Fund Update: กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เฮลธ์ อินโนเวชั่น (PRINCIPAL GHEALTH)

กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เฮลธ์ อินโนเวชั่น (PRINCIPAL GHEALTH)

โดย คุณวิริยา โภไคศวรรย์– International Fund Manager
       คุณธเนศ เลิศเพชรพันธ์ – Investment Strategist

21 June 2023

ภาพรวมอุตสาหกรรม Health Care

ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงในเดือน พ.ค. 2566 ดัชนี MSCI ACWI ให้ผลตอบแทน -1.32% และดัชนี MSCI World Health Care ปรับตัวลดลง -4.27% โดยเป็นการปรับตัวลงอย่างรุนแรงในช่วงต้นเดือนตามปัจจัยกดดันอย่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคการผลิต ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงสำหรับสหรัฐฯ และยุโรปซึ่งจะส่งผลให้ทั้ง FED และ ECB ยังคงใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดต่อไป ผ่านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และอีกปัจจัยกดดันคือความกังวลเรื่องเพดานหนี้ของสหรัฐที่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ แต่อย่างไรก็ดีการเจรจาก็สามารถผ่อนผันและขยายเพดานหนี้ได้ และเลื่อนการเจรจาอีกครั้งไปยังช่วงต้นปี 2567 ประกอบกับผลดำเนินงานไตรมาส 1/2566 ส่วนใหญ่ที่ออกมาดีกว่าความคาดการณ์ของตลาด ส่งผลให้ตลาดหุ้นโดยรวมฟื้นตัวกลับมาอย่างรวดเร็ว แต่การฟื้นตัวกลับมายังคงนำโดยหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ อย่าง Tesla, Nvidia, Advanced Micro Devices, Apple, Meta Platforms และหุ้นอื่นๆเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี Artificial Intelligent (AI) ส่งผลให้ดัชนี MSCI ACWI ฟื้นตัวแรงและมากกว่าดัชนี MSCI World Health Care โดยกลุ่มธุรกิจภายใต้อุตสาหกรรม Health Care ที่ปรับตัวลดลงมากที่สุดในเดือน พ.ค. 2566 ได้แก่ Healthcare Technology และ Biotech ที่ปรับตัวลดลง -7.86% และ -6.01% ตามลำดับ ถึงแม้ว่าผลดำเนินงานของหุ้นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากวัคซีน COVID-19 จะเห็นการชะลอตัวชัดเจนของปริมาณการจำหน่ายวัคซีนที่ลดลง แต่กลุ่มที่ให้บริการในสถานพยาบาลก็เห็นปริมาณการใช้บริการที่เพิ่มขึ้นชัดเจนเช่นกัน ตัวอย่างเช่น บริษัท Intuitive Surgical ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านหุ่นยนต์ในการผ่าตัด มีปริมาณการใช้หุ่นยนต์ Da Vinci Surgical System เพิ่มขึ้นถึง 26% (YoY) ในไตรมาสที่ 1/2566 ซึ่งสะท้อนถึงอุตสาหกรรมธุรกิจ Healthcare ที่ทยอยกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

การลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม Health Care ยังคงมีความน่าสนใจในช่วงที่เศรษฐกิจและนโยบายการเงินยังไม่มีทิศทางที่แน่นอน เนื่องจากอุตสาหกรรม Health Care เป็นอุตสาหกรรมที่มีความผันผวนขึ้นกับวัฏจักรเศรษฐกิจค่อนข้างต่ำ และมีความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาที่ต่ำ (Low Price Elasticity of Demand) เนื่องจากเป็นสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัย4
ในการดำรงชีวิต โดยกองทุน AB International Health Care Portfolio เน้นลงทุนในหุ้นที่มีความสามารถในการทำกำไรที่แน่นอน และเป็นกลุ่มที่มีรายได้ที่ชัดเจน ในขณะที่กองทุน Schroder International Selection Fund Healthcare Innovation เน้นลงทุนในหุ้นที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับการเติบโตในระยะกลางถึงยาว

กลยุทธ์การลงทุน

สำหรับ PRINCIPAL GHEALTH ทีมจัดการลงทุนจะมีการวางกรอบน้ำหนักการลงทุนใน 2 กองทุนหลัก ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์การลงทุนหรือปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมในแต่ละช่วง (บริหารพอร์ตแบบ Active/Dynamic) โดยจะแบ่งเป็น 3 เหตุการณ์ (Scenario) คือ Risk-off, Neutral และ Risk-on

Cio's view

โดยทีมจัดการลงทุนมีการคงสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนใน AB International Health Care Portfolio และ Schroder International Selection Fund Healthcare Innovation อยู่ที่ 40:60 ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED ที่มีแนวโน้มชะลอลง และทิศทางมุมมองอัตราดอกเบี้ยของนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ให้โอกาสในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED อีก 0.25% ในการประชุมเดือน ก.ค. 2566 ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.25 – 5.50% ถึง 71.9% (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิ.ย. 2566) และคาดถึงการเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือน ม.ค. 2567 กลับมาอยู่ที่ 5.00 – 5.25%ถึง 41.5% แต่อย่างไรก็ดีนักลงทุนยังมองอัตราดอกเบี้ยปีนี้ต่ำกว่าคาดการณ์ของ FED ที่มีค่ากลางอยู่ที่ 5.4 – 5.6% จากการประชุมครั้งล่าสุดในเดือน มิ.ย. 2566

Cio's view

ผลตอบแทนของกองทุน

ในช่วงเดือน พ.ค. 2566 ดัชนี MSCI ACWI Index ปรับตัวลดลง -1.32% ในขณะที่ดัชนี MSCI World Healthcare Index ปรับตัวลดลง -4.27% โดยเป็นการปรับลดตามปัจจัยกดดันที่กล่าวไปในข้างต้น อย่างไรก็ดีหากคำนวณวัดผลตอบแทนตั้งแต่หลังจากที่มีการปรับกองทุนที่เลือกลงทุนใหม่ (วันที่ 13 พ.ค. 2565 จนถึงวันที่ 13 มิ.ย. 2566) PRINCIPAL GHEALTH ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 3.95% (THB) สอดคล้องใกล้เคียงกับดัชนี MSCI World Health Care Index (USD) ปรับขึ้นอยู่ที่ 4.46% และดัชนี MSCI All Country World Index (USD) ปรับขึ้นอยู่ที่ 7.58% ตามการฟื้นตัวที่นำโดยกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ อย่าง Tesla, Nvidia, Advanced Micro Devices, Apple, Meta Platforms และหุ้นอื่นๆเกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี Artificial Intelligent (AI) โดยช่วงดังกล่าวค่าเงิน USD/THB แข็งค่าขึ้น 0.68%

Cio's view

ผลการดำเนินงานย้อนหลังจาก Fund Fact Sheet ณ 31 พ.ค. 2566

Cio's view

ผลตอบแทนของ Sub-Index ของหุ้นกลุ่ม Health Care

Cio's view

รายละเอียดกองทุน

กองทุน Principal Global Health Innovation Fund (PRINCIPAL GHEALTH) ปัจจุบันมีการลงทุนผ่าน 2 กองทุนหลัก คือ AB International Health Care Portfolio และ Schroder International Selection Fund Healthcare Innovation โดยคาดจะช่วยสร้างโอกาสการลงทุนที่เติบโตไปกับอุตสาหกรรม Health Care ที่มีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ ได้แก่ การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และนวัตกรรมการแพทย์ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยกองทุน PRINCIPAL GHEALTH จะลงทุนทั้งในส่วนของ Healthcare แบบดั้งเดิม (Traditional Healthcare) และ Healthcare แบบสมัยใหม่ (Healthcare innovation) ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดการกองทุนสามารถปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยมหภาค (Macro Factors) เพื่อจำกัดความผันผวนของโอกาสรับผลตอบแทนในระยะสั้นและสร้างโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว (Traditional Healthcare จะมีแนวโน้มปรับตัวลงน้อยกว่าในสภาวะตลาดขาลง ส่วน Healthcare Innovation จะมีโอกาสปรับตัวขึ้นดีกว่าโดยเฉพาะในช่วงตลาดขาขึ้น) โดยกองทุนเน้นกระจายการลงทุนเชิงรุกระหว่าง Traditional Health และ Health Innovation มีการปรับพอร์ตการลงทุนแบบ Dynamic ตามสภาวะตลาดที่เหมาะสม

รายละเอียดของกองทุนหลัก มีดังนี้

  1. กองทุน AB International Health Care Portfolio เน้นลงทุนในกลุ่ม Traditional Healthcare โดยมีกระบวนการลงทุนแบบ Bottom-up และ High conviction ที่เน้นลงทุนบริษัทที่มีคุณภาพสูง เติบโตอย่างมั่งคงในระยะยาว เช่น ผลตอบแทนจากการลงทุนสูง (High returns on invested capital) ฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง และมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งนี้กองทุนได้รับรางวัล Overall Morningstar Rating 5 ดาว (ข้อมูล ณ วันที่ 31 พ.ค. 2566)
  2. 2)    กองทุน Schroder International Selection Fund Healthcare Innovation เน้นลงทุนใน Healthcare Innovation มีการกระจายการลงทุนเชิงรุกผ่าน 5 ธีมนวัตกรรมการแพทย์  ได้แก่ 1. Advanced therapies 2. Med tech 3. Healthcare services 4. Digital healthcare และ 5. Wellbeing โดยมีกระบวนการลงทุนแบบ Bottom-up approach และลงทุนหุ้นประมาณ 50-70 บริษัท กองทุนได้รับรางวัล Morningstar Rating 4 ดาว (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 2566)

Cio's view

ข้อมูลกลุ่มอุตสาหกรรม ประเทศ และหุ้น 10 อันดับแรกที่กองทุน Principal Global Health Innovation Fund (PRINCIPAL GHEALTH)

AB International Health Care Portfolio: Industry, Country Allocation and Top 10 Holdings

Cio's view

Schroder International Selection Fund Healthcare Innovation Portfolio:

Sector, Geographical Breakdown and Top 10 Holdings

Cio's view

อ่าน Special Report: Fund Update กองทุนเปิดพรินซิเพิล โกลบอล เฮลธ์ อินโนเวชั่น (PRINCIPAL GHEALTH) ที่นี่

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และ ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม Healthcare ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจํานวนมาก / กองทุนหลักลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย / กองทุนมีนโยบายลงทุนในต่างประเทศ กองทุนมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ผู้ลงทุนอาจได้รับกำไร หรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืน ต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ /กองทุนอาจใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของกองทุน (Hedging) โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน/ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนในเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุน/บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิเปลี่ยนแปลงประเภทและลักษณะพิเศษของกองทุน PRINCIPAL GHEALTH ในอนาคตเป็น Feeder Fund หรือกองทุนรวมที่มีการลงทุนโดยตรงในหลักทรัพย์และทรัพย์สิน ทั้งในประเทศและ/หรือต่างประเทศได้ หรือกลับมาเป็นกองทุน Fund of Funds  ได้โดยไม่ทำให้ระดับความเสี่ยงของการลงทุนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ให้เป็นตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน/ Morning Star Copyright @ 2023 บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสริช์ ประเทศไทย สงวนลิขสิทธิ ข้อมูลที่ประกอบในเอกสารนี้ :  
(1) เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทมอร์นิ่งสตาร์ และ/หรือ ผู้ให้บริการข้อมูล  (2) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการทำซ้ำ หรือเผยแพร่  (3) บริษัทขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับผิดชอบต่อความถูกต้อง ครบถ้วน และความเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทุกกรณีจากการนำข้อมูลไปใช้อ้างอิง ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต