ออกแบบความคิดอย่างไรให้ชีวิตไม่สะดุด และเกษียณได้อย่างมีความสุข

ออกแบบความคิดอย่างไรให้ชีวิตไม่สะดุด

“เราทุกคนเป็นนักออกแบบชีวิตของตนเอง” - บิล เบอร์เนตต์ ผู้เขียนหนังสือ Designing Your Life

คุณเห็นด้วยกับข้อความนี้มากน้อยแค่ไหน? แน่นอนว่าคนทุกคนเกิดมามีพื้นฐานชีวิตแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เราสามารถทำได้เหมือนกันก็คือการออกแบบความคิดเพื่อให้ใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นนั่นเอง โดยสิ่งที่สามารถเริ่มทำได้ทันทีเลยก็คือ ‘การปรับวิธีคิด’ ซึ่งจะขอยกมาพูดถึง 4 ด้านด้วยกัน

1) การจัดการกับความทุกข์ 
เมื่อมีความทุกข์เข้ามาไม่ว่าจะในรูปแบบไหน สิ่งแรกที่เราควรทำคือการทำความเข้าใจและยอมรับ เข้าใจว่าความทุกข์นั้นเกิดจากสิ่งใด และยอมรับว่าสิ่งนั้นได้เกิดขึ้นจริง เพื่อทำให้เราก้าวไปในแผนชีวิตขั้นต่อไปได้ ด้วยการคิดวิเคราะห์หาวิธีจัดการว่าต้นเหตุของความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นเราสามารถแก้ไขได้ไหม เราจะมีวิธีปรับตัวอย่างไรบ้างให้ความรู้สึกไม่ดีเบาบางลง หรืออาจต้องเรียนรู้วิธีอยู่กับความทุกข์นั้นให้ได้ในระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น 


2) การมองโลกในแง่ดี 
วิธีนี้มีประโยชน์ในการสร้างสมดุลให้กับความคิดของเราไม่ให้คิดในแง่ลบจนเกินไป จนรู้สึกหมดความหวังและไม่มีพลังในการลงมือทำอะไรต่อไป แนะนำให้จินตนาการถึงเรื่องดีๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเป็นไปได้ เช่น การพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส มองว่าโอกาสหนึ่งที่หมดไปนั้นจะช่วยเปิดโอกาสใหม่ๆ เข้ามาเสมอ และการใคร่ครวญถึงคุณค่าของสิ่งที่ได้พบเจอในแต่ละวันนั้นจะช่วยเพิ่มพลังบวกให้กับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ

3) การให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงิน 
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการจะมีชีวิตที่ราบรื่นได้นั้น ‘เงิน’ มีส่วนอย่างมาก เงินในปัจจุบันนั้นก็ส่วนหนึ่ง เงินออมเพื่อการเกษียณก็เป็นอีกส่วนที่ขาดไม่ได้ เพราะคงไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะทำงานไปตลอดชีวิต หรือหากทำงานต่อ จะได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ณ ขณะนั้นไหมก็ไม่อาจมีใครให้คำตอบที่แน่นอนได้ ดังนั้นหากเราวางแผนการเงินไว้แต่เนิ่นๆ ให้ครอบคลุมก็คงจะดีเสียกว่า นอกจากจะช่วยให้รู้สึกสบายใจแล้วยังช่วยให้วางแผนอนาคตได้อย่างเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

4) ปรับมุมมองที่มีต่อปัญหา 
ปัญหาเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นชีวิตจึงอาจต้องเผชิญอยู่บ่อยครั้ง หากเป็นไปได้อยากให้มองปัญหาเป็นความท้าทาย ถือคติว่าไม่มีปัญหาใดไม่มีทางออก เพียงแต่อาจต้องใช้เวลาในการปรึกษา ค้นหาและศึกษาวิธีแก้ไขเพิ่มเติม ยกตัวอย่างเหตุการณ์ใกล้ตัวในสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น หากอยู่ๆ ต้องออกจากงานแล้วมีปัญหากับการจัดการเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็อย่าเพิ่งด่วนตัดสินใจนำเงินออก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเงินที่เราต้องการจะเก็บไว้สำหรับอนาคตได้ ยังมีวิธีในการจัดการอยู่หลายวิธี อย่างการคงเงินในกองทุนไว้ก่อน โอนไปยัง RMF for PVD หรือสมาชิกตามเงื่อนไขมีสิทธิ์ถอนเงินบางส่วนออกได้โดยไม่เสียภาษี ก็จะเห็นได้ว่าในปัญหาเดียว กลับมีวิธีแก้หลายทางเลย

ที่ยกตัวอย่างเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมานี้ เพราะถือเป็นแผนการลงทุนหนึ่งซึ่งมีผลต่อแผนการเกษียณอย่างมีความสุข โดยหากลองคำนวณคร่าวๆ ดู ว่าถ้าเราเริ่มสะสมเงินเข้ากองทุนนี้ ตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยสะสม 3% ของเงินเดือน 20,000 บาท และเงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 5% และนายจ้างสมทบให้ 3% ส่วนผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนอยู่ที่ 4% เมื่ออายุ 60 ปี เราจะมีเงินประมาณ 1.2 ล้านบาทจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลยทีเดียว (ตัวอย่างการคำนวณจาก https://www.set.or.th/education/th/start/start_start_3_5.pdf)

แต่เงินที่ได้จากกองทุนในอัตรานี้ เมื่อไปรวมกับแหล่งรายได้อื่นๆ หลังเกษียณแล้วก็อาจยังไม่เพียงพอ เพราะปัจจุบันอัตราเฉลี่ยอายุขัยของประชากรยืนยาวมากขึ้น และผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนอาจน้อยกว่าตัวอย่างที่คำนวณไว้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่เลือกแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งทาง Principal ก็เล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้สร้างสรรค์นวัตกรรมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภายใต้ชื่อ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พรินซิเพิล สมดุลตามอายุ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว 

ผู้จัดการกองทุนจะทำหน้าที่ปรับสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับช่วงอายุของสมาชิก ซึ่งวัยเริ่มทำงานจะมีสัดส่วนของสินทรัพย์เสี่ยงสูงกว่าวัยใกล้เกษียณ เนื่องจากมีระยะลงทุนได้ยาวนานถึงกว่า 30 ปีก่อนที่จะเกษียณ ทำให้สามารถรับความเสี่ยงได้สูงที่สุด เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาวที่ดีกว่า และลดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงลงเมื่อใกล้ถึงช่วงเวลาที่ต้องนำเงินออกจากกองทุน เพื่อให้มีเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณได้อย่างเพียงพอ (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >> https://www.principal.th/th/provident-fund)

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการจะใช้ชีวิตปัจจุบันให้ราบรื่น และใช้ชีวิตในอนาคตอย่างมีความสุข ก็อย่าลืมพิจารณาวิธีการปรับวิธีคิดข้างต้น และหมั่นเลือกเฟ้นสิ่งดีๆ มาปรับใช้ในการวางแผนชีวิตอย่างมีวินัย เชื่อว่าผลลัพธ์จะต้องออกมาดีอย่างแน่นอน

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม
ติดต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.principal.th/ หรือโทร 02-686-9595

References: set.or.th ,brandinside.asia ,the101.world ,maruey.com