เศรษฐกิจแบบนี้ ช้อปปิ้งแบบไหนให้ดีต่อใจ ปลอดภัยต่อกระเป๋าเงิน

เศรษฐกิจแบบนี้ ช้อปปิ้งแบบไหนให้ดีต่อใจ ปลอดภัยต่อกระเป๋าเงิน

หลังจากที่เศรษฐกิจติดลบไปเมื่อต้นปี จากการล็อกดาวน์และปิดภาคธุรกิจต่างๆ สถานการณ์ปัจจุบันก็ถือว่าผ่อนคลายมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ถึงกับกลับมาเป็นปกติ เนื่องจากยังมีหลายปัจจัยกดดัน ผู้คนต่างก็ต้องควบคุมพฤติกรรมการใช้เงินอย่างเคร่งครัด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการจับจ่ายใช้สอยก็ยังต้องเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อของใช้ ของจำเป็น หรือการได้มาซึ่งของที่จะช่วยเติมความสุขให้กับชีวิต แล้วจะมีวิธีช้อปปิ้งแบบไหนไหม ที่จะยังรักษาความสมดุลระหว่างความจำเป็นและความรู้สึก ช่วยฟื้นฟูจิตใจให้ดีขึ้นได้โดยไม่กระทบกับเงินส่วนอื่นๆ จนเกินไป?

1. ช้อปของที่ได้ใช้ ไม่ใช่ช้อปของที่อยากได้

เช่น การซื้อรองเท้าแฟชั่น เนื่องจากรองเท้าที่มีอยู่เริ่มชำรุด ก็ควรเลือกรองเท้าที่ใส่ได้ดี มีคุณภาพ และสามารถเข้าได้กับเสื้อผ้าหลายๆ แบบ ใส่ได้หลากหลายโอกาส ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะสามารถใช้งานได้ดี ต่างกับการช้อปแบบฉาบฉวยมาจากการจัดรายการลดราคา แล้วไม่ได้พิจารณาให้ดีว่าสิ่งของชิ้นนั้นๆ เข้ากับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเราไหม สุดท้ายก็ไม่มีโอกาสได้ใช้ เก็บเข้ากรุไป กลายเป็นการเสียเงินโดยใช่เหตุ

2. เปรียบเทียบราคาคือ A must

ในช่วงนี้ที่ e-Commerce ต่างแข่งขันกันสูงมาก เพราะคนออกไปไหนมาไหนน้อยลง โฟกัสกับการอยู่ที่บ้านเป็นหลัก ร้านค้าและแบรนด์ต่างๆ จึงพากันออกโปรโมชั่นออนไลน์มาสู้กัน ดังนั้นเราควรศึกษาเทคนิคในการช้อปปิ้งออนไลน์ และการหาข้อมูลเปรียบเทียบราคาจะช่วยให้เราได้เปรียบในศึกนี้ได้ 

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบโปรโมชั่นช่องทางออนไลน์ของแบรนด์โดยตรง เทียบกับโปรโมชั่นของแต่ละแพลตฟอร์ม e-Commerce หรือสินค้าบางชิ้นก็สามารถใช้โปรโมชั่นเสริมร่วมกันได้ นอกจากนั้นสิ่งที่ควรดูควบคู่กันไปคือเรื่องของปริมาณ เช่น การซื้อสกินแคร์ ถ้าซื้อปริมาณขวดกลางในโปรโมชั่น 1 แถม 1 อาจจะดูคุ้มค่า แต่หารราคาออกมาแล้ว ซื้อขวดใหญ่ขวดเดียวกลับถูกกว่า ก็จะช่วยให้เราได้ของที่ต้องการแบบประหยัดขึ้นอีกเยอะเลย

3. ไม่ยึดติด คิดพิจารณาแบรนด์ทางเลือก

เวลานึกถึงของใช้อย่างหนึ่ง หลายๆ คนก็มักจะมีแบรนด์อันดับ 1 ในดวงใจ ประมาณว่าถ้าจะซื้อก็ต้องเป็นแบรนด์นี้เท่านั้น ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะแบรนด์นั้นอาจเป็นที่ชื่นชอบของเรามานาน ใช้แล้วรู้สึกดี แต่การพิจารณาแบรนด์อื่นๆ บ้างก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายของเราได้ เช่น ของใช้ที่มีฟังก์ชั่นคล้ายคลึงกัน วัสดุหรือวัตถุดิบใกล้เคียง พอใช้ทดแทนกันได้ แต่ราคาย่อมเยากว่า หรืออาจเป็นสินค้า Local Brand ที่สามารถตอบสนองความต้องการและจุดประสงค์ของเราได้ ซึ่งราคาเบากว่า Global Brand และยังได้เป็นการช่วยสนับสนุนธุรกิจภายในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

4. แบ่งเงินเป็นสัดส่วนชัดเจน

ใครที่เป็นสายช้อปประเภทยั้งมือไม่อยู่ เผลอเป็นช้อปเกินงบไม่รู้ตัว การแบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายก็เป็นวิธีสุดคลาสสิกที่ได้ผลดีเสมอ โดยจะสร้างวิธีการที่เข้มงวดแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะแบ่งเงินได้ออกมาเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เงินออม รายจ่ายจำเป็น และเงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราอาจจะแบ่งย่อยเป็น 3 ส่วนคร่าวๆ กิน เที่ยว ช้อป และแต่ละส่วนจะมีความเชื่อมโยงถึงกัน เช่น ถ้าเดือนไหนเรากินประหยัด ก็จะมีงบไปใช้กับการเที่ยวและช้อปมากหน่อย เพราะฉะนั้นถ้าเดือนไหนเราวางแผนจะช้อปของชิ้นใหญ่ อาจงดมื้อหรูกับลดความถี่ของการไปเที่ยวลงบ้าง แต่ยังมีอยู่ได้ ไม่ตึงจนเกินไป

ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าเงินก้อนนี้จะต้องใช้ให้หมดตามโควตาในแต่ละเดือน เพราะหากมีเหลือ ก็สามารถโยกย้ายไปต่อยอดในเงินออม ที่หากงอกเงยก็จะช่วยเพิ่มงบส่วนต่างๆ ในอนาคตให้มากขึ้น ให้เราใช้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้นได้ โดยการลงทุนก็ถือเป็นการออมรูปแบบหนึ่ง ซึ่ง Principal มีกองทุนดาวรุ่งมาแรงและน่าสะสมมาแนะนำตามนี้เลย

1. กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล ออพพอร์ทูนิตี้: PRICIPAL GOPP
โอกาสการลงทุนในหลักทรัพย์ทั่วโลก ที่ก้าวไปพร้อมกับวิวัฒนาการยุคใหม่ ลงทุนในบริษัทที่เติบโตท่ามกลางกระแสสังคมและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (Disruptive Innovation) 
ประเภทโครงการ: กองทุนรวมหน่วยลงทุนที่เน้นลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) 
นโยบายการลงทุน: มีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียวคือ Morgan Stanley Investment Funds Global Opportunity Fund (กองทุนหลัก) 
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่สามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาว โดยคาดหวังโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนใน ตราสารหนี้ทั่วไป
อ่านเพิ่มเติม https://www.principal.th/th/principal/GOPP-A

2. กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เอ็ดดูเคชั่น เทค: PRINCIPAL GEDTECH
โอกาสการลงทุนในธุรกิจที่เติบไปพร้อมกับ Megatrend นวัตกรรมเทคโนโลยีแห่งอนาคตด้านการศึกษา
ประเภทโครงการ: กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund
นโยบายการลงทุน: มีไว้ซึ่งหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียวคือ Credit Suisse (Lux) Edutainment Equity Fund (กองทุนหลัก) ชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) IBP USD
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่สามารถลงทุนในระยะยาวโดยคาดหวังโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป
อ่านเพิ่มเติม https://www.principal.th/th/principal/GEDTECH-A

3. กองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม: PRINCIPAL iPROP (กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก) 
โอกาสลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์, REITs / Infrastructure Fund ทั้งในและภูมิภาคเอเชีย ที่มีศักยภาพเติบโต เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสม
ประเภทโครงการ: กองทุนรวมหน่วยลงทุน (Fund of Funds), กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม (Sector Fund)
นโยบายการลงทุน: เน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ได้ทั้งในและต่างประเทศ
เหมาะสำหรับ: ผู้ที่สามารถลงทุนในระยะกลางถึงระยะยาวโดยคาดหวังโอกาสรับผลตอบแทนในระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป
อ่านเพิ่มเติม https://www.principal.th/th/principal/iPROP-A

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข / ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่าง ๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ก่อนการตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

คำเตือนของ PRICIPAL GOPP
กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย

คำเตือนของ PRINCIPAL GEDTECH
- เนื่องจากกองทุนนี้เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในกองทุนต่างประเทศ จึงอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ที่กองทุนหลักลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเงินลงทุนของผู้ลงทุน
- กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
- กองทุนหลักมีการกระจุกตัวในกลุ่มเทคโนโลยี (Information Technology Sector) ซึ่งมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และความล้าสมัยของสินค้า ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าวผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก และอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายหลายอุตสาหกรรม
- กองทุนไทย และ/หรือกองทุนต่างประเทศ (กองทุนหลัก) อาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในต่างประเทศตามความเหมาะสมและสภาวการณ์ในแต่ละขณะ ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งกองทุนหลักอาจได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.principal.th/ หรือโทร 02-686-9595