ปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร ให้รับมือกับวิกฤตต่างๆ ได้อยู่เสมอ

ปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร ให้รับมือกับวิกฤติต่างๆได้อยู่เสมอ

โดยทั่วไปแล้วนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนก็มักจะคาดหวัง ‘ผลตอบแทน’ เพื่อให้ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น แต่อีกหนึ่งเรื่องที่ต้องห้ามลืมเด็ดขาดเมื่อพูดถึงเรื่องการลงทุน ก็คือ ‘ความเสี่ยง’ หรือโอกาสที่ทำให้เงินลงทุนขาดทุนนั่นเอง 
 
ถ้าเราลองมองดูที่ MSCI All Country World Index ที่เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยจากตลาดหุ้นทั่วโลกทั้ง Develop Market และ Emerging Market ตามสัดส่วน จะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกตั้งแต่ปี 2005 มีแนวโน้มเป็นขาขึ้นมาโดยตลอดก็ตาม แต่ก็จะมีหลายช่วงที่ปรับตัวลงอย่างรุนแรง นั่นคือ ช่วงที่เกิดวิกฤตต่าง ๆ ขึ้นมาบนโลก

ช่วงปี 2008 เกิดวิกฤตซับไพร์ม (Subprime Crisis) หรือบางคนอาจจะคุ้นชื่อว่าวิกฤตการณ์แฮมเบอเกอร์ เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่สหรัฐอเมริกาทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยรวมปรับตัวลงมากกว่า 50% เลยทีเดียว

ช่วงปี 2016 เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบจากระดับ 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปรับตัวลงมาแถว 33 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จนทำให้หุ้นพลังงานทั่วโลกปรับตัวลดลงจากรายได้ที่ลดลง รวมถึงการขาดทุนสินค้าคงคลังอย่างมหาศาลในช่วงเวลาดังกล่าว

จนมาล่าสุดปี 2020 ที่เกิดวิกฤต Covid-19 ที่ทุกประเทศต้องปิดเมือง (Lockdown) ทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงักไปตาม ๆ กัน จนตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงเฉลี่ยกว่า 22% ถ้ามองไปที่หุ้นรายตัวบางตัวที่มีการติดลบมากกว่า 70-80% (ที่มา: MSCI All Country World Index ข้อมูล ณ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 มีนาคม 2563) แต่ยังไม่มีวี่แววที่จะกลับมาได้ก็มีเช่นกัน ซึ่ง ณ เวลานี้ก็ยังไม่มีใครบอกได้ว่าวิกฤต Covid-19 สิ้นสุดแล้วหรือยัง เพราะจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีวัคซีนออกมาใช้อย่างเป็นทางการ

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญในการลงทุนอย่างหนึ่ง คือ การติดตามข่าวสารและสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง จากนั้นก็ ‘ปรับพอร์ต’ ให้เข้ากับจังหวะการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าใครที่ได้ติดตามตลาดการลงทุนจะเห็นได้ว่าก่อนตลาดจะปรับตัวลงอย่างรุนแรงก็จะมีสัญญาณเตือนหรือตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวที่บอกนักลงทุนอยู่เสมอว่า ณ เวลานี้ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ

เมื่อถึงเวลานั้นสิ่งที่สำคัญ คือ การปรับลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นลง แล้วปรับพอร์ตไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำอย่างเงินฝาก พันธบัตร หุ้นกู้ แทนเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงที่แนวโน้มเศรษฐกิจอยู่ในจังหวะที่เปราะบาง หรือโอกาสการลงทุนใน “ทองคำ” ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีในยามที่เกิดวิกฤติ

แต่ปัญหาของมือใหม่ในการลงทุน คือ ไม่รู้ว่าต้องดูตัวเลขเศรษฐกิจตัวไหน สัญญาณเตือนคืออะไร รวมถึงอาจจะไม่มีเวลาติดตามข่าวสารที่มากพอจนสังเกตเห็นความเปราะบางนั้นได้ ซึ่งทางออกสำหรับปัญหานี้ คือ การใช้กองทุนรวมผสม (Mixed Fund) ที่มีการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั้งความเสี่ยงต่ำและความเสี่ยงสูง รวมถึงมีการปรับพอร์ตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้จังหวะการลงทุนที่ดีที่สุด

บลจ. พรินซิเพิล ก็มีนำเสนอ ‘กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (PRINCIPLE iBALANCED)’ เป็นกองทุนผสมที่มีการกระจายการลงทุนไปในทุกสินทรัพย์ทั่วโลกทั้งหุ้น ตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำรวมถึงไปจนถึง Exchange Traded Fund (ETF)

ผู้จัดการกองทุนจะทำการปรับพอร์ตต่าง ๆ ตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา ถ้าเห็นว่าราคาหุ้นที่ลงทุนมีการปรับเพิ่มขึ้นจะทำการขายทำกำไร และนำมาลงทุนในตราสารหนี้หรือสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำอัตโนมัติ เพื่อเป็นการล๊อกผลกำไรไว้ก่อน โดยที่ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ต้องวุ่นวายในการจัดการบริหารเอง 

นอกจากนี้ ‘กองทุนเปิดพรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (PRINCIPLE iBALANCED)’ ยังมีชนิดขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ (Class-R) ให้เลือกลงทุน โดยกองทุนจะทำการขายคืนอัตโนมัติ (Auto Redemption) และชนิดจ่ายเงินปันผล Dividend หรือ (Class-D) ออกมาทุก 3 เดือน ให้กับนักลงทุนเลือกลงทุนและเหมาะสำหรับคนที่ต้องการกระแสเงินสดรับอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.principal.th/ หรือโทร 02-686-9595

คำเตือน:
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงาน ของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ก่อนการตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / กอง PRINCIPAL iBALANCED โปรดศึกษารายละเอียดเงื่อนไขการจ่ายเงินปันผลและการขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนส่วนข้อมูลโครงการ / ผู้ลงทุนควรศึกษาเงื่อนไขการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติและการจ่ายเงินปันผลของหน่วยลงทุนแต่ละชนิดของกองทุนได้ที่ www.principal.th