ทำไมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถึงเป็นสวัสดิการที่นายจ้างควรมี?

ทำไมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถึงเป็นสวัสดิการที่นายจ้างควรมี

เมื่อพูดถึงสวัสดิการในการทำงานของพนักงานภายในบริษัท หลายๆ คนอาจจะนึกถึงโบนัส การประกันชีวิตและประกันภัยแบบกลุ่ม เบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง เงินสนับสนุนการพัฒนาความสามารถต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน แต่รู้กันหรือไม่ว่าอีกหนึ่งสวัสดิการที่เหล่านายจ้างห้ามมองข้ามเลยก็คือ "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)"

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือที่เรามักจะเรียกว่า Provident Fund เป็นอีกหนึ่งสวัสดิการที่ลูกจ้างมักจะใช้เป็นหนึ่งในปัจจัยในการตัดสินใจเข้าร่วมทำงานกับบริษัทนั้น ๆ ด้วย เพราะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพถือว่าเป็นแหล่งเงินเกษียณที่มีขนาดใหญ่ลำดับต้น ๆ ของคนที่ทำงานประจำที่มาจากเงิน “เงินสะสม” ของลูกจ้างและ “เงินสมทบ” จากนายจ้างบวกกับเงินที่เพิ่มจากการลงทุนอีกด้วย นอกจากนี้ “เงินสะสม” ที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีช่วยให้ลูกจ้างเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาน้อยลงได้ด้วย รวมถึง “เงินสมทบ” เองที่นายจ้างก็สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เช่นเดียวกัน ทำให้ ณ ปัจจุบันนายจ้างก็เริ่มให้ความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้พนักงานอยู่กับบริษัทและเป็นแรงดึงดูดที่ช่วยดึงแรงงานที่มีคุณภาพเข้ามาร่วมทำงาน  

สำหรับนายจ้างที่สนใจและต้องการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขั้นตอนแรกทางบริษัทสามารถสอบถาม “บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)” ที่มีการให้บริการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเข้ามานำเสนอ (อย่างน้อย 2-3 บลจ.) เพื่อเปรียบเทียบและหา บลจ. ที่เหมาะสมกับบริษัทมากที่สุด โดย บลจ. จะเข้ามานำเสนอแผนการลงทุน พร้อมผลการดำเนินงานย้อนหลังเปรียบเทียบกับตลาด การบริการ และอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณา รวมถึงแนะนำขั้นตอนการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

ขั้นตอนต่อไปเมื่อเราสามารถเลือกบริษัทจัดการกองทุนที่เหมาะสมและตกลงจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้เรียบร้อยแล้ว ส่วนที่เหลืออื่น ๆ ทาง บลจ. จะช่วยดำเนินงานต่อให้ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำเรื่องการกำหนดอัตราเงินสะสมและเงินสมทบที่เหมาะสม เงื่อนไขการจ่ายเงินของกองทุน ตลอดจนนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมกับพนักงานของบริษัท เมื่อหาข้อสรุปทั้งหมดได้เรียบร้อยแล้ว ก็ทำสัญญาตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรได้เลยทันที

สำหรับส่วนของ “อายุสัญญา” แนะนำว่าที่ไม่ควรจะสั้นจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทจัดการกองทุนมุ่งเน้นผลตอบแทนระยะสั้นจนเสียโอกาสในระยะยาว เพราะหากมองในมุมของบริษัทจัดการ ยิ่งทำผลตอบแทนได้ดีมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้รับการต่ออายุ ดังนั้น เมื่ออายุสัญญาสั้นเกินไป อาจจะทำให้ระดับความเสี่ยงในการลงทุนสูงกว่าที่ควรจะเป็น

และระหว่างที่บลจ. นำเรื่องการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปจดทะเบียนกับทางกลต. ทางบริษัทควรเริ่มให้ บลจ.เข้ามาให้ความรู้เรื่อง "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ" กับบุคลากรภายในองค์กร ไม่ว่าจะการจัดอบรม การประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เหตุผลก็เพราะว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเองจำเป็นที่ต้องใช้ความร่วมมือระหว่าง "นายจ้าง" และ "ลูกจ้าง" เพราะเมื่อบริษัทจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นมาแล้ว ลูกจ้างก็มีหน้าที่จะต้องจ่ายเงิน "สะสม" เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพพร้อมกับการจ่าย "สมทบ" ของนายจ้าง นั่นหมายความว่าสวัสดิการในลักษณะนี้จะไม่ใช่การให้เปล่าแบบสวัสดิการอื่น ๆ แต่ลูกจ้างจะต้องมีการร่วมจ่ายด้วยนั่นเอง

หาก "ลูกจ้าง" มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เข้าใจว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพคืออะไร มีประโยชน์และช่วยสร้างเงินยามเกษียณได้อย่างไร ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงเข้าใจว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีระบบการดำเนินการแบบไหน ก็จะไม่เกิดแรงต่อต้านในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเกิดขึ้น 

หลังจากจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเรียบร้อยแล้ว นายจ้างก็ต้องจัดให้มีบุคคลที่รับผิดชอบเรื่องระเบียบการส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เพื่อให้บริษัทจัดการสามารถนำเงินไปบริหารจัดการต่อได้ กฎหมายกำหนดให้นายจ้างจะต้องจัดส่งเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนภายใน 3 วันทำการหลังจากที่มีการจ่ายค่าจ้างควรมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอด้วยว่ามีการนำเงินส่งเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาได้

อย่างไรก็ตาม บริษัทจัดการกองทุนจะมีรายงานให้สมาชิกปีละ 2 ครั้ง เกี่ยวกับการบริหารเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ใดบ้าง สัดส่วนเป็นอย่างไร ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ เพื่อเป็นการ update ผลการดำเนินงานให้สมาชิกทราบนั่นเอง

สำหรับ บลจ. พรินซิเพิล มีบริการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยมีนโยบายการลงทุนให้เลือกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย “สมดุลตามอายุ (Principal Target Date Fund)” ที่มีจุดเด่นคือ การปรับพอร์ตลงทุนระยะยาว (Strategic Asset Allocation) ซึ่งกองทุนนั้นสามารถปรับระดับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามอายุของสมาชิกที่เพิ่มขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็จะลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลง เพื่อปรับตามความสามารถในการรับความเสี่ยงที่น้อยลงเมื่อเราอายุมากขึ้น พร้อมมีบริการปรับพอร์ตการลงทุนด้วยเทคนิค  Rebalancing Portfolio เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสมาชิกได้ลงทุนตามระดับความเสี่ยงที่เหมาะกับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกไม่ต้องมาคอยปวดหัวปรับพอร์ตการลงทุนด้วยตัวเอง

ไม่เพียงเท่านี้ทาง บลจ. พรินซิเพิล ก็ยังช่วย “คัดเลือกสินทรัพย์แต่ละประเภท (Asset Class Selection)” ให้เหมาะสมกับสมาชิกมากที่สุด โดยจะเน้นลงทุนสินทรัพย์ที่มีพื้นฐานดี มีความสามารถในการเติบโตและสร้างรายได้ในระยะยาว

แต่ก็อย่างที่รู้กันว่าในโลกของการลงทุนอาจจะมีความผันผวนในระยะสั้นได้ บลจ. พรินซิเพิล ก็ได้มีการกำหนด “กลยุทธ์การลงทุนตามสภาวะตลาด (Tactical Asset Allocation)” โดยการเพิ่มหรือลดน้ำหนักการลงทุนในแต่ละประเภทสินทรัพย์เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกการลงทุนในระยะสั้น เพื่อให้พอร์ตการลงทุนมีผลตอบแทนคาดหวังที่สูงขึ้น ในสภาวะความเสี่ยงที่ลดลงนั่นเอง  

หรือสำหรับสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพท่านใดที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนและต้องการกำหนดสัดส่วนพอร์ตการลงทุนด้วยตัวเองก็สามารถเลือกใช้นโยบายที่เรียกว่า Target Risk ได้เอง ทั้งนี้ สมาชิกที่เลือกแผน Target Risk จะต้องสำรวจแผนที่ตนเองเลือกอยู่สม่ำเสมอว่ายังเหมาะสมกับอายุและความเสี่ยงที่รับได้อยู่หรือไม่ เมื่อสมาชิกเห็นว่าไม่เหมาะสมแล้ว ก็ต้องสับเปลี่ยนแผนการลงทุนต่อไป

นอกจากนี้ บลจ. พรินซิเพิล ก็มีบริการ Plan WISE Retire WELL ที่จะทำให้สมาชิกสามารถประมาณการณ์อนาคตการเกษียณของตัวเองที่ชัดเจนมากขึ้น เพียงแค่กรอกข้อมูลไม่กี่ข้อ ก็รู้ผลได้ทันทีว่า ณ วันเกษียณเราจะมีเงินประมาณเท่าไหร่ เพียงพอหรือไม่ ถ้าคิดว่ายังน้อยเกินไป ก็สามารถทดลองปรับเปลี่ยนอัตราเงินสะสม รวมถึงนโยบายการลงทุนต่าง ๆ เพื่อให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น

นอกจากนี้ บลจ. พรินซิเพิล ก็มีบริการให้ความรู้กับสมาชิกในการเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะกับตัวสมาชิก และก็ยังมี Mobile Application ที่ชื่อว่า “Principal PVD” ให้สมาชิกได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลกองทุนของตัวเองได้ทุกที่ทุกเวลา อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ที่ https://www.principal.th/th/provident-fund

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.principal.th/ หรือโทร 02-686-9595

ติดตาม Principal Thailand ได้ที่ช่องทาง
Facebook : https://www.facebook.com/principalthailand 
LINE : https://lin.ee/C6KFF6E หรือ @principalthailand
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCqELMp69UteyKgtWo4JuBqg

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / บริการหรือโปรแกรมคำนวณ Plan WISE Retire WELL เป็นเพียงตัวเลขจำลองการลงทุนเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการกำหนดเป้าหมายเท่านั้น ไม่ใช่การรับประกันผลตอบแทนในอนาคต