ออกแบบชีวิตหลังเกษียณ เตรียมพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย (Super Aged Society)

Image

รู้หรือไม่! ปี 2030 คาดว่าประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) หรือจะมีคนสูงวัยที่อายุ 60 – 65 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ

ไม่ใช่แค่ในไทย แต่อีกหลายประเทศทั่วโลกก็เริ่มมีตัวเลขผู้สูงวัยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจนำมาซึ่งภาวะวิกฤตในสังคมผู้สูงวัยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงในหลายๆ ด้าน 
เช่น การเงิน หากรัฐไม่ได้มีการเตรียมสวัสดิการสำหรับคนวัยเกษียณให้พร้อม

วันนี้เราจะยกตัวอย่างประเทศที่มีนโยบายสวัสดิการสำหรับคนวัยหลังเกษียณที่น่าสนใจ มาดูกันว่าโลกเราเตรียมรับมือกับปัญหานี้กันอย่างไร เพื่อที่เราจะได้ไอเดียเตรียมตัวออกแบบชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีคุณภาพ
 

Image

สวัสดิการหลังเกษียณประเทศญี่ปุ่น

- ประชากรอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.9 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ (ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2022*)
- มีระบบบำนาญ Nenkin แบ่งเป็น ‘เงินบำนาญแห่งชาติ’ ที่ใครก็เข้าร่วมได้โดยไม่ต้องถือสัญชาติญี่ปุ่น กับ ‘เงินบำนาญลูกจ้าง’ สำหรับพนักงานบริษัท โดยจะถูกหักเงินเดือนเข้าระบบอัตโนมัติ**
- หากจ่ายเงินบำนาญนี้ ไม่ว่าจะเงินบำนาญแห่งชาติหรือเงินบำนาญลูกจ้าง เกิน 10 ปี และมีอายุถึง 60 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ (Rourei Nenkin) สูงสุด 42,000 บาทต่อเดือน
นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังพยายามเน้นให้ผู้สูงวัยยังทำงานและหารายได้เพิ่มได้ เพื่อลดอัตราความยากจนและทำให้ผู้สูงวัยยังมีส่วนร่วมกับสังคม โดยจะมีบริการจัดหางานให้กลุ่มผู้สูงวัยโดยเฉพาะ

Image

สวัสดิการหลังเกษียณประเทศออสเตรเลีย

- ประชากรอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นร้อยละ 16.9 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ (ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2022*)
- มีระบบเงินบำนาญ 3 ส่วน คือเงินที่ได้จากการจ่ายภาษีตลอดการทำงาน, เงินบำนาญจากบริษัทนายจ้างเก่า และเงินบำนาญจากบัญชีเงินออมเพื่อการเกษียณ โดยผู้สูงอายุจะได้รับเงินทุกๆ 2 สัปดาห์ เฉลี่ยราว 16,000 บาทต่อครั้ง**

โดยรัฐบาลออสเตรเลีย ต้องการจะบังคับให้คนจ่ายเงินบำนาญจากการหักในระบบ เพื่อเพิ่มการออมในครัวเรือน กับลดหนี้สินในครัวเรือน นอกจากนี้รัฐยังมีบริการ Age care โดยเจ้าหน้าที่ ณ ที่พักอาศัยของผู้สูงวัย เช่น ช่วยงานบ้าน ช่วยช้อปปิ้ง ไปจนถึงดูแลสุขภาพโดย พยาบาลหรือนักจิตวิทยา

Image

สวัสดิการหลังเกษียณประเทศสิงคโปร์

- ประชากรอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ (ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2022*)
- ปี 1955 จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลาง Central Provident Fund (CPF) ให้คนได้ออมเงินไว้ใช้หลังเกษียณ โดยนายจ้างจะหักจากเงินเดือนเข้าสมทบกับกองทุน ร้อยละ 20 ส่วนลูกจ้างจ่ายร้อยละ 10**
- มีการจัดตั้ง Ministerial on Aging หรือระบบสวัสดิการของผู้สูงอายุที่จะได้รับจากรัฐบาล อย่างด้านการเงิน รัฐจะส่งเสริมการจ้างงานของผู้สูงวัยเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงิน และให้คนยังพึ่งพาตัวเองได้แม้จะอายุมากแล้ว นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการด้านสถานที่สาธารณะ และระบบขนส่งมวลชน ที่จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงวัยเป็นพิเศษ

Image

สวัสดิการหลังเกษียณประเทศสวีเดน

- ประชากรอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นร้อยละ 20.3 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ (ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2022*)
- ผู้เสียภาษีจะได้รับเงินจากกองทุนผู้สูงอายุ (Old age pension) ส่วนผู้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบกองทุนผู้สูงอายุ จะได้เงินช่วยเหลือยังชีพ (Maintenance support)**
- ผู้เสียภาษีจะได้รับเงินบำนาญเฉลี่ย 46,000 บาท

สวีเดนได้รับยกย่องว่ามีรัฐสวัสดิการดีที่สุดประเทศหนึ่งในโลก ประชาชนจึงยอมจ่ายภาษีสูงๆ เพื่อแลกกับสวัสดิการที่มีประโยชน์ต่อชีวิตเขาจริงๆ แบบยาวๆ จนถึงวัยเกษียณ อย่างการมีบริการดูแลคนแก่ถึงบ้าน หน่วยงานรัฐจะส่งพนักงานทำความสะอาดไปช่วยซักล้าง ซื้อของ ดูแลความปลอดภัย และคอยช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน หรือบางครอบครัวที่ดูแลคนสูงวัยเอง รัฐก็จะซัพพอร์ตเงินในการดูแลผู้สูงอายุภายในบ้านให้ด้วย

Image

สวัสดิการหลังเกษียณประเทศไทย

- ประชากรอายุมากกว่า 65 ปี คิดเป็นร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมดในประเทศ (ข้อมูลเมื่อเดือนธันวาคม 2022*)

เพื่อการเกษียณอย่างมีความสุขและมีเงินใช้แบบสบายๆ ในประเทศไทยมีสวัสดิการที่เรียกว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่สามารถช่วยคุณได้ แต่เป็นภาคสมัครใจ โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะมีเงินสมทบของนายจ้าง สมทบให้เพิ่มอีกส่วนหนึ่งนอกจากเงินของเราที่เก็บสะสม

 

บลจ.พรินซิเพิล ขอเสนอ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (Target Date Retirement Fund)” 

ที่จะมาช่วยในเรื่องของแผนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้ลูกจ้างมีเงินเก็บสะสมได้เหมาะสมมากขึ้น ซึ่งเป็นแผนที่เหมาะสำหรับ คนไม่มีประสบการณ์ ไม่มีเวลา ก็สามารถลงทุนได้ เพราะมีผู้เชี่ยวชาญคอยปรับพอร์ตให้และสามารถใช้แผนเดิมได้ยาวๆ ตั้งแต่เริ่มทำงานจนถึงวัยเกษียณ เพราะผู้จัดการกองทุนจะเป็นคนจัดพอร์ตและปรับพอร์ตให้ตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ เพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนการลงทุนที่สูงในวัยเริ่มทำงาน และทยอยปรับลดความเสี่ยงเมื่อใกล้วัยเกษียณอายุ ไม่ว่ารัฐจะมีสวัสดิการสำหรับคนสูงวัยให้เราแบบไหน ก็ควรลงทุนกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ก่อน เพื่ออนาคตที่มั่นคง มีเงินก้อนใช้แบบสบายๆ ในวัยเกษียณ

สำหรับพนักงานที่บริษัทยังไม่มี กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แล้วบริษัทสนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สามารถไปบอกให้นายจ้างติดต่อ Principal ได้ที่ 
เว็บไซต์ https://www.principal.th/ หรือโทร 02-686-9500 กด 2

หรือกรอกข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้ที่ https://www.principal.th/th/contact-us
ดูข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.principal.th/th/provident-fund

#PrincipalThailand #PrincipalTargetdatefund

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

🔵 ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมจาก บลจ.พรินซิเพิล ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/principalthailand
YouTube : https://www.youtube.com/c/PrincipalThailand
LINE: @PrincipalThailand หรือคลิก https://lin.ee/VtrvatK
Website : ​​https://www.principal.th หรือโทร 02-686-9500