เหตุผลกองทุนสำรอง (ไม่พอ) เลี้ยงชีพ

เหตุผลที่กองทุนสำรองไม่พอเลี้ยงชีพ

ทำไมเรื่อง “การลงทุน” ถึงสำคัญ?

เมื่อพูดถึงเรื่องการลงทุน หลาย ๆ คนโดยเฉพาะมือใหม่คงส่ายหน้ากันเป็นแถว เพราะกลัวขาดทุน หรือยังไม่เข้าใจเรื่องของการลงทุนต้องทำยังไง ลงทุนยังไง วีธีที่ง่ายที่สุดคือเลือกที่จะฝากธนาคารไว้เก็บดอกเบี้ย เพราะคิดว่ายังไงก็ปลอดภัย แต่ใช่ว่าจะปลอดภัยไปตลอด ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันได้มีนโยบายคุ้มครองเงินฝากใหม่ที่คุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1,000,000 บาท (source : DPA, 7 สิงหาคม 2564) ทำให้หลาย ๆ คนที่มีเงินมากกว่าที่กฎหมายคุ้มครองต้องกลับมาคิดว่าจะทำยังไง อีกทั้งยังมีปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้ค่าครองชีพมีโอกาสสูงขึ้น หากเรามีเพียงแค่เงินฝากในธนาคารอาจจะไม่เพียงพอต่อการดำรงเลี้ยงชีพอีกต่อไป เพราะฉะนั้นการลงทุนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีโอกาสในการทำกำไรให้งอกเงยเพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ

ณ ปัจจุบัน การลงทุนไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ หุ้น ทอง คริปโตเคอเรนซี่ และอื่น ๆ เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหลากหลายวัย แต่สิ่งนึงที่หลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามคือเรื่องของ “การลงทุนระยะยาว” ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ลงทุนหุ้นปันผล ซึ่ง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” เองก็หนึ่งในการลงทุนระยะยาว ที่เป็นหนึ่งในรายได้หลักสำหรับชีวิตวัยเกษียณ

ทำไมต้องสนใจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ?

ข้อมูลจาก BOI ชี้ว่า ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนไทยจะมีอายุสูงขึ้นโดยปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคุณผู้หญิงจะมีอายุ 78.9 ปี ส่วนของคุณผู้ชายจะอยู่ที่ 72.4 ปี (source : BOI, 29 กรกฎาคม 2564) ดังนั้นหลังจากที่เราเกษียณโดยทั่วไปที่ 60 ปีเราจะต้องเก็บเงินเพื่อการเกษียณและดำรงชีวิตอยู่ให้ได้อย่างน้อย 20 ปี ด้วยสาเหตุนี้ หากบริษัทไหนมีกองทุนรองเลี้ยงชีพ ก็ควรหมั่นไปตรวจเช็กพอร์ตการลงทุนหรือเลือกแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง หากเราไม่ได้สนใจในการเลือกแผนการลงทุนคงมีโอกาสที่ กองทุนสำรอง (ไม่พอ) เลี้ยงชีพ

เราลองมาดูตัวอย่างที่คนมักจะเข้าใจผิดเรื่องของการลงทุนสำรองเลี้ยงชีพกัน

1. เลือกที่จะไม่หักเงินเดือนเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพราะมองว่าลงทุนในสินทรัพย์อื่นผลตอบแทนมากกว่า

จริงๆแล้วต้องบอกว่า การลงทุนแต่ละอย่าง มีลักษณะและวัตถุประสงค์ไม่เหมือนกัน การลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือการลงทุนระยะยาวเพื่อวัยเกษียณ เพราะฉะนั้น เหมือนการวิ่งมาราธอนที่ต้องใช้เวลาการลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เพียงพอต่อวัยเกษียณ ต่างจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่น เช่น หุ้น บางคนเล่นระยะสั้นหวังรายได้ที่ได้จากส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขาย เพราะฉะนั้น วัตถุประสงค์การลงทุนจะไม่เหมือนกัน แนะนำว่าเราควรแบ่งสัดส่วนเงินลงทุนกระจายไปในหลายสินทรัพย์เพื่อกระจายความเสี่ยง

2. เลือกที่จะไม่ให้ความสำคัญในการเลือกแผนการลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

บางคนอาจจะมองข้ามความสำคัญกับการเลือกแผนการลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บ้างก็จะเลือกลงทุนแบบปลอดภัย ลงทุนสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงต่ำ บางคนก็ลงกองทุนต่างประเทศเพราะเห็นมาผลประกอบการดี โดยที่อาจจะไม่ได้มองเรื่องของความเสี่ยงการลงทุน ซึ่งต้องบอกว่าหลายๆ คนมองข้ามความสำคัญตรงนี้ ตามหลักที่ควรจะเป็นคือ อายุน้อย ให้แบ่งน้ำหนักเงินลงทุนไปลงแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสได้รับผลตอบแทนมากขึ้น และ เมื่ออายุมากขึ้นจึงค่อยปรับพอร์ตการลงทุนมาลงในแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะไม่ยังงั้นเลือกความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนที่ได้อาจจะไม่เพียงพอต่อชีวิตวัยเกษียณ เลือกความเสี่ยงสูงไปอาจมีโอกาสสูญเสียเงินต้นได้ อ่านบทความเพิ่มเติม “เลือกแผนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ดีมีชัยไปกว่าขึ้น” ได้ที่ https://www.principal.th/th/choosepvdwisely 

สำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บลจ. พรินซิเพิล มีแผนการลงทุนที่ครอคลุมทุกความต้องการไม่ว่าจะเป็น แผนการลงทุนสมดุลตามอายุ (Target Date) ที่เหมาะกับสมาชิกที่ไม่มีประสบการณ์เรื่องการลงทุนหรือไม่มีเวลาดูตลาด ทางผู้จัดการกองทุน จะเป็นคนลงทุนให้โดยเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะสมกับอายุแต่ละคน โดยแผนการลงทุนนี้จะมีการกระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์ต่างๆโดยการ 

•    Asset Class Allocation คัดเลือกสินทรัพย์พื้นฐานดี
•    Strategic Asset Class Allocation ปรับพอร์ตการลงทุนระยะยาว
•    Tactical Asset Allocation ปรับการลงทุนตามสภาวะตลาด
•    Rebalancing Portfolio ปรับความเสี่ยงให้สมดุลให้เมื่ออายุของสมาชิกเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้เองยังมีแผนการลงทุนสมดุลตามความเสี่ยง (Target Risk) สำหรับสมาชิกที่มีประสบการณ์การลงทุนและมีเวลาในการดูตลาด โดยสมาชิกสามารถกำหนดสัดส่วนการลงทุนเองได้ตามสไตล์ของตัวเอง

ดูข้อมูลแผนการลงทุน Target Date และ Target Risk ได้ที่ https://www.principal.th/th/provident-fund

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 026869595
www.principal.th

Facebook: https://www.facebook.com/principalthailand 
LINE: https://lin.ee/C6KFF6E หรือ @principalthailand
YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCqELMp69UteyKgtWo4JuBqg

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต/ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

Source:
https://www.dpa.or.th/articles/view/khumkhrxng-ngein-fak-25-lan-bath-re…;
https://www.boi.go.th/index.php?page=demographic&language=th