บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริช์ ประเทศไทย สงวนลิขสิทธิ ข้อมูลที่ประกอบในเอกสารนี้ : (1) เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทมอร์นิ่งสตาร์ และ/หรือ ผู้ให้บริการข้อมูล  / (2) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการทำซ้ำ หรือเผยแพร่ / (3) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความถูกต้อง ครบถ้วน และความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกกรณีจากการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต