Principal Asset Allocation Recommendation 2Q2023

Asset Allocation 2Q2023

ภาพรวมตลาด ไตรมาส 1 ปี 2023

ตลาดการลงทุนโดยภาพรวมมีความผันผวนตลอดทั้งไตรมาส แต่ท้ายที่สุดสามารถปรับตัวมีทิศทางที่ดีขึ้นในช่วงสิ้นเดือน มี.ค. 2023 ความผันผวนของตลาดการลงทุน โดยเฉพาะตลาดหุ้น ยังคงมีปัจจัยด้านอัตราเงินเฟ้อ และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดเป็นตัวแปร ซึ่งในช่วงเดือน ม.ค. ถึงกลางเดือน ก.พ. ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับปัจจัยบวกจากการที่อัตราเงินเฟ้อสหรัฐ เพิ่มขึ้น (แบบเทียบรายปี) แบบชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง 6 เดือนติดต่อกัน รวมถึงการที่เฟดปรับลดอัตราการขึ้นดอกเบี้ยลงมาอยู่ที่ 0.25% ในการประชุมเดือน ก.พ. 2023 อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของตลาดหุ้นสหรัฐฯกลับมากดดันอีกครั้ง หลังตลาดกลับมากังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในระดับที่สูงขึ้นหลังอัตราเงินเฟ้อเดือน ม.ค. ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยเมื่อเทียบแบบรายเดือน และต่อเนื่องในช่วงกลางเดือน มี.ค. 2023 ตลาดกดดันจากประเด็นความกังวลต่อสถานการณ์ธนาคารทั้งในสหรัฐฯและยุโรปในปัญหาสภาพคล่อง อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นสามารถกลับมาฟื้นตัวได้หลังหน่วยงานการเงินของรัฐพร้อมเข้าช่วยเหลือ ขณะที่ในการประชุมของเฟดในวันที่ 21-22 มี.ค. 2023 เฟดมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ขึ้นมาอยู่ที่ 4.75-5.00%

ทางด้านยุโรป ตลาดหุ้นถือว่ามีแนวโน้มปรับตัวขึ้นได้ดี ซึ่งได้อานิสงส์หลักจากการที่ภูมิภาคสามารถหาแหล่งพลังงานทดแทนรัสเซียได้ ผสมกับอุณหภูมิในช่วงหน้าหนาวมีค่าสูงกว่าปกติ ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปปรับตัวลดลงไปสู่ระดับก่อนเกิดความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจ (Manufacturing/Service PMI) ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

ตลาดหุ้นจีนปรับตัวขึ้นในช่วงต้นปีต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2022 รับปัจจัยบวกจากการเปิดประเทศมากขึ้นเป็นลำดับของประเทศจีน รวมถึงนโยบายที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ที่เป็นปัญหาในปีที่แล้ว ดัชนีภาคการผลิตปรับตัวดีขึ้น ผู้คนมีการเดินทางมากขึ้น และรัฐบาลจีนมีการผ่อนคลายมากขึ้นต่อกฎระเบียบควบคุมบริษัทกลุ่มเทคโนโลยี

ภาพรวมตลาด ไตรมาส 2 ปี 2023

ล่าสุดในการประชุมของเฟดในวันที่ 21-22 มี.ค. 2023 Fed Dot Plot บ่งชี้ว่าการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ประมาณ 5.1% ซึ่งหมายความว่า เฟดยังมีโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีอีกหนึ่งครั้งที่ 0.25% และจะไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ (Dot Plot ครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจากเดือนธ.ค. ปีที่แล้ว) อย่างไรก็ตามนายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดได้กล่าวเป็นนัยว่าการปรับขึ้นครั้งนี้สามารถเป็นการขึ้นครั้งสุดท้ายได้ในตอนนี้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของภาคธนาคารสหรัฐที่เกิดขึ้น นอกจากนั้น นักลงทุนยังคงจับตาดูตัวเลขและสภาพเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะสามารถชี้นำต่อทิศทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงที่เหลือของปีได้ เช่นเดียวกับที่จับตาดูการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบและอานิสงส์ที่ประเทศต่างๆทั่วโลกจะได้รับจากประเด็นนี้ต่อไป

ตลาดหุ้นต่างประเทศ (Neutral)

ทาง บลจ. มีมุมมองว่า ตลาดมีการรับรู้ปัจจัยบวกไปพอสมควร โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเรื่องเฟดมีแนวโน้มชะลอขึ้นอัตราดอกเบี้ย และทิศทางเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง และสถานการณ์ธนาคารบางแห่งที่ขาดสภาพคล่องคลี่คลาย อย่างไรก็ดี เรามองว่าการฟื้นตัวแบบนี้ จะเป็นการฟื้นตัวแบบระยะสั้นเท่านั้น แต่ในทางพื้นฐานแล้วนั้น สภาพเศรษฐกิจดูยังคงมีแรงกดดัน จากทั้งในส่วนของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่สูง รวมถึงความกังวลจากปัญหาสภาพคล่องของธนาคารที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จะทำให้การปล่อยกู้หรือสินเชื่อมีความเข้มงวดมากขึ้น น่าจะยังคงกดดันภาพเศรษฐกิจโดยรวมและงบการเงินของบริษัทต่างๆต่อไปได้

ขณะที่ฝั่งยุโรป ความกังวลก่อนหน้าต่อธนาคาร Credit Suisse ได้คลี่คลายลงเช่นเดียวกัน จากการที่ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์เข้าช่วยเหลือด้านสภาพคล่องในตลาดการเงิน และท้ายที่สุดถูก UBS Group เข้าซื้อกิจการไป รวมถึงประเด็นตราสารหนี้ Additional Tier 1 (AT1) ของ Credit Suisse ที่ลดความกังวลจากการที่หน่วยงานกํากับดูแลของยุโรปยังคงให้สิทธิเจ้าหนี้หรือผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้เหนือส่วนทุน/ตราสารทุน ซึ่งความกังวลดังกล่าวนี้ได้คาดว่าเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคการผลิตในเดือน มี.ค. 2023 ที่ผ่านมา แต่ภาคการบริการยังฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง

ประเทศจีนมีการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบแล้ว และเราคาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะมีอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดมีการย่อตัวอยู่บ้างในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา จากเป้าหมายการเติบโตของ GDP ที่รัฐบาลตั้งเป้าลดลงเหลือแค่ 5% จาก 5.5% เมื่อช่วงสิ้นปีที่แล้ว ผสมกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นแบบต่ำเกินไป (1% ในเดือน ก.พ. 2023) และมูลค่าส่งออกและนำเข้าที่ยังคงหดตัวตามสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก อย่างไรก็ดี การเปิดประเทศของจีนย่อมหมายถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว และการฟื้นตัวที่ไม่ได้เร็วนักย่อมหมายถึงรัฐบาลยังคงต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป และการควบคุมบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ไม่น่าจะรุนแรง

ตลาดหุ้นไทย (Neutral)

ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงพอสมควรในช่วงไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โดยความผิดหวังของตลาดต่องบการเงินของไตรมาส 4 ปี 2022 ซึ่งหดตัวทั้งเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้า รวมถึงมีแรงขายของนักลงทุนต่างชาติร่วมด้วย สำหรับตลาดหุ้นไทยปีนี้ คาดว่าปัจจัยบวกหลักน่าจะเป็นการจับจ่ายใช้สอยในประเทศที่ดีขึ้นต่อเนื่อง โดยภาคการเกษตรยังถือว่าแข็งแรงอยู่ รวมถึงการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะของนักท่องเที่ยวจีน อย่างไรก็ดี การส่งออก ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ไม่อาจหลีกหนีแรงกดดันต่อสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงได้

REITs (Slightly Underweight)

แม้ว่าเฟดจะมีทิศทางการชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ความไม่แน่นอนต่อนโยบายยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และสูงกว่าเป้าหมายพอสมควร โดยเฉพาะทางฝั่งสหรัฐฯและยุโรป ดังนั้นโอกาสการขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังคงมีอยู่ และจะมีผลต่อ Dividend Yield Spread ที่แคบลงได้อีก ซึ่งจะกดดันภาพรวม REITs โดยเฉพาะทางฝั่งสหรัฐฯและยุโรป อย่างไรก็ดี REITs ของไทยและสิงค์โปร์มีภาพรวมที่ดูดีกว่า จากโมเมนตัมการเปิดประเทศที่จะส่งผลบวกต่อผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจในภาพรวม

ตลาดตราสารหนี้ (Slightly Overweight)

แม้ว่าโอกาสการขึ้นอัตราดอกเบี้ยยังคงมีอยู่ แต่ในทางกลับกันภาพตลาดตราสารหนี้ดูดีกว่า REITs เนื่องด้วยยิลด์มีการปรับตัวรับรู้ถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและทิศทางการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดได้มากกว่า โดยการลงทุนหรือถือครองของตราสารหนี้ทั้งต่างประเทศและไทยในส่วนที่มี Long Duration หรือมี Duration ที่มากกว่าดัชนีอ้างอิง ย่อมหมายถึงมีโอกาสได้ยิลด์ที่ดีรวมถึงการปรับตัวขึ้นของราคาหน้าตั๋วด้วย

Gold (Slightly Overweight)

ด้วยความกังวลโดยภาพรวมที่อาจยังคงมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านปัญหาสภาพคล่องของธนาคาร ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทองคำจะถือเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่เป็นการลงทุนแบบหลุมหลบภัย (เป็น Safe Haven) และรวมถึงการที่ทองคำและดอลล่าร์สหรัฐมีความสัมพันธ์แปรผกผัน (ดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่าลงหลังเฟดขึ้นดอกเบี้ยแบบชะลอตัวมากขึ้น) ส่งผลทำให้ราคาทองคำ มีการปรับตัวขึ้นได้ดีและแตะเหนือระดับ 2,000 ดอลล่าร์สหรัฐต่อออนซ์

Asset Allocation ไตรมาส 2 ปี 2023

Cio's view

UW = Underweight; N = Neutral; OW = Overweight
*Note: การลงทุนใน Principal VNEQ จะถูกกำหนดเพดานไว้ไม่เกิน 10% ของน้ำหนักรวมของการลงทุนในหุ้น เนื่องจากตลาดหุ้นเวียดนามเป็นตลาดชายขอบ ซึ่งมีความผันผวนและไม่ได้อยู่ใน benchmark 
** Note: เปลี่ยนแปลงจากไตรมาส 1 ปี 2023

กองทุน Highlight สำหรับ ไตรมาส 2 ปี 2023

  • กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า อิควิตี้ Principal China Equity Fund (PRINCIPAL CHEQ) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศจีนหรือบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจในประเทศจีน ที่มีการเติบโตในระยะยาว และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจของจีน สำหรับในระยะสั้น การกลับมาเปิดประเทศและจับจ่ายใช้สอยของประชากรในเมืองใหญ่ๆ ในจีนจะส่งผลบวกโดยตรงต่อกองทุน โดยหมวดอุตสาหกรรมที่กองทุนลงทุนจะมีน้ำหนักส่วนใหญ่ทั้งในกลุ่ม Financial Services, Communication Services และ Consumer Defensive
  • กองทุนเปิดพรินซิเพิล ไชน่า เทคโนโลยี Principal China Technology Fund (PRINCIPAL CHTECH) เน้นลงทุนบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจในประเทศจีนที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (เป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ฉบับที่ 14) ซึ่งกองทุนเห็นโอกาสการเติบโตของการลงทุนล้อตามไปกับนโยบายของจีนที่มุ่งเน้นการพึ่งพาต่างชาติน้อยลง ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง และตั้งเป้าเป็นผู้นำโลกด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีในอนาคต โดยกองทุนจะแบ่งน้ำหนักการลงทุนในสัดส่วน 70:30 ในธีม Soft Tech (eCommerce, Cloud, Internet):Hard Tech (New-generation information technology, Biomedicine, New energy) ขณะที่การกลับมาเปิดประเทศของจีนและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมด้านกฎระเบียบที่ชัดเจนจะเป็นปัจจัยบวก
  • กองทุนเปิดพรินซิเพิล ยูโรเปี้ยน อิควิตี้ Principal European Equity Fund (PRINCIPAL EUEQ) มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้ง หรือดําเนินกิจการหลักในยุโรป (รวมถึงยุโรปตะวันออก) ที่มีโอกาสเติบโตสูงผ่านกองทุน Principal Global Investors Funds – European Responsible Equity Fund ในระยะสั้นตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศออกมาแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องจะช่วยส่งผลบวกให้กับกองทุน โดยกองทุน Over weight อุตสาหกรรม Consumer Discretionary, Financials และ Health Care ซึ่งสอดคล้องเศรษฐกิจ และการจับจ่ายใช้สอยในยุโรปที่กำลังดูดีขึ้น
  • กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล ฟิกซ์ อินคัม Principal Global Fixed Income Fund (PRINCIPAL GFIXED) ลงทุนผ่าน Master Fund ชื่อ PIMCO GIS Income ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ประเภทต่างๆ และมีการกระจายการลงทุนไปในหลายธุรกิจและหลายประเทศทั่วโลก (ส่วนใหญ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมธนาคารและตราสารหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยมีนโยบายการลงทุนแบบ Active และมีระยะเวลาครบกําหนดของตราสารที่แตกต่างกัน ลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน ณ สิ้นเดือน ก.พ. 2023 พอร์ตกองทุนมีอันดับความน่าเชื่อถือเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ A+ และ YTM ที่ 7.15% (ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงจุดสูงสุดในช่วงความกังวลโควิด-19) และ Duration ประมาณ 3.53 ปี

2Q/2023 Principal Asset Allocation Recommendation

สัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม/ การจัดสรรเงินลงทุน

Cio's view

 

Principal Asset Allocation Plan
เป็นบริการการแนะนำ การจัดพอร์ตการลงทุนแบบการกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ ต่างๆ (Asset Allocation) ตามระดับความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ลงทุน โดยเป็นการพิจารณาและประเมินภาวะการลงทุน เพื่อการสร้างและปรับพอร์ตอย่างสมดุล และอาจจะพิจารณาและ นำเสนอการปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนหรือปรับพอร์ตลงทุนเป็นรายไตรมาส เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพอร์ตการลงทุนมีการกระจาย ความเสี่ยงอย่างเหมาะสม และสอดรับกับภาวะการลงทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาที่เปลี่ยนไปตามภาวะตลาด ส่งผลให้สัดส่วนของแต่ละสินทรัพย์ที่ลงทุนมีการปรับเปลี่ยนไปจากสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม อาจทำให้พอร์ตการลงทุนมี ความเสี่ยงสูงหรือต่ำไปกว่าที่ควรจะเป็น เพื่อให้สัดส่วนการลงทุน เข้าสู่สัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม Principal Asset Allocation Plan เป็นเพียงคำแนะนำของ บริษัทจัดการ ผู้ลงทุนอาจ ไม่ได้รับผลตอบแทนตามคาดหวัง ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรทำความ เข้าใจการจัดสรรการลงทุน (Basic Asset Allocation) ตามคำแนะนำของสำนักงาน ก.ล.ต.

พอร์ตการลงทุนดังกล่าวเป็นเพียงการประมาณการสัดส่วนการลงทุน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อลงทุนจริง ขึ้นอยู่กับสภาพตลาด การลงทุนและโอกาสการลงทุนในแต่ละขณะ ทั้งนี้ ประมาณการสัดส่วนการลงทุน ไม่ใช่การรับประกันหรือยืนยันถึงผลตอบแทนในอนาคต/ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน


คำอธิบายของพอร์ตการลงทุน Principal Asset Allocation Plan
คำนิยามของกลุ่มตราสารหนี้ กลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง Mid-Term Fixed Income คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ทั่วไป เน้นลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง มี Portfolio Duration โดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 1 - 3 ปี

คำอธิบายประกอบ 5 Asset Allocation Model พอร์ตลงทุนแนะนำ 

  • สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “ต่ำ” และ “ปานกลางค่อนข้างต่ำ” แนะนำให้ท่านเลือกลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ 
  • สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “ปานกลางค่อนข้างสูง” แนะนำพอร์ตการลงทุน “Income” 
  • สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “สูง” ท่านสามารถลงทุนในพอร์ตการลงทุน “Income” และ “Balance”
  • สำหรับผู้ลงทุนที่มีระดับความเสี่ยง “สูงมาก” ท่านสามารถลงทุนในพอร์ตการลงทุน “Income”, “Balance”, “Growth”, “Active Growth”, “Global Equity”

ทั้งนี้ หากท่านผู้ลงทุนมีความประสงค์จะลงทุนในพอร์ตลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าระดับความเสี่ยงการลงทุนของท่าน ท่านจะต้อง “ยืนยัน” รับทราบความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนที่ท่านได้เลือกลงทุน

คำอธิบายประกอบ Expected Return และ Return Volatility (ความผันผวนของอัตราผลตอบแทนคาดการณ์ในระยะเวลา 3 ปี ข้างหน้า)
Expected Return และ Return Volatility หมายถึง อัตราผลตอบแทนและค่าความเสี่ยงคาดการณ์เฉลี่ยต่อปี สำหรับการลงทุนในระยะ 3 ปีข้างหน้า ซึ่งมาจากการศึกษาข้อมูล ในอดีตย้อนหลังเป็นฐานในการคำนวณ ดังนั้น ชุดข้อมูลดังกล่าว จึงมิได้ยืนยันถึงอัตราผลตอบแทนที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตExpected Return และ Return Volatility คำนวณมาจาก อัตราผลตอบแทนและค่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริงในอดีตของตราสารทุนไทย ตราสารทุนต่างประเทศ และการลงทุนทางเลือกในกองทุนอสังหาริมทรัพย์และ REITs ผ่านดัชนีที่ใช้เป็นตัวแทนแต่ละสินทรัพย์ ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี (ตั้งแต่ มีนาคม 2013 ถึง มีนาคม 2023) ขณะที่ตราสารหนี้ไทย คำนวณมาจาก แนวโน้มอัตราผลตอบแทนจากเส้นอัตราผลตอบแทนของตลาดตราสารหนี้ หรือ Bond Yield Curve

ดัชนีที่ใช้ในการคำนวณอัตราผลตอบแทนในอดีตของแต่ละ สินทรัพย์ ได้แก่

  • ตราสารทุนไทย - ดัชนี SET Total Return Index 
  • ตราสารทุนต่างประเทศ - ดัชนี MSCI ACWI Total Return Index 
  • ตราสารหนี้ - ดัชนี GovBond 1-3Yrs NTR Index (50%) + MTMCorpA-up 1-3Yrs NTR Index (25%) + Avg12MFixed(BBLc,KBANK,SCB) (25%)
  • การลงทุนทางเลือกในกองทุนอสังหาริมทรัพย์และ REITs - ดัชนี SET PF&REIT Total Return Index (50%) + ดัชนี FTSE ST Real Estate Investment Trusts Total Return Index (50%)

อ่าน Principal Asset Allocation Recommendation 2Q2023 ที่นี่


ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ กองทุน PRINCIPAL CHEQ กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวใน emerging markets ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย/ กองทุน PRINCIPAL CHTECH กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีน ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย/ กองทุน PRINCIPAL EUEQ กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย/ กองทุน PRINCIPAL APDI กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในฮ่องกง ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย/ กองทุน PRINCIPAL GESG / PRINCIPAL GBRAND กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิ จารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย/ กองทุน PRINCIPAL VNEQ กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศเวียดนาม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย/ กองทุน PRINCIPAL iPROP กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ (Property Sector Fund) ดังนั้นหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก/ กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินทุนเริ่มแรกได้/บริษัทจัดการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน/ ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต