Principal Update: CIO's View November 2021

Focus on Quality Exposure for 2022

โดย คุณศุภกร ตุลยธัญ, CFA - ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน

15 พฤศจิกายน 2564

Cio's view

Source: Bloomberg

ปี 2021 กำลังจะผ่านพ้นไป วันนี้เราจึงอยากเชิญท่านผู้อ่านมาพูดคุยถึงภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจที่สำคัญ เพื่อหาโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับปีหน้า โดยมาเริ่มที่นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุดก็ได้มีการประกาศเริ่มทำ QE Tapering ในเดือนพฤศจิกายน และจะสิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายนปีหน้า ทั้งนี้ปัจจุบันนักลงทุนในตลาดคาดการณ์ว่า Fed จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีหน้า ซึ่งเรามองว่าค่อนข้างที่จะสมเหตุสมผล เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯขึ้นมาแตะระดับสูงในรอบหลายปีและเรายังคาดว่าผลตอบแทนพันบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี จะสามารถปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 2% ได้อย่างไม่ยากในช่วงกลางปีหน้า

ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่มีการกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ หรือต้องการหลีกเลี่ยงความผันผวนจากตลาดหุ้น เราแนะนำให้ลงทุนใน กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล ฟิกซ์ อินคัม (PRINCIPAL GFIXED) ซึ่งลงทุนใน PIMCO GIS Income เป็นกองทุนหลัก โดยเป็นกองทุนที่มีการบริหารจัดการความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนได้ดี โดยปัจจุบันกองทุนมีอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้คงเหลือ (Duration) น้อยกว่า 2 ปี ซึ่งจะทำให้การปรับขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี (ขอเรียกสั้นๆว่า “บอนด์ยีลด์”) ในอนาคตจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของกองทุนมากเท่ากับกองทุนตราสารหนี้ทั่วไปที่มักจะมี Duration ระยะยาว ในขณะเดียวกันกองทุนก็ได้มีการกระจายการลงทุนไปในตราสารหนี้เอกชนคุณภาพในหลายๆอุตสาหกรรมโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่มากขึ้น

ในทางกลับกันสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความผันผวนของตลาดหุ้นจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยและบอนด์ยีลด์ในอนาคตได้ เราแนะนำให้ลงทุนใน กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้ (PRINCIPAL GEF) ที่เน้นการลงทุนผ่านการกระจายการลงทุนในหน่วยETF ที่หลากหลาย และกองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล แบรนด์ (PRINCIPAL GBRAND) ที่มีกองทุนหลักเป็นMorgan Stanley Investment Funds – Global Brands Fund โดยทั้งสองกองทุนมีกลยุทธ์มุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทชั้นนำทั่วโลก ที่มีผลประกอบการและกระแสเงินสดที่ดีอย่างสม่ำเสมอ (Quality-focused stocks) และมีดัชนีอ้างอิงที่มีน้ำหนักการลงทุนหลักอยู่ในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว (Developed Market) เช่น สหรัฐฯ, ยุโรป และญี่ปุ่น เหมือนกัน ซึ่งเราคาดว่าจะสามารถมีอาสสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่ากลุ่มตลาดหุ้นประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) เนื่องจากการดำเนินนโยบายการเงินเชิงเข้มงวดของสหรัฐฯที่แตกต่างจากนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายของทางฝั่งยุโรปและญี่ปุ่น จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯโดยรวมมีการปรับตัวแข็งค่าขึ้น ในขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในสหรัฐฯ ก็จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อกลุ่ม Emerging Market เช่นกัน ซึ่งสองปัจจัยดังกล่าวจะทำให้ค่าเงินของกลุ่ม Emerging Market ต้องเผชิญกับแรงกดดันในการอ่อนค่า ทำให้ไม่เป็นผลดีต่อตลาดหุ้นมากนัก ดังนั้นเราจึงแนะนำเน้นการลงทุนในกลุ่มประเทศ Developed Market จนกว่าสถานการณ์เงินเฟ้อจะมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้น

CIO’s View ฉบับเดือนพฤศจิกายนนี้ เรามีบทความ Special Topic โดยจะเป็นการเล่าถึงภาพรวมเศรษฐกิจของ Developed Market โดยคุณวรุณ ทรัพย์ทวีกุล ผู้จัดการกองทุนของ บลจ.พรินซิเพิล ประเทศไทย ที่บริหาร กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้ (PRINCIPAL GEF)

Special Topic: กองทุน Principal Global Equity Fund (PRINCIPAL GEF) ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี 2021

โดย คุณวรุณ ทรัพย์ทวีกุล - ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายการลงทุนต่างประเทศ

Us flag   ตลาดหุ้นสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมายังคงปรับตัวทำจุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่องทั้งดัชนี S&P500, Russell 1000, Dow Jones และ Nasdaq โดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากพื้นฐานเศรษฐกิจที่ยังปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งในด้านของตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขGDP, การจ้างงาน, ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค และ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาสสามที่ประกาศออกมามีการเติบโต และผลกำไรที่ดี โดยผลประกอบการของดัชนี Russell 1000 โดยรวมมีกำไรมากกว่าที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ไว้ (Earnings Surprise) ที่ 9.01% และมีอัตราผลกำไรเติบโต (Earnings Growth) ที่ 42.21%ทางด้านการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ครั้งล่าสุดก็ได้มีการประกาศเริ่มทำ QE Tapering ในเดือนพฤศจิกายน และจะสิ้นสุดลงในช่วงกลางปีหน้า โดยมีวงเงินจำนวน 15 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯต่อเดือนตามที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ยังคงมีมุมมองที่ผ่อนคลายต่อตัวเลขเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นในปัจจุบัน ว่าเป็นการปรับตัวขึ้นแค่ชั่วคราวจากความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งคาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อจะสามารถปรับตัวลงได้ในช่วงกลางปีหน้า และยังคงไม่รีบร้อนที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า

อย่างไรก็ตามเราคงมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯในระยะข้างหน้า จากพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และการประมาณผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนในอนาคตที่ถูกปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีความเสี่ยงด้านสภาวะเงินเฟ้อและการปรับขึ้นดอกเบี้ยเข้ามากระทบบรรยากาศการลงทุนเป็นระยะๆอยู่บ้าง โดยแนะนำจังหวะเข้าสะสมซื้อในช่วงที่ตลาดมีการปรับฐาน STOXX Europe 600 ในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เช่นกัน โดยผลประกอบในไตรมาสามที่ประกาศออกมาล่าสุดมี Earnings Surprise ลงมา 5-6%

eu flag   ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรปดัชนี STOXX Europe 600 ในช่วงที่ผ่านมาก็ได้ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่เช่นกัน โดยผลประกอบในไตรมาสามที่ประกาศออกมาล่าสุดมี Earnings Surprise และ Earnings Growth อยู่ที่ 9.63% และ 46.32% ตามลำดับ โดยการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ครั้งล่าสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาก็ยังคงไม่มีการแถลงหรือส่งสัญญาณในการทำ QE Taperingถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนจะปรับขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 13 ปีแล้วก็ตาม ทั้งนี้นักวิเคราะห์บางส่วนคาดการณ์ได้คาดการณ์ว่า ECB จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผล่อนคลายไปจนถึงช่วงต้นปีหน้า และจะประกาศการทำ QE Tapering ในช่วงกลางปี ทางด้านการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในประเทศเยอรมันนียังคงอยู่ในระหว่างการเจรจา ซึ่งทางเราคาดการณ์ว่านายโอลาฟ โชลซ์ ผู้นำพรรค Social Democratic Party (SDP) จะสามารถเจรจาข้อตกลงการจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคร่วมได้แล้วเสร็จภายในเดือนนี้ ก่อนที่จะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันที่ 6 ธันวาคม 2564

โดยสรุปแล้วเรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นยุโรปในช่วงระยะข้างหน้า จากพื้นฐานเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ผลประกอบการบริษัทที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และการสนับสนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายอยู่

JP   ข้ามมาทางฝั่งเอเชีย ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบกว้างโดยที่ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน (Sideway) ผลประกอบการไตรมาสสามของบริษัทจดทะเบียนในดัชนี TOPIX ที่ประกาศออกมาล่าสุดมี Earnings Surprise และ Earnings Growth อยู่ที่ 20.74% และ 51.95% ตามลำดับ ทางด้านผลการเลือกตั้งทั่วไปที่จัดขึ้นในวันที่ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา พรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) และพรรคร่วมรัฐบาลก็ได้ชนะเสียงข้างมากตามที่ได้คาดไว้ ซึ่งทำให้นายฟูมิโอะ คิชิดะ ได้อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตีต่อไป

   โดยทาง บลจ.พรินซิเพิล คาดการณ์ว่า 2 ปัญหาหลักที่นายฟูมิโอะจะต้องหาทางแก้ไข

  1. การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 โดยคาดว่ามาตรการจะถูกประกาศออกมาในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า และจะผ่านการรับรองจากสภาภายในสิ้นปีนี้
     
  2. นโยบายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน (Carbon Neutral) ซึ่งนายซูกะ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้แถลงไว้ว่าจะดำเนินนโยบาย Carbon Neutral ให้สำเร็จภายในปี 2050 โดยล่าสุดรัฐบาลญี่ปุ่นออกงบประมาณในการค้นคว้าและวิจัยพลังงานทดแทนอยู่ที่ 17 พันล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐฯ น้อยกว่ากลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างประเทศสหรัฐฯที่ 555 พันล้านเหรียญดอลลาห์สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปที่ 1 ล้านล้านยูโร ในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นยังต้องพึ่งพาพลังงานจาก ก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหิน และน้ำมัน ในสัดส่วนที่มากกว่า 70%

ทางด้านการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเรามีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่ม Consumer Discretionary และ Financials จากปัจจัยสนับสนุนดังต่อไปนี้

  1. ความต้องการสินค้า และบริการ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงหลังจากผ่านช่วงวิกฤตการแพร่ระบาด COVID-19 รวมไปถึงอัตราเงินออมของประชาชนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว จะเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่ม Consumer Discretionary
     
  2. เนื่องจากปัจจุบันเราอยู่ในช่วงที่ FED เริ่มดำเนินนโยบายการเงินกลับเข้าสู่ภาวะปกติ (Policy Normalization) จึงทำให้คาดได้ว่าในอนาคตจะมีการขึ้นดอกเบี้ยเกิดขึ้น โดยปัจจุบันนักลงทุนในตลาดให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยของ FED อยู่ที่ 2 ครั้งในปี 2022 ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นสูงได้ถึง 2.00-2.25% ในช่วงกลางปีหน้า ซึ่งจะเป็นสนับสนุนต่อกลุ่ม Financials นอกจากนี้การลงทุนในกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ Electronic Vehicle (EV) ไม่ว่าจะทั้งต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำของห่วงโซ่อุปทานก็มีความน่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่จับกระแสหลักของโลกที่กำลังเปลี่ยนไปในระยะยาว ซึ่งปัจจุบันประเทศกลุ่มผู้นำของโลกเช่น สหรัฐฯ, สหภาพยุโรป, ญี่ปุ่น และจีน ก็มีนโยบายที่มุ่งเน้นไปในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Net Zero Emission) เหมือนกัน

กองทุนเปิด พรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้ (PRINCIPAL GEF)

กองทุนที่มีนโยบายในการลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่มีกลยุทธ์ในการมุ่งเน้นการลงทุนผ่านหน่วยลงทุน ETF ในต่างประเทศ โดยมีน้ำหนักการลงทุนหลักในหุ้นสหรัฐฯ หุ้นยุโรป และหุ้นญี่ปุ่น ซึ่งมีน้ำหนักรวมกันได้ประมาณ 90% ของกองทุน ในด้านของระดับมูลค่าพื้นฐานนั้น กองทุนมี Forward Price to Earnings ratio (P/E) อยู่ที่ 19.7 เท่า ซึ่งหากพิจารณาโดยเบื้องต้นนั้นถือว่าอยู่ในระดับที่สูง แต่เป็นเหตุผลจากฐานของกำไรที่อยู่ในระดับต่ำเนื่องจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ lockdown ส่งผลให้อัตราการเติบโตของกำไรในปี 2020 นั้นสูงเกินปกติ หากพิจารณาอัตราการเติบโตของกำไรในช่วงปี 2021-2023 เพื่อเป็นการปรับเอาผลกระทบในเรื่องของฐานคำนวณ (base effect) ออกไปนั้น จะเห็นได้ว่าอยู่ในระดับที่ประมาณ 22% ต่อปี จะทำให้มูลค่าพื้นฐานในเชิง P/E นั้นอยู่ในระดับที่ค่อนข้างเหมาะสมกับอัตราการเติบโตของกำไรที่มีการปรับการคำนวณ (normalized growth)

สำหรับ กองทุนเปิด พรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้ (PRINCIPAL GEF) นั้นมีความเหมาะสมกับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศที่เป็น Developed Markets เพื่อเป็นน้ำหนักการลงทุนหลักในตราสารทุนต่างประเทศ แต่ถึงอย่างไรก็ตามนักลงทุนควรพิจารณาการจัดสรรสินทรัพย์ (asset allocation plan) ให้เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสมของแต่ละคนด้วยเช่นกัน

กองทุนแนะนำ
กองทุนเปิด พรินซิเพิล โกลบอล ฟิกซ์ อินคัม 
Principal Global Fixed Income Fund (PRINCIPAL GFIXED)
กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล อิควิตี้
Principal Global Equity Fund (PRINCIPAL GEF)
กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล แบรนด์
Principal Global Brands Fund (PRINCIPAL GBRAND)

 

อ่าน Principal Update: CIO's View November 2021 ที่นี่