ก่อนจะซื้อรถยนต์สักคัน ต้องอย่าลืมคำนวณค่าใช้จ่ายให้ดี

เชื่อได้เลยว่าเมื่อเริ่มต้นทำงานได้สักระยะหนึ่ง หนึ่งในสินทรัพย์ที่หลาย ๆ คนเริ่มคิดอยากจะเป็นเจ้าของกันนั่นก็คือ “รถยนต์” เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ง่ายต่อการเป็นเจ้าของ รองจากโทรศัพท์มือถือ เพราะมีหลายระดับราคาที่สามารถจับต้องได้ อีกทั้งเพื่อการเดินทางที่สะดวกสบายมากขึ้นการซื้อรถยนต์สักคันดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่จำเป็น
พอเราตัดสินใจได้ว่าอยากจะมีรถยนต์สักคันแล้ว วิธีที่ง่ายที่สุด คือ เดินเข้าไปที่โชว์รูมหรือเปิดดูตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็จะพบกับงวดผ่อนในแต่ละเดือนว่าค่าผ่อนรถอยู่ที่เท่าไหร่ และเมื่อเราได้ทำการหักลบกับเงินเดือนของเราแล้วก็ดูเหมือนว่าจะไหว ทำให้หลายคนตัดสินใจไปถอยรถออกมาเลยทันที

โดยราคาค่างวดที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือน ถ้าเป็นรถยนต์ขนาดเล็กอย่าง Eco Car วางเงินดาวน์ประมาณ 20-25% ยอดผ่อนชำระจะอยู่เดือนละประมาณ 5,500 – 6,000 บาทก็สามารถเป็นเจ้าของได้แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าเราลองไปดูรายละเอียดที่ลึกขึ้น ก็พบว่า การเป็นเจ้าของรถยนต์สักคันหนึ่งมีค่าใช้แฝงตามมาอย่างมากมายหลายรายการ ไม่ว่าจะเป็น

1. ค่าน้ำมัน
นอกจากค่าผ่อนรถแล้ว ค่าใช้จ่ายหลักอีกอย่างหนึ่งที่เราจะจ่ายอย่างแน่นอนก็คือ “ค่าน้ำมัน” ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้รถยนต์มากน้อยขนาดไหน ถ้าใช้เยอะค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น แต่ที่แน่ ๆ สำหรับคนที่ซื้อรถเพราะความจำเป็นจริง ๆ แนวโน้มก็น่าที่จะต้องใช้งานเกือบทุกวันแน่นอน ค่าน้ำมันในแต่ละเดือนน่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,500-2,000 บาทอย่างแน่นอน

2. ประกันภัย
อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการเป็นเจ้าของรถยนต์สักคันก็คือ “ประกันรถยนต์” ลองคิดดูว่าสินทรัพย์ชิ้นใหญ่อย่างรถยนต์ที่เราเพิ่งถอยมา คงจะต้องหวงและดูแลรักษากันเป็นอย่างดีแน่นอน รวมถึงรถยนต์ก็เป็นสินทรัพย์ที่มีโอกาสเฉี่ยวชนมากกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ ทำให้หลายคนมีความต้องการที่จะทำประกัน เพราะเพียงแค่ซื้อคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ เดี๋ยวนี้ก็ยังซื้อประกันเพิ่มกันเลย 

สำหรับประกันรถยนต์ค่าเบี้ยประกันชั้นหนึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทต่อปี

3. ค่าใช้จ่ายจิปาถะ
ค่าใช้จ่ายในหัวข้อนี้อาจประกอบไปด้วย เช่น ค่า พรบ. ภาษี ปีละประมาณ 2,500 บาท ค่าถ่ายน้ำมันเครื่องรวมถึงของเหลวอื่น ๆ ประมาณ 2,000 บาท ค่าเปลี่ยนยางรถยนต์ที่ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนทุก 2 ปีไม่เกิน 3 หรือทุก ๆ 50,000 กิโลเมตร (ถ้ายังไม่เปลี่ยนก็ควรเริ่มตรวจสอบสภาพของยางอย่างต่อเนื่อง) ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปีประมาณปีละ 5,000 บาท

เมื่อเรารวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นหลังจากซื้อรถยนต์สักคันต่อเดือนนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งถ้าเราลองเทียบกับรายได้ของเด็กจบปริญญาตรีใหม่ ๆ ที่เงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท ค่าใช้จ่ายเรื่องรถก็ปาเข้าไป มากกว่า 66% ของรายได้ ยังไม่นับเวลาที่เรามีรถ เราก็มีโอกาสที่จะออกไปไหนมาไหนมากกว่าปกติ นั่นก็จะทำให้เรามีรายจ่ายที่เพิ่มเติมขึ้นโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย

ดังนั้น ก่อนจะมีรถสักคันอย่าลืมคิดถึงค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นให้ดี รวมถึงพิจารณาถึงความจำเป็นในการมีรถยนต์สักคันให้ดีด้วย เพราะในช่วงที่ผ่านมามีหลายคนที่ตัดสินใจถอยรถออกมา แต่สุดท้ายก็ผ่อนไม่ไหวจนต้องปล่อยให้ถูกยึดก็มี รวมถึงเมื่อเวลาผ่านไปรถยนต์ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มี “ค่าเสื่อม” แล้วยิ่งเป็นรถใหม่ในช่วงปีแรกมูลค่ารถยนต์จะตกลงอย่างมาก ถ้าคิดจะซื้อรถสักคันเราต้องมั่นใจว่าเราสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จริง ๆ

สำหรับใครที่ลองพิจารณาแล้วว่ามีความจำเป็นต้องซื้อรถยนต์ แล้วประเมินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดแล้วว่าสามารถแบกรับภาระไหว แนะนำว่าให้เริ่มทยอยเก็บเงินผ่อนดาวน์ และควรวางดาวน์อย่างน้อย 25% ขึ้นไป เพื่อให้งวดผ่อนในแต่ละเดือนน้อยลง รวมถึงภาระดอกเบี้ยที่จะโดยเรียกเก็บน้อยลงด้วย 

โดยวิธีการเก็บเงินดาวน์ แนะนำว่าให้ใช้ “เทคนิคทดลองผ่อนจริง” โดยให้เราลองคำนวณดูว่าถ้าเราซื้อรถแล้วเราจะต้องผ่อนเดือนละเท่าไหร่ บวกกับรายจ่ายที่น่าจะเกิดขึ้นหลังจากมีรถยนต์สักคันแล้ว ลองทยอยเก็บเงินปริมาณเดียวกันเพื่อจำลองดูว่าถ้าเกิดอยู่ในสถานการณ์ที่มีรถยนต์จริง ๆ สักคัน เรายังสามารถบริหารจัดการได้ดีหรือไม่ มีเงินใช้เพียงพอหรือเปล่า

ซึ่งเงินที่ทยอยเก็บนั้นสามารถทยอยลงทุนเข้ามาในกองทุนรวมตลาดเงินอย่าง PRINCIPAL iDAILY หรือถ้าใครต้องการโอกาสรับผลตอบแทนที่เพิ่มสูงอาจจะลองพิจารณาที่กองทุนรวมตราสารหนี้อย่าง PRINCIPAL iFIXED ก็ได้เช่นกัน

-    ทั้ง 2 กองเป็น “กองทุนตราสารหนี้”

กองทุนเปิดพรินซิเพิล เดลี่ อินคัม
Principal Daily Income Fund
PRINCIPAL iDAILY
(ชนิดสะสมมูลค่า: PRINCIPAL iDAILY-A)
กองทุนตราสารหนี้

กองทุนเปิดพรินซิเพิล คอร์ ฟิกซ์ อินคัม
Principal Core Fixed Income Fund
PRINCIPAL iFIXED
(ชนิดสะสมมูลค่า : PRINCIPAL iFIXED-A)
กองทุนตราสารหนี้
กองทุนที่ลงทุนแบบมีความเสี่ยงทั้งในและต่างประเทศ
    

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมของ บลจ.พรินซิเพิล ได้ที่ https://www.principal.th/th/mutual-fundth


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน