Market Update: สรุปเหตุการณ์สำคัญที่ควรจับตา

Market Update: สรุปเหตุการณ์สำคัญที่ควรจับตา
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่สำคัญต่อตลาดการเงินโลกและตลาดการเงินไทยเกิดขึ้นหลายประการ ทั้งในเรื่อง
1.    การประชุม FOMC หรือ คณะกรรมการการเงินของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2019 โดยมีผลสรุปที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับปัจจุบันที่ 2.25-2.50 เปอร์เซ็นต์ โดยให้เหตุผลที่เกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอลง ทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐปรับตัวลดลงเล็กน้อย (ราคาสูงขึ้น) นอกจากนี้ยังได้ ประกาศหยุดการปรับลดขนาดงบดุล (QT) ในเดือนกันยายน 2019 ที่จะถึงนี้โดยเริ่มชะลอการปรับลดในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จาก 30,000 ล้านเหรียญ ลงมาที่ 15,000 ล้านเหรียญ
2.    ในขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย ทางคณะกรรมการนโยบายการเงินหรือ กนง ก็ได้มีการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับนโยบายการเงินเช่นกัน โดยทาง กนง ได้มีมติ 7-0 ในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.75 เปอร์เซ็นต์ ทำให้นักลงทุนเชื่อมากขึ้นว่า กนง มีแนวโน้มว่าจะขึ้นดอกเบี้ยช้าลง นับเป็นปัจจัยบวกต่อภาพการลงทุนตราสารหนี้ไทยในปัจจุบัน
3.    Timeline ที่ถูกเลื่อนออกไปของ Brexit หรือการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (“EU”) ของ สหราชอาณาจักร (UK) ที่จากเดิมมีกำหนดการว่า สหราชอาณาจักรจะต้องถอนตัวจาก EU ภายในวันที่ 29 มีนาคม ก็ได้ถูกเลื่อนออกไปตามคำขอของ Theresa May นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร เพื่อเป็นการให้เวลารัฐสภาในการจัดการความขัดแย้งในประเด็นดังกล่าว โดยในสัปดาห์หน้าหากรัฐสภาของสหราชอาณาจักรสามารถสรุป และ บรรลุข้อตกลง Brexit ได้ การออกจาก EU จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือน พฤษภาคม 2019 แต่หากไม่สามารถตกลงกันได้  การออกจาก EU จะเริ่มมีผลบังคับใช้เร็วขึ้น 
คือในวันที่ 12 เมษายน 2019 โดยประเด็นดังกล่าว นับเป็นอีกปัจจัยที่น่าจับตาในช่วงสัปดาห์หน้า

จากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ประกอบกับแนวโน้มเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ทาง บลจ.ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล เชื่อว่า
เศรษฐกิจโลกจะยังมีโอกาสเติบโตได้ในอัตราที่ช้าลงและได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยบวก เช่นอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และสภาพคล่องของตลาดการเงินในอนาคตที่มีลักษณะผ่อนคลายกว่าที่ถูกคาดการณ์ไว้ในช่วงก่อนหน้า แต่ทั้งนี้เราคาดว่าตลาดในระยะสั้นอาจมีความผันผวนได้ เราจึงแนะนำนักลงทุนเน้นการลงทุนในรูปแบบการจัดสรรเงินทุน หรือ Asset allocation รวมถึงแบ่งเงินส่วนหนึ่งเข้าลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์ทางเลือก อย่างเช่น กองทุนอสังหาริมทรัพย์ และ REITs เพื่อกระจายความเสี่ยงด้วย

กองทุนซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (CIMB-PRINCIPAL iPROP)
กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม เป็นกองทุนที่มีนโยบายเน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ตราสารของกองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่ให้ผลตอบแทนเชื่อมโยงกับอสังหาริมทรัพย์ และใช้กลยุทธ์การลงทุนที่เน้นสร้างสมดุลระหว่างผลตอบแทนและความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม  โดย ณ ปัจจุบัน กองทุนมีสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ไทยและต่างประเทศ โดยเน้นสินทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ซึ่งเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องค่อนข้างสูง และรูปแบบการปรับตัวขึ้น-ลงของราคาสินทรัพย์ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่ม REITs ในไทยมากนักในสัดส่วนประมาณ 50:50 เพิ่มโอกาสในการลดผลกระทบในด้านความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนอีกด้วย 
 

11

Source: CIMB Principal Asset Management,Data as of 28 Feb 2018
สำหรับผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัมนั้น นับว่าเป็นกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างดี โดยในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนโดยเฉลี่ยประมาณ 10 -10.5% นอกจากนี้ สำหรับกองทุนซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม ในคลาสจ่ายปันผล และ คลาสขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ กองทุนยังมีประวัติการจ่ายปันผลต่อเนื่องในทุกไตรมาสนับแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบันอีกด้วย (มีนาคม 2019)

12

Source: CIMB Principal Asset Management, Data as of 28 Feb 2018, Benchmark: SET PF&REIT TRI Index 50.00% + FSTREI TRI Index (THB) 50.00%, 
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต/
ผลการดำเนินงานของกองทุนจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการกองทุน 
Disclaimer เอกสารฉบับนี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลเป็น การทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ถือเป็นคำเสนอหรือการเชิญชวนให้บุคคลใดทำการซื้อ และ/หรือขายผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนประเภทต่าง ๆ ตามที่ปรากฎในเอกสารฉบับนี้ และไม่ถือเป็นการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำเกี่ยวกับการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุนของบริษัทต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารนี้แต่อย่างใด / แม้บริษัทจัดการจะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง และตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดทำเอกสารนี้ บริษัทจัดการและพนักงานของบริษัทจัดการไม่มีความรับผิดและจะไม่รับผิดสำหรับความผิดพลาดของข้อมูลใด ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม รวมทั้งจะไม่รับผิดสำหรับการกระทำใด ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเห็นหรือข้อมูลที่ปรากฎอยู่ในเอกสารฉบับนี้ บริษัทจัดการไม่ได้ให้คำรับรองหรือรับประกันไม่ว่าโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายเกี่ยวกับความถูกต้อง แม่นยำ น่าเชื่อถือ ทันต่อเหตุการณ์หรือความสมบูรณ์ของข้อมูลดังกล่าวในกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น / บริษัทจัดการขอปฏิเสธความรับผิดทั้งปวงที่เกิดหรืออาจเกิดขึ้นในทุกกรณี ทั้งนี้ความเห็นบทวิเคราะห์หรือการคาดคะเนต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือผลการดำเนินงานในอนาคตที่ปรากฏในเอกสารนี้ ไม่ถือเป็นเครื่องยืนยัน และอาจแตกต่างจากเหตุการณ์หรือผลประกอบการที่เกิดขึ้นจริงได้ / สำหรับนักลงทุนที่ต้องการทราบข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมหรือรับหนังสือชี้ชวน สามารถติดต่อบริษัจัดการหรือผู้ดำเนินการขายที่ท่านให้บริการ