คงมุมมองบวกต่อกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ปัจจัยหลักคือการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed)
สรุปภาวะตลาด
• ดัชนีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์โดยรวมตั้งแต่ต้นปีจนถึงกลางปีนี้ยังคงเคลื่อนไหวในกรอบที่ไม่ชัดเจนหรือ sideway เนื่องจากตลาดรอความชัดเจนของทิศทางอัตราเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed อย่างไรก็ตามสถานการณ์ของ REITs เริ่มดูดีขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ค. หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องมาอยู่ในกรอบเป้าหมายของ Fed ที่ประมาณ 2.5% ประกอบกับอัตราการว่างงานที่ค่อยๆ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.3% ในเดือน ก.ค. ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวลงสู่ระดับ 3.6-3.8% จากจุดสูงสุดที่ 4.5-4.7% ในเดือน เม.ย. สะท้อนความเป็นไปได้ที่ Fed จะลดดอกเบี้ย สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อราคากองทุน REITs ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ Fed ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงครั้งแรก 0.50% ในการประชุมเดือน ก.ย. พร้อมเปิดเผย Dot Plot ที่ระบุถึงทิศทางการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 0.50% ในปีนี้ และ1.00% ในปี 2025 (อ่านเพิ่มเติม) ดัชนี REITs ทั่วโลกตอบรับในเชิงบวก สอดคล้องกับมุมมองของ บลจ. พรินซิเพิล ที่ได้แนะนำให้ทยอยเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ REITs ตั้งแต่ช่วงกลางปีนี้
มุมมองการลงทุนใน REITs
• เราคาดว่าดัชนี REITs ได้ผ่านจุดต่ำที่สุดไปแล้ว และจะมีแนวโน้มทยอยปรับตัวขึ้น สอดคล้องกับการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ Fed ที่เป็นปัจจัยหนุนสำคัญ ณ ปัจจุบันตลาดเริ่มมองว่า Fed มีโอกาสถึง 50% ที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมเดือน พ.ย. และลดเพิ่มอีก 0.25% ในการประชุมเดือน ธ.ค. โดยล่าสุด นายคริสโตเฟอร์ วอลเลอร์ หนึ่งในสมาชิกคณะผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ ที่เคยเป็นสายเหยี่ยว (Hawkish) ให้สัมภาษณ์สนับสนุนการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม หลังรายงานดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) สหรัฐฯ ล่าสุด ปรับตัวลดลงมากกว่าคาด
• นอกจากนี้เราเริ่มเห็นสัญญาณบวกของกระแสเงินลงทุนที่เริ่มหยุดไถ่ถอนกองทุน REITs ในประเทศ บ่งชี้ถึง Sentiment โดยรวมที่ค่อยๆปรับตัวดีขึ้นของสินทรัพย์ทางเลือก
• การลงทุนในกองทุน REITs ยังสามารถช่วยกระจายความเสี่ยงหรือเป็นหลุมหลบภัยยามตลาดมีความไม่แน่นอนได้ (Diversification & Downside Protection) หากอ้างอิงข้อมูลในอดีตในช่วงปี 2001 นั้น REITs สามารถปรับตัวขึ้นได้ดีในช่วงวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากสินทรัพย์ทางเลือกมีความสัมพันธ์ของผลตอบแทนที่ต่ำเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ บลจ. พรินซิเพิล จึงเห็นถึงความเหมาะสมที่จะมีกองทุน REITs อยูในพอร์ตการลงทุนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงจากความเสี่ยงต่างๆ เช่น ความไม่แน่นอนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ – จีน และ ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรกระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์เพื่อยกระดับผลตอบแทนคาดหวังผ่านการปรับความเสี่ยงของพอร์ตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับนักลงทุนแต่ละคน
กองทุนแนะนำ
• PRINCIPAL GREITs: ลงทุนใน Global REITs ผ่านกองทุน Nuveen Global Real Estate Carbon Reduction Fund (70 - 75%) และ iShares Global REIT ETF (20 - 25%) เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัว ทำให้มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี และเน้นลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูง เช่น Data centers และ Industrial (คลังสินค้า)
• PRINCIPAL iPROPEN: เน้นลงทุนใน REITs เอเชีย ซึ่งประกอบไปด้วยออสเตรเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และไทย บริหารโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญการลงทุนใน REITs และได้รับความร่วมมือจากผู้จัดการกองทุนในบริษัท Principal Global Investors LLC กลยุทธ์ปัจจุบัน Overweight กลุ่ม Defensive เช่น Industrial และลงทุนแบบกระจายตัว เพื่อกระจายความเสี่ยงและลดความผันผวนของพอร์ต
• PRINCIPAL iPROP: เน้นลงทุนใน REITs กลุ่ม Big Cap ที่มีการกระจายความเสี่ยงที่ดี และมี Balance Sheet ที่แข็งแกร่งในไทยและสิงคโปร์เป็นหลัก บริหารโดยทีมงานมืออาชีพจาก บลจ. พรินซิเพิล ประเทศไทย กลยุทธ์ปัจจุบันคือ Overweight กลุ่ม Industrial, Retail, Infrastructure และ Underweight กลุ่ม Office จากแนวโน้มการ Work From Home ที่มากขึ้น
Fed มีโอกาสถึง 50% ต่อการลดดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งหน้า
REITs สามารถให้ผลตอบแทนได้ดีช่วงดอกเบี้ยขาลง แม้เกิดเศรษฐกิจถดถอย
พอร์ตการลงทุนแนะนำตามระดับความเสี่ยง
คำเตือน: Principal Asset Allocation Plan เป็นบริการการแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนแบบการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ต่าง ๆ (Asset Allocation) ตามระดับความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ลงทุน โดยเป็นการพิจารณาและประเมินภาวะการลงทุน เพื่อการสร้างและปรับพอร์ตอย่างสมดุล และอาจจะพิจารณาและนำเสนอการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนหรือปรับพอร์ตลงทุนเป็นรายเดือน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพอร์ตการลงทุนมีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมและสอดรับกับภาวะการลงทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เปลี่ยนไปตามภาวะตลาดส่งผลให้สัดส่วนของแต่ละสินทรัพย์ที่ลงทุนมีการปรับเปลี่ยนไปจากสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม อาจทำให้พอร์ตการลงทุนมีความเสี่ยงสูงหรือต่ำไปกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้สัดส่วนการลงทุนเข้าสู่สัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม Principal Asset Allocation Plan เป็นเพียงคำแนะนำของ บริษัทจัดการ ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามคาดหวัง ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจการจัดสรรการลงทุน (Basic Asset Allocation) ตามคำแนะนำของสำนักงาน ก.ล.ต.
พอร์ตการลงทุนดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณการสัดส่วนการลงทุน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อลงทุนจริง ขึ้นอยู่กับสภาพตลาด การลงทุนและโอกาสการลงทุนในแต่ละขณะ ทั้งนี้ ประมาณการสัดส่วนการลงทุน ไม่ใช่การรับประกันหรือยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต/ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
คำอธิบายประกอบ Clients’ Portfolio Model 5 พอร์ตลงทุนแนะนำ
• สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “ปานกลางค่อนข้างสูง” แนะนำพอร์ตการลงทุน “Income”
• สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “สูง” ท่านสามารถลงทุนในพอร์ตการลงทุน “Income” และ “Balance”
• สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “สูงมาก” ท่านสามารถลงทุนในพอร์ตการลงทุน “Income”, “Balance”, “Growth”, “Active Growth” และ “Global Growth”
• ทั้งนี้หากท่านผู้ลงทุนมีความประสงค์จะลงทุนในพอร์ตลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าระดับความเสี่ยงการลงทุนของท่าน ท่านจะต้อง “ยืนยัน” รับทราบความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนที่ท่านได้เลือกลงทุน
ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / PRINCIPAL GREITs, PRINCIPAL iPROP กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก / PRINCIPAL GREITs, PRINCIPAL GQE, PRINCIPAL GESG, PRINCIPAL GCREDIT และ PRINCIPAL GHEALTH กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / PRINCIPAL GIFUH-A กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในยุโรป อังกฤษ และอเมริกาเหนือ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / PRINCIPAL iPROPEN ลงทุนกระจุกตัวในประเทศแถบเอเชีย ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / PRINCIPAL GESG มิได้อยู่ภายใต้ข้อกำหนดว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน การบริหารจัดการและการจัดทำรายงานของกองทุนรวมเช่นเดียวกับ SRI Fund / PRINCIPAL VNEQ ลงทุนกระจุกตัวในประเทศเวียดนาม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / PRINCIPAL KEQ กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศเกาหลี ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / PRINCIPAL INDIAEQ กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศอินเดีย ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / PRINCIPAL GHEALTH ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก / PRINCIPAL DPLUS มีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วนซึ่งจะไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ จึงอาจทำให้กองทุนมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศอื่น ๆ ดังนั้น บริษัทจัดการจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Hedging) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ลงทุน ณ ต่างประเทศ เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว / PRINCIPAL GIFUH-A จะไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (unhedged) ดังนั้นกองทุนจึงมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไร จากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าทุนเริ่มแรกได้ / Morning Star Copyright @ 2024 บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริช์ ประเทศไทย สงวนลิขสิทธิ ข้อมูลที่ประกอบในเอกสารนี้ : (1) เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทมอร์นิ่งสตาร์ และ/หรือ ผู้ให้บริการข้อมูล (2) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการทำซ้ำ หรือเผยแพร่
(3) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความถูกต้อง ครบถ้วน และความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกกรณีจากการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต