ความท้าทายของการศึกษากับโอกาสในการลงทุน

หลังจากที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างมากมาย สำหรับการเดินทางของคนทำงาน เมื่อก่อนจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปที่ทำงานเพื่อประสานงาน ประชุมงาน เพื่อให้งานออกมาราบรื่นที่สุด แต่พอมีโรคโควิด-19 เข้ามา ทำให้ทุกบริษัทต้องใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) สุดท้ายจึงเกิดสิ่งที่เรียกว่า “การทำงานจากที่บ้าน (Work from home)”

เมื่อต้องมีการ Work from home ขึ้นมากันอย่างจริงจัง แพลตฟอร์มที่ช่วยในการสื่อสารต่าง ๆ ทั้งการประชุม การส่งงานรับงานกัน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ทำให้การทำงานราบรื่นขึ้นได้ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้กันอย่างกว้างขวาง ถึงแม้ในเวลานี้สถานการณ์ของโควิด-19 ในประเทศไทยถือว่าอยู่ในระดับที่ดี แต่หลายบริษัทก็ยังคงมาตรการ Work from home กันอยู่ เหตุผลหลักก็คือ เรื่องของความปลอดภัย แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง Work from home เองก็ช่วยทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นด้วย 

ผลกระทบนี้ไม่ได้กระทบเพียงแค่คนทำงานเท่านั้น ในแวดวงการศึกษาเองก็ได้รับผลกระทบไม่แตกต่างกัน มีการปิดโรงเรียน ให้นักเรียนเรียนออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งด้วยพฤติกรรมของเด็กยุคใหม่โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z หรือเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้การเรียนออนไลน์เป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยม

นอกจากนี้ยังมีผลสำรวจ รวมถึงงานวิจัยต่าง ๆ ที่ผลออกมาไปในทิศทางเดียวกันด้วยว่า ข้อมูลที่ได้รับจากการเรียนในห้องเรียนค่อนข้างตกยุคตกสมัยเร็ว ทำให้ต้องไปหาข้อมูลที่อัพเดทจากทางอินเทอร์เน็ตเองมากขึ้น รวมถึงยังรู้สึกอีกว่าการเรียนในห้องเรียนมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าการลงมือทำจริง

(ที่มา https://www.worldbank.org/en/news/immersive-story/2019/01/22/pass-or-fail-how-can-the-world-do-its-homework ข้อมูล ณ วันที่ 22 มกราคม 2019) , https://medium.com/base-the-business-playhouse/21st-century-skill-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-21-898985d417ce ข้อมูล ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2018)

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดก็คือ การเรียนของนักบิน ถ้าให้เรียนผ่านคำสอนและหนังสือเพียงอย่างเดียวกว่าจะสามารถขับเครื่องบินเป็นคงใช้เวลานาน รวมถึงเมื่อทดลองบินจริงจะมีความเสี่ยงที่สูง จึงทำให้เกิดการพัฒนาห้องบินจำลอง (Flight Simulator) เพื่อให้นักเรียนการบินสามารถทดลองบินก่อนการบินจริง รวมถึงหลักคิดนี้กำลังถูกพัฒนาใช้กันนักศึกษาแพทย์ด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุผลเหล่านี้เลยทำให้เทคโนโลยีด้านการศึกษา (EdTech) ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แล้วยิ่งมีโควิด-19 เป็นตัวเร่งก็เลยทำให้ EdTech ต่าง ๆ เริ่มถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงนักลงทุนทั่วโลกเองก็มองเห็นโอกาสในการลงทุนกับ EdTech เนื่องจากขนาดอุตสาหกรรมด้านการศึกษามีมูลค่าสูงกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือมากกว่า 150 ล้านล้านบาท แต่ ณ ปัจจุบัน EdTech ยังมีขนาดเพียง 2-3% เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดทั้งหมดซึ่งถือว่ายังมีแนวโน้มการเติบโตที่สูง

สำหรับนักลงทุนที่กำลังมองหาแหล่งการลงทุนใน EdTech ทาง บลจ. พรินซิเพิลเองได้ออก “กองทุนเปิด พรินซิเพิล โกลบอล เอ็ดดูเคชั่น เทค หรือ Principal Global Education Tech Fund (PRINCIPAL GEDTECH)” ที่เพิ่ง IPO เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยกองทุนดังกล่าวจะนำเงินไปลงทุนต่อในกองทุนหลัก (Master Fund) ก็คือ Credit Suisse (Lux) Edutainment Equity Fund ชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) IBP USD ซึ่งมีนโยบายการลงทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นและสิทธิอื่น ๆ ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยจะแบ่งออกมาเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ Innovative Service, Systems and tools และ Digital Content ซึ่งจะมีการลงทุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของมูลค่ากองทุนสุทธิ ส่วนที่เหลืออาจจะมีการพิจารณาการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งในและต่างประเทศได้

ตัวอย่างหุ้นที่น่าสนใจในพอร์ตก็มีหลากหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น “2U” ที่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยทำให้นักศึกษาทั่วโลกสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยชั้นนำได้ทั่วโลก ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 220,000 รายและยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องอีกด้วย (ที่มา https://www.principal.th/th/PRINCIPAL-GEDTECH-Wealthy-Thai )

“CHEGG” บริการให้ยืมตำราเรียน รวมถึงการช่วยหาคำตอบจากแบบฝึกหัดในตำรา และมีการพัฒนาต่อยอดให้มีติวเตอร์เพื่อช่วยสอนและให้เกิดความเข้าใจที่มากขึ้น ณ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 3,900,000 ราย (ที่มา Chegg Annual Report 2019 ลิ้งค์ https://s21.q4cdn.com/596622263/files/doc_financials/2019/ar/2019-Annua…) ข้อมูลสิ้นปี 2019) รวมถึงอีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจ คือ “CAE” ผู้ผลิตห้องบินจำลอง (Flight Simulator) ให้กับนักบินและพัฒนาต่อยอดมาเป็นห้องผ่าตัดจำลองต่าง ๆ ให้กับนักศึกษาแพทย์ เพื่อให้เกิดการลงมือปฏิบัติที่มากขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนมากขึ้น

ซึ่งถ้าดูผลตอบแทนย้อนหลังก่อนช่วงโควิด-19 จะเห็นได้ว่า Credit Suisse (Lux) Edutainment Equity Fund สามารถทำผลตอบแทนได้ดีกว่าดัชนีชี้วัด (Benchmark) (ที่มา  https://www.youtube.com/watch?v=ElEy7gGx6N0&feature=emb_title  ช่วงนาทีที่ 10.30 ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2020) ค่อนข้างมาก รวมถึงช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ใหม่ ๆ ที่มีการปรับตัวลงของสินทรัพย์ทั่วโลกก็ยังสามารถประคองตัวทำให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีชี้วัดได้ แล้วหลังการฟื้นตัวก็สามารถสร้างผลประกอบได้อย่างโดดเด่น ซึ่งทาง Credit Suisse คาดการณ์ว่าในปีหน้ากำไรของหุ้นในพอร์ตจะมีการเติบโตเฉลี่ยกว่า 33% และในอีก 3 ปีข้างหน้าก็ยังเติบได้ได้อีก 20% ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดกว่า 2 เท่าตัว (ที่มา https://www.principal.th/th/PRINCIPAL-GEDTECH-Wealthy-Thai)

สำหรับนักลงทุนที่สนใจข้อมูลกองทุน PRINCIPAL GEDTECH สามารถเข้ามาดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่ (ฝังลิงก์ https://www.principal.th/th/principal/GEDTECH-A) หรือติดต่อได้ที่ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ ตัวแทนสนับสนุนการขายและรับซื้อคืน และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด โทร. 02 686 9595

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน/ ผลตอบแทนในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

- เนื่องจากกองทุนนี้เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในกองทุนต่างประเทศ จึงอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ที่กองทุนหลักลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเงินลงทุนของผู้ลงทุน
- กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
- กองทุนหลักมีการกระจุกตัวในกลุ่มเทคโนโลยี (Information Technology Sector) ซึ่งมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และความล้าสมัยของสินค้า ดังนั้น หากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก และอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายหลายอุตสาหกรรม
- กองทุนไทย และ/หรือกองทุนต่างประเทศ (กองทุนหลัก) อาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่อาจเกิดขึ้นได้จากการลงทุนในต่างประเทศตามความเหมาะสม และสภาวการณ์ในแต่ละขณะ ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกองทุนหลักอาจได้รับผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้