เมื่อจีนยุคใหม่ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี ประชาชนทั่วโลกใช้ชีวิตร่วมกับเทคโนโลยีจีนอย่างไร?

เมื่อจีนยุคใหม่ก้าวไกลด้วยเทคโนโลยี

คำว่าเทคโนโลยี ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวสำหรับประชาชนคนรุ่นใหม่อีกต่อไป โดยเฉพาะเทคโนโลยีจีนซึ่งในขณะนี้เรียกได้ว่ามีบทบาทที่สำคัญกับคนทั่วโลก จากความตั้งใจในการผลักดันจากภายในประเทศ และการพัฒนาก้าวหน้าส่งผลให้เทคโนโลยีจีนมีความโดดเด่นล้ำหน้าและเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจที่ทางรัฐบาลจีนมุ่งมั่นให้ขยายตัว โดยบริษัทเทคโนโลยีจีนที่เป็นที่รู้จักและมีการใช้งานกันอยู่ทั่วไปยกตัวอย่างได้ตามนี้

Tencent

บริษัท Tencent ในช่วงแรกให้บริการเว็บพอร์ทัล ก่อนจะมีผลิตภัณฑ์สร้างชื่อคือโปรแกรมแชท QQ และในยุคหลังคือแอปแชท Weixin หรือเป็นที่รู้จักนอกประเทศจีนว่า WeChat ปัจจุบันมีผู้ใช้งาน 1.17 พันล้านคนต่อเดือน (Q1 2020, businessofapps.com) ได้รับความนิยมในหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชีย
จากฐานผู้ใช้งานของทั้ง QQ และ Weixin ทำให้ Tencent ขยายตลาดมาทำ FinTech เกี่ยวกับการจ่ายเงินผ่านแอปมือถือ ซึ่งเป็นรองแค่ Alipay ของ Alibaba เพียงรายเดียวเท่านั้น ซึ่งการจ่ายเงินผ่านแอปของจีนนี้ก็จะแพร่หลายไปในต่างประเทศได้ไม่ยาก ดังที่เราจะเห็นได้จากการที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเดินทางไปช้อปปิ้งในต่างประเทศทั่วโลก 
ในด้านเอ็นเตอร์เทนเมนต์เองก็ไม่น้อยหน้า Tencent ได้ขยายธุรกิจกลายเป็นผู้ให้บริการเกมออนไลน์รายใหญ่ของประเทศจีน เมื่อธุรกิจเติบโตจึงเข้าไปลงทุนในบริษัทเกมต่างประเทศหลายราย รวมถึงมีการสร้างเกมเองด้วย เกมส์ที่โดดเด่น ได้แก่ Peacekeeper Elite (PUBG), Honor of Kings (RoV), League of Legends (LOL), Clash of Clans ซึ่งนอกจากเกมเองยังรวมถึงสื่อบันเทิงทางด้านเพลงและละครอย่าง JOOX, WeTV ที่มีบทบาทในไทยมากขึ้น เพราะมีเพลง ซีรีส์ ละครในแอปนี้มากมายที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคชาวไทย 
และแอปอื่นๆ ในเครือธุรกิจที่จะขาดการพูดถึงไปไม่ได้เลย ก็คือแพลตฟอร์ม e-Commerce อย่าง Shopee และ JD.com ที่ได้รับการโปรโมทในหลายประเทศและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทยเอง เรียกได้ว่าทาง Tencent มีแอปพลิเคชันที่ตอบสนองผู้บริโภคในทุกช่องทาง จึงมีบทบาทต่อคนทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเชื่อว่าผู้ที่กำลังอ่านบทความก็น่าจะมีแอปในเครือ Tencent อยู่ในโทรศัพท์มือถือกันอย่างน้อย 1 แอปอย่างแน่นอน

Xiaomi

หลายๆ คนอาจยังไม่รู้ว่า Xiaomi เป็นบริษัทที่แจ้งเกิดด้วย Software ก่อนจะมาถึง Hardware และก้าวออกสู่ตลาดโลก โดยเริ่มต้นจากการเป็นทีมที่ทำรอมให้โทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ และขยับมาผลิตฮาร์ดแวร์ของตัวเอง โดยเริ่มจากการเปิดตัวสมาร์ทโฟนซึ่งมีจุดขายคือ สเปคเครื่องจัดเต็ม ในราคาที่เอื้อมถึงง่าย และยังมีการขยายตลาดไปจับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อน้อยกว่า ด้วยแบรนด์ลูกอย่าง Redmi ทำให้มีฐานผู้ใช้งานที่กว้างยิ่งขึ้น และในปัจจุบันนอกจากโทรศัพท์มือถือ สินค้าภายใต้แบรนด์ Xiaomi แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. สินค้าที่ Xiaomi เป็นคนผลิตเอง เช่น สมาร์ตโฟน แล็ปท็อป สายรัดข้อมืออัจฉริยะ
2. สินค้าที่ Xiaomi ไม่ได้ผลิตเอง แต่มีคนอื่นผลิตให้ โดยเป็นพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจที่ Xiaomi เข้าไปร่วมลงทุน 

แนวคิดที่น่าสนใจสำหรับสินค้าที่ Xiaomi ไม่ได้ผลิตเอง คือการเข้าไปร่วมลงทุนในบริษัทตั้งแต่ยังเป็นสตาร์ตอัปเพื่อให้เงินทุนบริษัทเหล่านี้ไปวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทำให้สินค้ามีความหลากหลายครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค 

ซึ่งอุปกรณ์ IoT ของ Xiaomi ได้รับการเชื่อมต่อมากถึง 324.8 ล้านหน่วยทั่วโลก (Q4 2020, Statista.com) และมีการเติบโตสูงถึง 24.8% (Q4 2020, thairath.co.th) และผลประกอบการของ Xiaomi มากกว่า 49.8% (2020, Global Times) มาจากประเทศต่างๆ ที่นอกเหนือจากจีน และยังเป็นรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี 
สิ่งที่ทำให้ Xiaomi ได้รับความนิยม นอกจากการใช้เทคโนโลยีล่าสุดในการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นไปตามโดยทางความมุ่งมั่นของทางบริษัทที่พยายามจะคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม นำเสนอเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยให้กับทุกคน ก็คือรูปลักษณ์เรียบง่าย ทันสมัย คุณภาพที่ใช้งานได้ดี และราคาที่เข้าถึงได้ จึงไม่น่าแปลกใจหากในอนาคตจะมีสินค้าจาก Xiaomi เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในบ้านเรือนของผู้บริโภคทั่วโลก

Meituan

ชื่อนี้อาจจะยังไม่คุ้นหู้คนไทยเท่าไรนัก แต่ Meituan นั้นเป็นผู้นำในการให้บริการ SuperApp E-commerce ด้านอาหาร ภายใต้แบรนด์ต่างๆ เช่น Meituan, Dianping, Meituan Waimai โดยมีฟังก์ชั่นให้บริการหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น Food delivery, Car-hailing, Travel booking, Deal นอกจากนั้นยังให้บริการ Bike-sharing, Hotel booking, Movie ticketing, Entertainment & Lifestyle services โดยมีบริการทั้งหมดรวมกันมากกว่า 200 ประเภท เปรียบเสมือนการรวมตัวระหว่าง Grab + Lineman Wongnai + Agoda เลยทีเดียว

ซึ่งจากข้างต้นทำให้ Meituan กลายเป็นอันดับ 1 ส่วนแบ่งการตลาดของ Food delivery ในจีนอย่างชัดเจน โดยมีสัดส่วนมากกว่า 60% ขณะที่อันดับ 2 คือ Ele.me อยู่ที่ 30% ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนคือเมืองที่มีประชากรหนาแน่น ที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ Food Delivery ที่เป็นส่วนดึงดูดให้ผู้ใช้คุ้นเคย แล้วค่อยทำกำไรจากฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่มีอยู่ในแอป

นอกจากนี้ Meituan ยังมีเครือข่าย On-demand delivery ใหญ่ที่สุดในประเทศ นำมาซึ่งข้อมูลมหาศาลที่ผ่าน AI หรือการประมวลผลของปัญญาประดิษฐ์ ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับความต้องการการรับบริการของผู้ใช้งาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการของระบบโครงข่ายผู้ให้การบริการ ซึ่งเบื้องหลังความยิ่งใหญ่นี้ส่วนหนึ่งก็มาจากการสนับสนุนของ Tencent และ Alibaba นั่นเอง 
Meituan นั้นไม่เพียงแต่ให้บริการในประเทศจีน แต่ยังรวมถึงนักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศด้วย โดยเปิดให้บริการในไทยมาตั้งแต่ปี 2017 ที่ผ่านมา

KUAISHOU TECHNOLOGY

เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดย Su Hua และ Cheng Yixiao อดีตพนักงาน Google, Baidu, HP เป็นผู้สร้างแอปพลิเคชัน Video-sharing แบบสั้นๆ ซึ่งรวมถึงรูปแบบ Live streaming ซึ่งเจ้าของสินค้า สามารถโฆษณาสินค้าตนเองผ่านแพลตฟอร์มโดยตรงหรือของพาร์ตเนอร์อย่าง JD.com ก็ได้ เรียกว่าไม่ได้เพียงแต่อัพคลิปเพื่อความบันเทิง แต่ยังสามารถสร้างรายได้ได้ และรายได้ของแอปไม่ได้ขึ้นอยู่กับโฆษณาโดยตรง แต่เป็นการให้ทิปจากผู้ชมและผู้สร้างคอนเทนต์ด้วยกันเอง ถือเป็นคู่แข่งรายสำคัญของ TikTok หรือที่เรียกว่า Douyin ในจีน
จุดเริ่มต้นนั้นมาจากการเป็นแอปพลิเคชันแบ่งปันภาพเคลื่อนไหว มุ่งสร้างพื้นที่ทางสังคมในรูปแบบเวที เพื่อแสดงความสามารถที่เท่าเทียมกัน และต้องการให้เหล่าผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ผูกพันและพูดคุยกันจริงๆ โดยระยะเวลาเฉลี่ยต่อวันของผู้ใช้งาน อยู่ที่ 90 นาที 
ในปัจจุบันได้ขึ้นแท่นยอด IPO สูงสุดนับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19 โดยอนาคตมีการวางแผนเพิ่มลูกเล่นในแอปพลิเคชัน ขยายธุรกิจไปยังกลุ่ม E-commerce, เกมออนไลน์ ภายใต้การสนับสนุนของ Tencent รวมทั้งรุกตลาดต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่แอปนี้ได้รับความนิยมอย่างมากและเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงคืออินเดีย และได้เริ่มเจาะตลาดเกาหลี รัสเซีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่เรียบร้อยภายใต้ชื่อ Klip

Beijing Kingsoft Office Software

Kingsoft หรือเทียบเท่าได้กับ Microsoft แห่งเมืองจีน เริ่มต้นกิจการในปี ค.ศ.1988 และเริ่มต้นผลิตภัณฑ์ Office ในปี ค.ศ.1989 ปัจจุบัน Kingsoft มีบริษัทแยกย่อยอีก 4 ประเภท ได้แก่ Office, Mobile, Game และ Cloud ผลิตภัณฑ์ในเครือหลักๆ มีอยู่สองอย่างด้วยกันคือ WPS Office ที่รองรับทุกแพลตฟอร์มและ WPS Mail หรือบริการรับ-ส่งอีเมล ซึ่งแอป WPS ได้รับการจัดอันดับเป็น Top Developer บน App Store และ Play Store จุดเด่น คือ ขนาดเล็ก ใช้งานง่าย รองรับการใช้งานได้มากถึง 46 ภาษา

ในประเทศไทยเอง ก็ได้มีการร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์สำนักงานที่ชื่อว่า “ThaiWPS” ซึ่งตอบโจทย์ผู้ใช้บริการกลุ่ม SME ต่างๆ เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์ที่มีราคาสมเหตุสมผลกับการใช้งาน ถูกกว่าเจ้าตลาดประมาณ 60% จุดเด่นยังคงเป็นขนาดที่เล็ก ใช้งานง่าย แล้วมีฟังก์ชันการใช้งานพิเศษที่ได้จากการวิจัยและพัฒนา ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้ง่ายและเร็วขึ้น
นอกเหนือจากตัวแอปที่กล่าวมา ทาง Kingsoft ยังมีการให้บริการ WPS+ หรือบริการ Cloud Office Software ที่ครอบคลุมทุกบริการที่ Kingsoft ได้ให้บริการ รวมถึงเทคโนโลยี เช่น การแสดงผลแอนนิเมชัน การทำงานร่วมกันออนไลน์ การรักษาความปลอดภัย การแบ่งปันข้อมูลร่วมกัน การให้บริการผ่านมือถือ โดยบริษัทเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา 

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่าไม่ว่าเทคโนโลยีจีนเทคโนโลยีใด ประชาชนอย่างเราๆ ต่างก็มีส่วนร่วมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ทั้งในฐานะของผู้บริโภค ผู้จัดจำหน่าย หรือในฐานะบริษัทเองก็ตาม ไม่ต่างกับประชาชนในชาติอื่นๆ ที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในราคาที่เอื้อมถึงได้ เทคโนโลยีจีนจึงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ และเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงในอนาคต จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะเลือกลงทุนในกองทุนที่ครอบคลุมธุรกิจนวัตกรรมเทคโนโลยีจีนที่มีศักยภาพอย่าง กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า เทคโนโลยี Principal China Technology Fund (PRINCIPAL CHTECH) ซึ่งจะเปิดเสนอขายหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO) ในวันที่ 19-25 พฤษภาคม 2564 นี้ สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2S3z0o8 

โดยดูข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3ePajom

รู้จัก PRINCIPAL CHTECH เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/principalthailand/posts/320788472750125

PRINCIPAL CHTECH


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บลจ. พรินซิเพิล โทร 02-686-9595

คำเตือน

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • กองทุนไทย และ/หรือกองทุนต่างประเทศที่กองทุนลงทุน อาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในต่างประเทศตามความเหมาะสมและสภาวการณ์ในแต่ละขณะ ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งกองทุนหลักอาจได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีน ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
  • ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุนรวมในอนาคตเป็น Feeder Fund  หรือกองทุนรวมที่มีการลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์และทรัพย์สินทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศได้ หรือกลับมาเป็นกองทุน Fund of Funds ได้โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุน (risk spectrum) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ให้เป็นตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยขึ้นกับสถานการณ์ตลาด และต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุน อนึ่ง บริษัทจัดการจะดำเนินการแจ้งผู้ถือหน่วยลงทุนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยผ่านเว็บไซต์ของบริษัทจัดการที่ www.principal.th หรือช่องทางอื่นใดที่บริษัทจัดการกำหนดก่อนดำเนินการเปลี่ยนแปลงการลงทุนดังกล่าว

Ref: https://pnstoretailer.com/who-is-tencent/,  www.taokaemai.com/กรณีศึกษา-xiaomi-ขึ้นเบอร์-4-ของ/, https://www.thinkaboutwealth.com/xiaomi/, https://www.prachachat.net/ict/news-471052, https://www.tiscowealth.com/trust-magazine/issue-42/wealth-manager-talk…, https://blog.mi.com/en/2021/03/24/xiaomi-reports-solid-revenue-and-prof…, https://www.posttoday.com/world/644824, https://positioningmag.com/1317102, https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000047289, https://www.prachachat.net/ict/news-331841