Cloud Service ธุรกิจจากโลกดิจิทัล

Cloud Service ธุรกิจจากโลกดิจิทัล

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของประชากรโลก ไม่ต่างกับปัจจัย 4 จึงไม่น่าประหลาดใจเลยว่าทำไมหุ้นกลุ่ม 'เทคโนโลยี' จึงถูกจับตามองจากนักลงทุนทั่วโลก ที่แสวงหาธุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตที่โดดเด่น ซึ่งถ้าเราลองย้อนดูดัชนี Nasdaq จะเห็นได้ว่า ช่วงต้นปีจนถึงเดือนสิงหาคม 2563 ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 37.5% แล้วถ้าย้อนไปจนตั้งแต่ปี 2010 หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีก็เติบโตขึ้นมากว่า 5-6 เท่าตัว

และยิ่งการเติบโตของเทคโนโลยีสูงมากเท่าไหร่ ความต้องการพื้นที่ในการบริหารจัดการข้อมูลก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ทำให้ธุรกิจอย่าง Cloud Service ได้รับผลประโยชน์ตรงส่วนนี้เข้าไปเต็ม ๆ เนื่องจาก Cloud Service กำลังจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานของโลกใบนี้เหมือนกับกระแสไฟฟ้าหรือ เส้นทางรถไฟที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ทำให้โลกเติบโตมาได้ในอดีต

Cloud Service คืออะไร

เมื่อก่อนเวลาที่เราต้องการทำอะไรบนระบบคอมพิวเตอร์ก็ตาม เราต้องไปซื้อพื้นที่เก็บข้อมูลอย่าง Hard Disk แผ่น CD/DVD หรือ Flash Drive ต่าง ๆ แต่ปัญหาที่ทุกคนอาจจะเคยเจอ คือ จำนวนพื้นที่เก็บที่น้อยจนเกินไป การสูญหายของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ อุปกรณ์เก็บข้อมูลเหล่านั้นเสีย/สูญหาย ความไม่สะดวกในการทำงานของสถานที่ในกรณีที่ลืมอุปกรณ์เก็บข้อมูล  ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Cloud หรือในอีกแง่มุมหนึ่งบางครั้งเราอาจจะต้องการใช้แค่ 10-20 GB เท่านั้น แต่การซื้อ Hard Disk 1 ครั้ง เราจะได้พื้นที่มากถึง 250-500 GB หรือเรียกว่าเราลงทุนซื้อมาแล้วใช้ไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุนไป รวมถึงการเก็บข้อมูลแบบเดิมยังมีปัญหาเรื่องการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่สะดวก นอกจากนี้ ณ ปัจจุบันปัญหาเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องระวังมากขึ้น ยิ่งในยุคนี้ข้อมูลถูกเก็บแบบ Paperless แทบทั้งหมดทำให้เป็นเป้าหมายของไวรัสเรียกค่าไถ่ (Ransomware)  ซึ่งการเก็บข้อมูลแบบเดิมถือว่ามีจุดอ่อนด้านความปลอดภัยอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าบริการ Cloud ขึ้นมา

บริการ Cloud คือ บริการจัดการข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีระบบนิรภัยแบบไร้ Server  (Serverless for users)  ซึ่งพอพูดถึงบริการ Cloud สิ่งที่หลายคนมักนึกถึงเป็นเพียงบริการที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูล อย่างบริการ iCloud ของโทรศัพท์ iPhone หรือ OneDrive ของ Microsoft แต่ในความเป็นจริงนั้นบริการ Cloud ยังครอบคลุมไปถึงการนำข้อมูลเหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดบริการใหม่ ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ระบบเศรษฐกิจ เช่น การสร้าง Website, Application, Social Media ต่างๆ ซึ่งอยู่ในชีวิตประจำวันอย่าง Application การสั่งอาหาร การใช้ Facebook, Instagram เพื่อติดต่อสื่อสาร หรือแม้แต่การจัดการข้อมูลและประมวลผลทางธุรกิจระดับองค์กร 

บริการ Cloud กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยากให้ลองนึกถึงเวลาที่เราอยู่ข้างนอก ออกมาประชุมนอกสถานที่แล้วเราต้องการโหลดไฟล์งานหรือรูปภาพอะไรบางอย่างเพื่อใช้งาน ถ้าเราใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบเดิมอยู่ เราก็จะต้องกลับไปที่บ้านหรือที่ทำงานที่ข้อมูลนั่นเก็บไว้ แต่ถ้าเราเก็บข้อมูลไว้ในระบบ Cloud ก็เพียงแค่หาที่ที่มีอินเทอร์เน็ต จากนั้นก็สามารถดาวน์โหลดไฟล์งานได้ทุกที่ทุกเวลา ช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีมากขึ้น

นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาธุรกิจกลุ่ม Cloud Service จึงกลายเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตสูงมาก โดยในช่วงปี 2008-2020 มูลค่าของธุรกิจบริการ Cloud ที่ใหญ่ที่สุด  อันดับแรกสามารถเติบโตของเติบโตถึง 44 เท่า ที่ และในปี 2020 มูลค่าตลาดของธุรกิจกลุ่มนี้มีมูลค่ามากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

ในขณะเดียวกัน แม้บริการ Cloud จะเติบโตมามาก และถูกใช้อย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบัน แต่เมื่อเทียบกับการใช้งาน Software ทั้งหมด บริการ Cloud ยังคิดเป็นสัดส่วนราว 35 % เท่านั้น ในอนาคต ซึ่งด้วยประโยชน์ของบริการ Cloud ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานให้แก่ผู้ใช้งาน และการป้องกันการสูญหายของข้อมูลแล้ว ค่าบริการของการใช้งาน Cloud นั้นยังมักอยู่ในรูปแบบระบบการ Subscription หรือการเก็บค่าบริการรายเดือนจากผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้บริการ Cloud สามารถลดภาระจากการจ่ายเงินทุนเริ่มต้นแบบก้อนใหญ่ รวมถึงความสามารถของบริการ Cloud ที่เชื่อมต่อให้ผู้ใช้งาน Cloud สามารถ upgrade software ใหม่ๆจากผู้ให้บริการได้อย่างอัตโนมัติอยู่เสมอ ทำให้แนวโน้มที่ผู้บริโภคจะหันมาใช้ระบบ Cloud ก็ยิ่งมีมากขึ้น ประกอบกับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความเร็วของอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น (5G) ราคาอุปกรณ์ Smartphone และ IoT ที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น ฯลฯ ก็นับเป็นปัจจัยสนับสนุนให้บริการ Cloud มีโอกาสเติบโตได้อีกมากในอนาคตด้วยเช่นเดียวกัน
 

Cloud Computing


ระบบค่าบริการรายเดือนจากผู้ใช้งาน ทำให้ผู้บริการ Cloud มีรายได้ที่สม่ำเสมอ (Recurring Income) 

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ค่าบริการของการใช้งาน Cloud นั้นยังมักอยู่ในรูปแบบระบบการ Subscription หรือการเก็บค่าบริการรายเดือนจากผู้ใช้งาน ลักษณะค่าบริการในรูปแบบนี้นับเป็นหนึ่งในจุดเด่นสำคัญของธุรกิจผู้ให้บริการ Cloud เพราะเนื่องจากช่วยให้ธุรกิจสามารถขยายฐานผู้ใช้บริการได้ง่ายแล้ว ยังช่วยให้โครงสร้างรายได้ของธุรกิจผู้ให้บริการมีความสม่ำเสมอยิ่งขึ้น ลดโอกาสในการรับผลกระทบด้านรายได้ที่รุนแรงที่ช่วงเวลาที่ภาพเศรษฐกิจมีความท้าทาย

สำหรับใครที่มองหาแหล่งลงทุนในธุรกิจ Cloud Service ทาง บลจ. พรินซิเพิล ขอแนะนำ "กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล คลาวด์ คอมพิวติ้ง ชนิดสะสมมูลค่า (PRINCIPAL GCLOUD - A) กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก โดยจะลงทุนผ่านกองทุนหลัก WisdomTree Cloud Computing UCITs ETF ซึ่งเน้นสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิง BVP Nasdaq Emerging Cloud Index ซึ่งหุ้นที่สามารถเข้ามาในการคำนวณ Index ได้ต้องมีรายได้หลักมาจาก Cloud Delivery Model อย่างเช่น ธุรกิจให้บริการการใช้ระบบที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเว็บไซต์ โทรศัพท์มือถือ Cloud Economic Model อย่าง Subscription-Based, Volume-Based หรือ Transaction-based offering เท่านั้น 

นอกจากจะมีรายได้หลักมาจากธุรกิจ Cloud แล้วบริษัทเหล่านั้นจะต้องมีเงื่อนไขหลัก ๆ ดังนี้


1. อัตราเติบโตอย่างน้อย 15% ในระยะเวลา 2 ปีติดต่อกัน จึงจะถูกหยิบเข้ามาคำนวณใน Index ได้ 
2. หลังจากที่ถูกคำนวณใน Index แล้วจะต้องมีอัตราเติบโตมากกว่า 7% ขึ้นไปอย่างน้อย 1 ใน 2 ปี จึงจะถูกคำนวณใน Index ได้อย่างต่อเนื่อง
3. เป็นบริษัทที่จดทะเบียนใน Nasdaq, NYSE American หรือ CBOE 
4. มูลค่าบริษัทต้องมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
5. ไม่เป็นบริษัทล้มละลาย

ซึ่งจุดเด่นของ กองทุนหลัก WisdomTree Cloud Computing UCITs ETF จะใช้กลยุทธ์ลงทุนแบบ Equal-weighted Allocation เป็นการกระจายน้ำหนักการลงทุนเท่ากันในหุ้นแต่ละตัวที่ถูกคำนวณใน BVP Nasdaq Emerging Cloud Index เพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุนหุ้นขนาดเล็ก และธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่ ตัวอย่างหุ้นที่กองทุนเลือก เช่น

Zoom
ผู้นำอันดับหนึ่งของโลกด้าน Online Video Conferencing ที่นำเทคโนโลยี Cloud มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้าง Platform ที่ตรงใจผู้ใช้งานทั่วโลก รองรับและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน/ การเรียนในระบบทางไกล

Shopify
เบอร์หนึ่งเรื่อง e-Commerce Solutions ช่วยร้านค้าขายของออนไลน์แบบครบวงจร ใครที่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้จัก หรืออาจจะมีโอกาสได้ใช้บริการอยู่ก็เป็นได้ โดยบริการที่ Shopify นั้นก็มีหลากหลาย เช่น ให้บริการทำเว็บไซต์ ชำระเงิน การตลาด การบริหารสินค้าคงคลัง การวิเคราะห์ข้อมูล ไปจนถึงการขนส่ง ตอบโจทย์โลกแห่ง e-Commerce

Adobe 
ผู้นำธุรกิจ Creative cloud ที่องค์กรและบุคคลเลือกใช้ ตอบโจทย์โลกแห่ง Digital media, experiences and Paperless เชื่อได้ว่าในคอมพิวเตอร์ของทุกคนจะต้องมีโปรแกรมของ Adobe อย่างน้อย 1 โปรแกรมแน่นอน

แล้วนอกจากนี้ก็ยังมี Saleforce.com, Anaplan และ Workday ที่เป็นผู้นำด้านบริการ Cloud Service ที่มี Recurring Income อย่างต่อเนื่องที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของธุรกิจ Cloud Service ที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจกับธุรกิจ  

การลงทุนช่วงนี้ ใคร ๆ ก็บอกว่าต้องมองหาหุ้นหรือกลุ่มธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของ Covid-19 ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าธุรกิจ Cloud Service เป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับปัจจัยบวกจากการระบาดครั้งนี้ ซึ่งการระบาดของโควิด-19 ครั้งนี้ทำให้เกิด Digital Transformation ที่รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะการประชุมงาน การส่งงาน ตามงานกัน รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลก็ถูกเปลี่ยนจาก Offline เป็น Online แล้วเมื่อนำข้อมูลขึ้นระบบ Online ความต้องการพื้นที่จัดเก็บและประมวลผลอย่างธุรกิจ Cloud Service ก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

เมื่อทุกคนเคยชินกับระบบ Online ที่สะดวกกว่า เร็วกว่า ต้นทุนต่ำกว่าก็ยากที่จะกลับไปใช้ระบบงาน Offline แบบเดิมที่มีความสะดวกสบายน้อยกว่าเดิมได้อีกแล้ว

สำหรับผู้ที่สนใจซื้อกองทุน PRINCIPAL GCLOUD สามารถติดต่อได้ที่ 

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด
44 อาคาร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ชั้น16 ถ. หลังสวน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 026869595
อีเมล clientservice@principal.th


หรือติดตาม Principal Thailand ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/principalthailand
LINE : https://lin.ee/C6KFF6E หรือ @principalthailand
YouTube : https://www.youtube.com/channel/UCqELMp69UteyKgtWo4JuBqg

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน /  กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / กองทุนหลักมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (Technology Sector) ซึ่งมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และความล้าสมัยของสินค้า ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก และอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายหลายอุตสาหกรรม / กองทุนไทย และ/หรือกองทุนต่างประเทศ (กองทุนหลัก) อาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในต่างประเทศตามความเหมาะสมและสภาวการณ์ในแต่ละขณะ ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งกองทุนหลักอาจได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต