วัยเริ่มทำงานก็ฝันถึงเงินหลักล้านได้ ด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ.พรินซิเพิล

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

คนวัย First Jobber ที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน เงินเดือนก็คงยังไม่ได้มากอะไร แต่สวนทางกับรายจ่ายที่เยอะจนแทบจะแซงรายได้ไปแล้ว เห็นเงินที่เหลือสุทธิในแต่ละเดือนก็คงได้แต่ส่ายหัวกับความฝันที่จะมีเงินเก็บเป็นล้านๆ มันคงไกลเกินเอื้อม
.
แต่รู้หรือไม่…คนวัยเริ่มทำงานก็ฝันถึงเงินเก็บหลักล้านได้นะ ด้วยการเลือกสะสมเงินกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่ทั้งง่ายและใช้เงินลงทุนต่อเดือนไม่มาก ทั้งยังได้เงินสมทบจากนายจ้างอีกด้วย (สัดส่วนที่จะเพิ่มเป็นไปตามนโยบายที่นายจ้างกำหนด)
.
เป็นการลงทุนระยะยาวแบบต่อเนื่อง อาจไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่รวดเร็ว แต่เงินคุณจะมีการงอกเงย เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่มากกว่าในอนาคต
.
ถ้าพร้อมจะฝันถึงเงินก้อนหลักล้าน บลจ. พรินซิเพิล มีเทคนิคมาฝากนักลงทุนวัย First Jobber ทุกคน บอกเลยว่าทำได้ไม่ยาก
.
ดูข้อมูลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มเติมได้ที่ https://www.principal.th/th/provident-fund 
.
สนใจจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คลิก
.
ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.principal.th/ หรือโทร 02-686-9500 กด 2

1

เทคนิค #1 ได้เงินเดือนเพิ่มก็ควรเพิ่มเงินสะสมให้มากขึ้น

ตัวอย่าง - นายพริน อายุ 25 ปี เป็นมนุษย์ออฟฟิศที่เริ่มทำงานได้ 1 ปี และวางเป้าไว้ว่าจะเกษียณตอนอายุ 60 ฐานเงินเดือนปัจจุบันคือ 20,000 บาท โดยมีอัตราการเพิ่มของเงินเดือนที่ 3% ต่อปี

ในช่วงแรกของการฝาก "เงินสะสม“ เข้าไปในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้เลือกอัตราเงินสะสมที่ 2-3% จนทำงานไปอีกสักระยะ เริ่มมีเงินเดือนที่มากขึ้น ก็อาจขยับอัตราเงินสะสมเป็น 5% และ 7-10%

และหากเราเพิ่มอัตราสะสมมากขึ้น ก็จะยิ่งได้เงินสมทบจากนายจ้างมากขึ้น อีกทั้งเงินสะสมที่มากขึ้นก็เป็นสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มากขึ้นตาม

2

เทคนิค #2 เลือกแผนการลงทุน ให้เหมาะกับช่วงอายุ

ในช่วงแรกๆ ของการลงทุน คนวัยเริ่มทำงานคือวัยที่ได้เปรียบในการออม และลงทุนมากที่สุด เพราะอยู่ในช่วงวัยที่ยังไม่มีภาระรับผิดชอบมาก อาจจะยังไม่แต่งงาน ไม่มีลูก หรือยังไม่มีสินทรัพย์ราคาแพง (บ้าน, คอนโด, รถ) ให้ต้องผ่อนจ่ายเป็นรายเดือน

รวมถึงยังมีเวลาและกำลังในการหารายได้อีกนาน จึงสามารถเพิ่มสัดส่วนสินทรัพย์ที่จะลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงๆ หรือเลือกนโยบายการลงทุนที่เสี่ยงสูงขึ้นได้ เพื่อให้เงินได้เติบโตในช่วงแรก แล้วจึงค่อยๆ ลดความเสี่ยงของสินทรัพย์ลง เมื่อเข้าสู่วัยใกล้เกษียณ

แต่หากเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของ บลจ. พรินซิเพิล เรามีแผนการลงทุน Target Date Fund ที่มีผู้จัดการกองทุนช่วยดูแลพอร์ตให้ตั้งแต่วัยเริ่มทำงานไปจนถึงเกษียณ โดยปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของแต่ละช่วงอายุ

3

เทคนิค #3 หมั่นตรวจสอบพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ว่าแผนการลงทุนยังตอบโจทย์ชีวิตหลังเกษียณหรือไม่

ควรตรวจสอบว่าแผนการลงทุนที่เลือกไปได้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร ความเสี่ยงเหมาะกับเราไหม เพื่อให้มั่นใจว่าแผนการลงทุนที่เลือกนั้นจะตอบโจทย์ชีวิตหลังเกษียณได้จริงๆ

4

หมดทุกข้อกังวลกับการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่เลือกแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (Principal Target Date Retirement Fund)

ด้วย 4 กลยุทธ์การลงทุนนี้

1.การคัดเลือกประเภทของสินทรัพย์ (Asset Class Selection) เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี ช่วยสร้างรายได้สม่ำเสมอในระยะยาว

2.การปรับกลยุทธ์การลงทุนตามสภาวะตลาด (Tactical Asset Allocation) Fund Manager จะคอยปรับกลยุทธ์ให้ โดยผู้ลงทุนไม่ต้องติดตามสถานการณ์ตลาดเอง

3.การปรับพอร์ตการลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation) สร้างโอกาสรับผลตอบแทนสูงในวัยเริ่มทำงาน แล้วค่อยปรับลดความเสี่ยงลงเมื่อใกล้วัยเกษียณ

4.การสร้างวินัยการลงทุนด้วยเทคนิค Rebalancing Portfolio ปรับสัดส่วนการลงทุนให้สมาชิกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้สมาชิกมีความเสี่ยงเกินกว่าที่รับได้

เงินหลักล้านที่เคยวาดฝันไว้ หากอยากให้มันเป็นจริง ต้องมีระเบียบวินัยในการออม แต่หากเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล ก็หมดกังวล เพราะถ้าเลือกแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (Principal Target Date Retirement Fund) ทางผู้จัดการกองทุนจะเป็นคนคอยดูแลพอร์ตการลงทุนให้คุณเอง

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต