มุมมองของ Principal ต่อสภาวะตลาดโลก

ตลาดโลกในช่วงนี้ดูมีทั้งขึ้นทั้งลงในวันเดียว ไม่เพียงเท่านั้น ยังเชื่อมโยงไปกับข่าวเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก


ในฐานะนักลงทุน ทุกท่านน่าจะทราบดีว่าหนทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จริงอยู่ว่าเชื้อไวรัสที่กำลังแพร่กระจายอยู่ในขณะนี้น่าเป็นห่วง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความผันผวนของตลาดจะเป็นเรื่องลบๆ เท่านั้น

ที่จริงแล้วความผันผวนของตลาดไม่ได้จำกัดอยู่แค่ช่วงขาลงเท่านั้น มันคือการเคลื่อนไหวโดยรวมของตลาด มีขาลงก็ต้องมีช่วงขาขึ้น อย่างในช่วงนี้ที่เป็นช่วงดิ่งของตลาดโลก สาเหตุหลักๆ ก็มาจาก

- ความกลัวต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 (ไวรัสโคโรนา) ที่แพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) เป็นหลัก
- ประเทศจีนที่เป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสนั้น ได้บุกตลาดและเติบโตขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกไปแล้ว จึงทำให้ผลกระทบดังกล่าวรุนแรงกว่าเหตุการณ์เชื้อไวรัสซาร์สที่แพร่กระจายไปทั่วโลกในปีพ.ศ. 2546 เสียอีก

อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกท่านมองภาพรวมและคิดอยู่เสมอว่า ความผันผวนของตลาดในช่วงขณะนี้ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่า สิ้นปีนี้ผลตอบแทนของตลาดจะเป็นลบ

ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความผันผวนในท้องตลาด

“มีหลากหลายทฤษฎีที่ใครๆ ก็พูดกัน แต่ตัวการหลักที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอน ที่มักจะทำให้เกิดความผันผวนของตลาดมีอยู่ 2 ประการ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย และการเติบโตทางเศรษฐกิจ” กล่าวโดยดร.บ็อบ เบาเออร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์โลกของบริษัท Principal Global Investors

อัตราดอกเบี้ย

ลองมองให้อัตราดอกเบี้ยเป็นราคาของเงินดูสิ เมื่อไหร่ที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ธุรกิจก็อาจต้องจ่ายมากขึ้น เพื่อยืมเงินมาช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโตและวิ่งต่อไปได้ แต่เมื่อไหร่ที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง ธุรกิจก็สามารถยืมเงินมาได้ในราคาที่ถูกกว่า ด้วยความสัมพันธ์นี้ อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการลงทุน เนื่องจากนักลงทุนรับรู้ถึงผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

โดยปกติแล้ว เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นมักจะทำให้เกิดความผันผวนอย่างมากในท้องตลาด ธุรกิจต่างๆ กังวลว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะลดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง ถือเป็นข่าวดีของนักธุรกิจในตลาด เพราะหมายถึงต้นทุนการกู้ยืมต่ำกว่าซึ่งอาจทำให้ธุรกิจเติบโตและดำเนินต่อไปได้

การเติบโตทางเศรษฐกิจ

ถือเป็นปัจจัยที่คอยขับเคลื่อนแหล่งรายได้หลักของบริษัทก็ว่าได้ ดังนั้นมันจึงส่งผลต่อการลงทุนด้วยเช่นกัน เมื่อไหร่ก็ตามที่นักลงทุนเริ่มกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว (เช่น ในช่วงการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่าในปัจจุบัน) สภาวะของตลาดสามารถขยับลงต่ำกว่าได้อีก โดยคาดการณ์ได้เลยว่ากำลังจะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจหดตัว

ความผันผวนของตลาดไม่ใช่เรื่องใหม่ (แม้จะมีวิกฤตไวรัสโคโรนาหรือไม่มีก็ตาม)

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ความผันผวนของตลาดคือส่วนหนึ่งของการลงทุน ซึ่งตลาดในปัจจุบันก็ไม่ได้ผันผวนมากกว่าเมื่อก่อนเลย แต่สิ่งที่ต่างออกไปในครั้งนี้ คือ ความเสี่ยงและผลกระทบต่อธุรกิจนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเกินไป ซึ่งอาจเป็นผลมาจากประกาศของทางราชการ ความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสจะพัฒนาไปเป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก หรือแม้แต่การทวีตข้อความธรรมดาๆ ก็ก่อให้เกิดความผันผวนในตลาดได้

ต้นเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากเทคโนโลยีในปัจจุบัน ที่ข้อมูลต่างๆ ถูกเผยแพร่และส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว ข่าวสารต่างๆ ทั้งด้านบวกและลบจึงถูกเผยแพร่เข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้นและเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงบางส่วนยังได้เป็นผลมาจากห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่เชื่อมโยงถึงกันอีกด้วย

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น มี 2 สิ่งที่นักลงทุนควรจำให้ขึ้นใจ ข้อแรกและถือเป็นข้อที่สำคัญที่สุด คือ ความผันผวนมักเป็นปรากฏการณ์ระยะสั้น แต่การเกษียณถือเป็นโอกาสในระยะยาว ดังนั้น จงยึดมั่นกับแผนการลงทุนในระยะยาว จะได้ไม่เครียดกับความผันผวนที่เกิดขึ้นในช่วงขณะหนึ่งมากนัก

ประการที่สอง ตลาดจะเรียนรู้และปรับตัวให้ทันต่อความเร็วของข้อมูลข่าวสารได้เอง อาจจะต้องใช้ระยะเวลาอยู่บ้างในยุคที่ข่าวสารเดินทางด้วยความเร็วสูงอย่างในปัจจุบัน แต่ในท้ายที่สุด ตลาดจะเรียนรู้ได้ว่าข่าวไหนเป็นข่าวลวง ข่าวไหนเป็นข้อมูลจริงอย่างที่เคยเป็นมาตลอดตั้งแต่อดีต

เรื่องนี้สำคัญต่อการลงทุนอย่างไร

ความผันผวนของตลาดไม่ได้ทำให้คำมั่นสัญญาที่เราให้ไว้กับคุณเปลี่ยนแปลงไป ถึงแม้โดยทั่วไปความผันผวนจะเป็นปรากฏการณ์ระยะสั้น แต่เราไม่สนับสนุนให้คุณด่วนตัดสินใจโดยไม่คิดให้รอบคอบเสียก่อน เพราะวิธีการลงทุนที่ดีขึ้นอยู่กับมุมมองระยะยาว และระยะเวลาในการลงทุนของคุณ โปรดจงจำไว้ว่า

  • ความผันผวนของตลาดอาจนำมาซึ่งโอกาสที่ดีก็ได้ กลไกตลาดบางทีก็ประหลาด เผลอๆ อาจขายได้มากกว่าที่เขาว่าไว้ในหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานเสียอีก เมื่อตลาดทรุดตัวลงด้วยเหตุผลนี้ คุณอาจมีกำลังซื้อได้มากขึ้นด้วยเงินที่คุณลงทุน
  • พยายามกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน ด้วยการกระจายการลงทุนให้หลากหลาย วิธีนี้จะช่วยคุณได้ในช่วงสภาวะตลาดผันผวน

 

*แนวโน้มตลาดข้างต้นมิได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเชิญชวน แนะนำ ยื่นข้อเสนอ หรือข้อตกลงร่วมในการลงทุนใดๆ ต่อผู้อ่านทั้งสิ้น ข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอมุมมองขององค์กร Principal Asset Management Berhad (เดิมชื่อ CIMB-Principal Asset Management Berhad) (“พรินซิเพิล มาเลเชีย”) หรือเป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่พรินซิเพิล มาเลเชียเชื่อถือเท่านั้น อย่างไรก็ดี พรินซิเพิล มาเลเชียจะไม่มีส่วนรับประกัน เป็นตัวแทน หรือรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำการใดๆ ตามข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น หรือเนื้อหาส่วนใดในหนังสือแสดงแนวโน้มทางตลาดฉบับนี้