ตั้งเป้าหมายการลงทุนแบบยั่งยืนด้วยการลงทุนแบบ DCA
DCA หรือ Dollar Cost Average ซึ่งหมายถึงการกระจายลงทุนในสินทรัพย์ หรือ กองทุนที่เลือกอย่างสม่ำเสมอในมูลค่าเงินลงทุนที่เท่ากัน ไม่ว่าจะเป็น รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี โดยไม่สนใจว่าในช่วงเวลานั้นสภาวะการลงทุน หรือ ตลาดจะเป็นเช่นไร เป็นวิธีการลงทุนที่ถูกพูดถึง และนำไปใช้โดยนักลงทุนทั้งหน้าเก่าและใหม่เป็นจำนวนมาก จากคุณสมบัติที่น่าดึงดูดใจนักลงทุน คือ การสร้างวินัยในการลงทุนให้เกิดการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ และการวางแผนการลงทุนระยะยาวเพื่อไปสู่เป้าหมายทางการเงิน ในขณะเดียวกันช่วยลดความกังวลหรืออารมณ์ในการตัดสินใจลงทุน และลดความเสี่ยงด้าน Market Timing หรือจังหวะในการลงทุน อย่างไรก็ตาม การจะลงทุนแบบ DCA ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้นยังมีอีกหลายจุดที่ต้องคำนึงถึง อาทิ
เลือกสินทรัพย์ให้ถูก
การลงทุนแบบ DCA คือการลงทุนอย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างความมั่งคั่งในระยะยาว ดังนั้น การพิจารณาเลือกสินทรัพย์ลงทุนอาจจะต้องพิจารณาสินทรัพย์ลงทุนที่เหมาะสมกับผู้ลงทุนและผลตอบแทนมีโอกาสเติบโตในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น กองทุนหุ้นไทย กองทุนหุ้นต่างประเทศ หรือ กองทุนอสังหาริมทรัพย์/REITs โดยอาจใช้วิธีการกระจายการลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายลงทุนแตกต่างกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน เพราะทุกสินทรัพย์ไม่ได้มีการเติบโตในทิศทางเดียวกัน แต่หากเลือกสินทรัพย์ลงทุนไม่ได้ ท่านนักลงทุนอาจจะเลือกลงทุนในกองทุนผสม ที่มีการกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ในกองทุนเดียวโดยมีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้บริหารจัดการให้กับท่านแทน ทั้งนี้ ไม่ควรเลือกลงทุนในหลายกองทุนมากเกินไปจนไม่สามารถติดตาม ประเมินผลได้ไหว
ต้องใช้เวลาออกดอกออกผล
เพราะการลงทุนแบบ DCA นั้นคือการถัวเฉลี่ยต้นทุนอย่างต่อเนื่อง บนสมมติฐานที่ว่าสินทรัพย์ หรือ กองทุนนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมที่ราคาจะเติบโตขึ้นในระยะยาว ซึ่งจะทำให้มีโอกาสที่เงินลงทุนของท่านจะได้รับผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน ในทางตรงข้ามการลงทุนระยะสั้นอาจจะมีความเสี่ยงในด้านการผันผวนของราคาหรือต้นทุนจะอยู่ในระดับใกล้เคียงตลาดเสมอ ดังนั้นแล้วการลงทุนแบบ DCA นั้นจึงมีเรื่องของเวลาเข้ามามีผลต่อการสร้างผลตอบแทนมากพอสมควร การลงทุนระยะยาวมีโอกาสที่จะทำให้ได้รับต้นทุนเฉลี่ยที่ต่ำและได้รับผลอบแทนที่ดีในระยะยาว
มีตราสารหนี้เผื่อไว้บ้าง
ไม่มีวิธีการลงทุนใดที่จะสามารถขจัดความเสี่ยงและความผันผวนออกไปได้ทั้งหมด แม้กระทั่งการลงทุนแบบ DCA ก็ตาม ดังนั้นแล้ว ในพอร์ตการลงทุนแบบ DCA ก็ควรที่จะมีน้ำหนักการลงทุนของกองทุนตราสารหนี้ไว้บางส่วนตามความเสี่ยงที่รับได้ กล่าวคือรับความเสี่ยงได้มากก็มีตราสารหนี้ในระดับที่น้อย รับความเสี่ยงได้น้อยก็มีตราสารหนี้ในพอร์ตในระดับที่สูงขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนภาพรวมได้
อย่าลืม Rebalance
สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งก็คือการ Rebalance ที่หมายถึงการปรับสมดุลพอร์ต เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพอร์ตการลงทุนมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และสอดรับกับภาวะการลงทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เปลี่ยนไปตามภาวะตลาด ส่งผลให้สัดส่วนของแต่ละสินทรัพย์ที่ลงทุนมีการปรับเปลี่ยนไป อาจทำให้พอร์ตการลงทุนมีความเสี่ยงสูงหรือต่ำไปกว่าที่ควรจะเป็น และช่วยให้นักลงทุนมีโอกาสขายสินทรัพย์ที่ราคาปรับตัวขึ้นมาก พร้อมกับซื้อสินทรัพย์ที่ถูกหรือราคาปรับตัวลง ทั้งนี้เพื่อให้พอร์ตการลงทุนเข้าสู่สัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม
สำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีผ่านแอป Principal TH สามารถลงทุนแบบ DCA ด้วยฟีเจอร์ RSP (Regular Saving Plan) ได้ง่ายๆ ใน 10 ขั้นตอนดังนี้
หมายเหตุ: สำหรับผู้ลงทุนที่ใช้บริการแผนการลงทุนอัตโนมัติ (Regular Saving Plan) หากท่านมียอดเงินลงทุนที่หักต่อครั้งหรือต่อรายการน้อยกว่า 5,000 บาท บริษัทจัดการจะคิดค่าธรรมเนียมการใช้บริการหักบัญชีธนาคารในอัตรา 10 บาทต่อรายการ อย่างไรก็ตาม สำหรับยอดเงินลงทุนหักต่อครั้งหรือรายการตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป บริษัทจัดการยกเว้นค่าธรรมเนียมการหักบัญชีธนาคาร
Principal TH แอป | ลงทุนกองทุนรวมและจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ในแอปเดียว
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Principal TH ได้ที่
iOS : https://apps.apple.com/th/app/principal-th/id1481176177
Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=th.principal.principalth&hl=en&gl=th
ศึกษาคู่มือการเปิดบัญชีและการใช้งานได้ที่ https://www.principal.th/sites/default/files/2021-09/Prnicipal%20TH%20App%20Manual%20Oct%202021.pdf
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-686-9595